Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าimage, image, image, image, image,…
กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าที่นำมาจดทะเบียนได้และไม่ได้
เครื่องหมายการค้า
(Trade Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
เครื่องหมายบริการ
(Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
เครื่องหมายรับรอง
(Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
เครื่องหมายร่วม
(Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม
ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้
ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่ห้ามจดทะเบียน
ซึ่งมาตรา 8 ได้กำหนดลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนไว้ เช่น ธงชาติ พระบรมฉายาลักษณ์ เครื่องหมายราชการ เป็นต้น
การได้มาซึ่งสิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย
คือการที่บุคคลใดได้นำเครื่องหมายการค้าของตนออกใช้กับสินค้าของตนก่อนบุคคลอื่น อันเป็นผลให้บุคคลผู้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อนดังกล่าว มีสิทธิดีกว่าบุคคลอื่นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายคลึงกันในภายหลัง ด้วยการห้ามการใช้อันถือเป็นการละเมิด
อายุความคุ้มครองและการต่ออายุ
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วจะมีอายุความคุ้มครอง 10 ปี นับแต่วันยื่นจดทะเบียน และสามารถต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี โดยไม่จำกัดแต่จะต้องยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ภายใน 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุ มิฉะนั้นจะถือว่า เครื่องหมายการค้านั้นได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน
การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ
เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว จะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายของตน สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
คำแนะนำในการเตรียมคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
การตรวจค้น
แนะนำให้ผู้ยื่นดำเนินการตรวจค้นเครื่องหมายที่จะขอจดว่าเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมาย ของผู้อืนหรือไม่
การยื่นขอจดทะเบียน
ผู้ยื่นต้องเตรียมเอกสารตามที่กฎหมายกำหนดและกรอกข้อความให้สมบูรณ์
การตรวจสอบ
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและนายทะเบียนจะตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน
ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเท่านั้น
ภายหลังตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบผลการตรวจสอบดังต่อไปนี้ ตามแต่กรณี - การรับจดทะเบียน - ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียน - ให้แก้ไขคำขอ - แจ้งผู้ยื่นคำขอว่า เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียน มีผู้อื่นยื่นขอจดทะเบียนไว้เช่นกัน ขอให้ผู้ยื่น ไปตกลงกันเองก่อน
การจดทะเบียน
เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อผ่านการตรวจสอบจากนายทะเบียนและได้ประกาศโฆษณาแล้ว และผ่านกระบวนการคัดค้านและอุทธรณ์ จนถึงที่สุด เป็นเครื่องหมายที่สามารถจดทะเบียนได้
เมื่อผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียม ผู้ยื่นคำขอจะได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน
นายเชิดศักดิ์ ชินบุตร รหัส001 สชอ.1/1