Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน - Coggle Diagram
การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน
CHIA
Community Health Impact assessment
ขั้นตอนกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุข
ภาพโดยชุมชน
4) การประเมินผลกระทบและการตรวจสอบความถูกต้องของการประเมินผลกระทบ(Appraisal)
เป็นการให้ทราบถึงขอบเขตการประเมินผลกระทบการจัดลำดับความสำคัญการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลและการทำงานร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญโดยจะต้องมีกระบวนการให้ชุมชนได้ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนด้วย
5) การผลักดันเข้าสู่การตัดสินใจ (Influence Policy Decision Making)
ต้องเป็นข้อมูลที่จะเสนอต่อหน่วยงานอนุญาตเพื่อพิจารณาควบคู่ไปกับข้อมูลของเจ้าของนโยบายโครงการชุมชนสามารถใช้ข้อมูลจากการเรียนรู้คุณค่าของตนเองไปใช้ในการกำหนดอนาคตของตนเองได้
3)การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิชุมชนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาาตโครงการ(Knowing CommunityRight and Policy Procedure)
เพื่อให้ทราบว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูล ร่วมตัดสินใจโครงการ และจำเป็นจะต้องมีนักกฎหมายมาช่วยอธิบายให้ชุมชนได้เข้าใจในระเบียบขั้นตอนต่างๆ
2)การศึกษาข้อมูลโครงการ/นโยบายที่จะดําเนินการในชุมชน(Knowing Policy/Project)
เป็นการศึกษาข้อมูลโครงการ และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเติมความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนกับผู้ เชี่ยวชาญเพื่อผสมผสานระหว่างความรู้ผู้เชี่ยวชาญและความรู้ชุมชนใน การคาดการณ์ผลกระทบ
6) กระบวนการติดตามประเมินผล(Monitoring)
เป็นการติดตามกำกับผลการปฏิบัติตามข้อแนะนำการเฝ้าระวังผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังการให้คำแนะนำการฝึกให้คนในชุมชนได้จัดทำ ระบบเฝ้าระวังด้วยตนเองและมีการแจ้งเหตุอยู่รายงานสถานการณ์เมื่อพบสิ่งผิดปกติ
1) การค้นหาคุณค่าหลักของชุมชน (Knowing community core value)
เป็นการทำแผนที่ชุมชนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างฐานทรัพยากรกับนิเวศวัฒนธรรมชุมชนและลำดับการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นจากชุมชนทั้งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์อนาคต ขั้นตอนนี้ชุมชนเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนของตนเอง
ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
กระบวนการดำเนินงาน
การค้นหาคุณค่าหลักของชุมชน (Community Core Value)
การทำแผนที่ชุมชน
จัดกระบวนการทำแผนที่ชุมชนครั้งแรก ณ ศูนย์การเรียนรู้ชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง
ผู้เข้าร่วมกระบวนการ
อาสาสมัครสาธารณสุข
ชาวบ้านน้ำช้างพัฒนาและน้ำรีพัฒนา
ปราชญ์ชาวบ้าน
กลุ่มแกนชุมชนได้นำแผนที่ที่ร่างขึ้นในครั้งแรก ไปตั้งวงคุยเล็กๆ หลายครั้งเพื่อปรึกษาหารือกับชาวบ้านที่ไม่สะดวกมาร่วมกระบวนการ
เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านน้ำรีพัฒนา ได้ร่วมตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ด้วย เพื่อใช้เป็นแผนที่พื้นฐานในการทำงานเฝ้าระวังผลกระทบ
การทำลำดับเวลาการเปลี่ยนแปลงของชุมชน (Timeline)
ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันทั้งสองหมู่บ้าน
กระบวนการนี้ทำให้ชาวบ้านได้ร่วมกันทบทวนวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในอดีต สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตของชุมชน
การเรียนรู้ข้อมูลโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน หงสา สปป.ลาว
เชิญวิทยากรบรรยายเพื่อให้ชุมชนมีความรู้
กระบวนการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
มลพิษที่ออกมาจากกระบวนการผลิต
มลพิษที่จะมีผลต่อระบบนิเวศน์และเส้นทางรับสัมผัสสู่มนุษย์
ข้อมูลเทคโนโลยีและความเสี่ยงจากโครงการโรงไฟฟ้าหงสา
แนวคิด หลักการ เทคโนโลยี ความเสี่ยงของโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วไปโดย ยกกรณีศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา
การจัดทำแผนที่ความเสี่ยงและข้อห่วงกังวล
จัดกระบวนการเรียนรู้ความเสี่ยง
ชุมชนนำข้อมูลทั้งสองส่วนคือข้อมูลชุมชนและข้อมูลโรงไฟฟ้าถ่านหิน หงสาสปป.ลาว มาวิเคราะห์รวมกัน
พร้อมกับข้อเสนอในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังฯ ของชุมชน
การเริ่มต้นระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าหงสา โดยโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
1) จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน ใช้ต้นแบบจาก กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดล้าปาง
2) แผนเฝ้าระวังทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ
3) แผนเฝ้าระวังทางสุขภาพซึ่งมีการตรวจสุขภาพทุกๆ 2 ปี
แผนการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชาชน
การเก็บข้อมูลระดับอาการ (Clinical manifestation)เป็นการติดตามอาการ (signs) และอาการแสดง (symptoms) ของกลุ่มเสี่ยง
การเก็บข้อมูลระดับโรค (Diseases)เป็นการศึกษาความชุกและการ
กระจายของโรคระบบทางเดินหายใจ และระบบหัวใจและหลอดเลือด
ก่อนเกิดโรคและอาการ (Subclinical)เป็นการเก็บข้อมูลอาการพื้นฐานทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือดทุก 2 ปี
แผนการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม
มุ่งเน้นไปที่คุณภาพทางอากาศ โดยติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศจำนวน 2 จุด
โรงพยาบาลอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
เทศบาลจังหวัดน่าน
5) มีระบบคลินิกทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลอ้าเภอเฉลิมพระเกียรติ
4)แผนพัฒนาบุคลากรให้เจ้าหน้าที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคทางด้านสิ่งแวดล้อม
ข้อห่วงกังวลต่อระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ
สิ่งที่ชาวบ้านกังวลมากที่สุด
ผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร
เกรงว่าผลผลิตทางการเกษตรจะเสียหายหรือลดลงจากเดิม ท้าให้สูญเสียรายได้ เพราะการเกษตรคือรายได้หลักในการดำรงชีพ
ข้อกังวลรองลงมา
ผลกระทบต่อสุขภาพ
หากมีการเจ็บป่วยที่รุนแรง ฉุกเฉิน จะต้องน้าส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งอยู่ห่างออกไป 43 กิโลเมตร
การเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีรถส่งต่อผู้ป่วยจำนวน 1 คัน หากเรียกใช้บริการ รถจาก อบต.ขุนน่าน มายัง รพ.สต.บ้านน้ำรีพัฒนา ต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที
การปนเปื้อนมลพิษสะสมในดิน น้ำ ในอากาศ ตลอดจนพืชอาหาร อาจจะทำให้ชาวบ้านเจ็บป่วยเรื้อรังและเป็นโรครุนแรงในอนาคต และอาจจะกระทบ กับการใช้จ่ายในครอบครัวได้
สิ่งที่ชาวบ้านกังวลมากที่สุด คือ ผลกระทบต่อพืช เพราะชาวบ้านกลัวว่า ผลผลิตทางการเกษตรจะเสียหายซึ่งจะทำให้ชาวบ้านสูญเสียรายได้ เพราะการทำเกษตรเป็นการสร้างรายได้หลักในการดำรงชีพของชาวบ้าน ซึ่งข้อมูลโรคมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะฝนกรดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายจึงจะทำให้ชาวบ้าน มีรายได้ลดน้อยลง และถ้าหากชาวบ้านไม่สามารถประกอบอาชีพได้เหมือนเดิมจะทำให้ค่าใช้จ่ายจะไม่เพียงพอ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้คนหนุ่มสาวออกจากหมู่บ้านไปหางานทำในเมืองทิ้งเด็กและผู้สูงอายุไว้ในหมู่บ้านซึ่งในอนาคตอาจจะทำให้เกิดการย้ายถิ่นตามมา จึงมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในสภาวะคนจนเมืองหรือเป็นคนไร้บ้าน ส่วนการเจ็บป่วยด้วยมลพิษทางอากาศเป็นข้อกังวลที่ชาวบ้านกังวลรองลงมา ถึงชาวบ้านจะมีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพและมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ในหมู่บ้าน แต่หากชาวบ้านเจ็บป่วยเป็นโรคที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อมนั้นก็ต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งทำให้ชาวบ้านกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการเดินทางไปยังโรงพยาบาลและจะทำให้เกิดผลกระทบกับครอบครัวของชาวบ้าน หากชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับรองว่ามีสัญชาติไทย ก็จะส่งผลให้เสียสิทธิในทุกด้าน เช่น การเข้ารับการรักษาพยาบาลของชาวบ้านหรือคนต่างด้าวที่ยังไม่รับบัตรขาวจะต้องเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 50 บาท ส่วนค่ายาคิดตามต้นทุนของยา เช่น ยากแก้ปวดแผงละ 10 บาท ทำให้ชุมชนต้องการที่จะทำแผนที่ความเสี่ยงที่ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยเฉพาะความผิดปกติในพืชผลทางการเกษตร ที่เป็นข้อกังวลมากที่สุดของชาวบ้าน เพื่อที่จะได้นำมาออกแบบระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อชุมชนตามความต้องการของชุมชนที่แท้จริง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้รู้ว่าปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อสุขภาพของพวกเขา และหากจะมีโครงการอะไรในพื้นที่ โครงการนั้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพว่าของพวกเขาหรือไม่อย่างไร โดยการทำข้อมูลนี้จะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาของชุมชนโดยชุมชนเอง
มุ่งลดความเหลื่อมล้ำในระบบประเมินผลกระทบเพื่อนโยบายสาธารณะที่เป็นธรรม
ความหมาย
กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนท้องถิ่นในการแสวงหาข้อมูลหลักฐานประกอบการตัดสินใจเลือกนโยบายโครงการและกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ ที่เป็นผลดีต่อสุข ภาวะ ของชุมชนโดยมีเป้าหมายสู่การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมและความเป็นธรรมด้านสุขภาพ