Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การป้องกันและช่วยเหลือ เด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ - Coggle…
บทที่ 4 การป้องกันและช่วยเหลือ
เด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมติดคอ
สาเหตุ
เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น ทดลองด้วยตนเอง
จึงมักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในช่องต่างๆ ของร่างกาย
ชอบพูดคุยหัวเราะหรือเล่นกันขณะรับประทานอาหาร
อาการและอาการแสดง
มีอาการหายใจเข้ามีเสียงดัง หายใจลำบาก
อาการเขียว
อาการหน้าอกบุ๋ม
สำลัก ไออย่างรุนแรง
การรักษา
ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ให้วางเด็กลงบนให้วางเด็กลงบนและสลับด้วยการอุ้มเด็กนอนหงายบนแขน และใช้นิ้วกลางและนิ้วนางของมือขวากดบนหน้าอก (Chest Thrust) อย่างละ 5 ครั้ง
จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออก เปิดปากเด็กเพื่อดูสิ่งแปลกปลอม
เด็กโต
โดยทำในท่านั่งหรือยืนโน้มตัว ไปทางด้านหน้าเล็กน้อยผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลัง ใช้แขนสอดสองข้างโอบผู้ป่วยไว้ มือซ้ายประคองมือขวาที่กำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่ดันกำมือขวาเข้าใต้ลิ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้อง ดันเข้าใต้กระบังลมผ่านไปยังช่องทรวงอก เพื่อดันให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกจากกล่องเสียง
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เนื้อเยื่อของร่างกายมีภาวะพร่องออกซิเจน
เนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
สังเกตบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 1-2 ชั่วโมง
ประเมินอาการและอาการแสดงของการอุดกั้น
ทางเดินหายใจ
เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิด
ภาวะฉุกเฉิน
ไฟไหม้และน้ำร้อนลวก
สาเหตุ
ความร้อน เช่น ไฟ
วัตถุที่ร้อน เช่น เตารีด
น้ำร้อน เช่น กระติกน้ำ
กาน้ำ ไอน้ำ หม้อน้ำ
น้ำมันร้อน ๆ
กระแสไฟฟ้า
สารเคมี
อาการแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
(First degree burn)
เนื้อเยื่อชั้นผิวหนังจะถูกทำลายเพียงบางส่วน เป็นชั้นตื้นๆ
การปฐมพยาบาลแผล
ให้ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่าน หรือแช่อวัยวะส่วนที่เป็นแผลลงในน้ำสะอาด
ประมาณ 15-20 นาที
(second degree burn)
มีการทำลายของผิวหนัง แต่ลึกถึงผิวหนังชั้นใน ต่อมเหงื่อ และรูขุมขน
จะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้น
(Third degree burn)
บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด
การรักษา
1.ช่วยหายใจ เด็กที่ถูกไฟไหม้ในที่ สูดควันหรือแก๊ส
ถูกความร้อนลวก ต้องได้รับการดูแลในเรื่องการหายใจ
2.ดูแลระบบไหลเวียน ภาวการณ์ไหลเวียนล้มเหลว
ด้วยการให้สารน้ำ
3.การรักษาบาดแผล
4.การตกแต่งบาดแผล ช่วยลดการติดเชื้อ เพราะจะ
กำจัดเนื้อเยื่อที่มีเชื่อจุลินทรีย์
5.การปลูกถ่ายผิวหนัง (skin graft)
การพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกชิเจน เนื่องจากมีการบวม
ของทางเดินหายใจ
เสี่ยงต่อภาวะช็อค เนื่องจากการสูญเสียน้ำและพลาสมาออก
นอกร่างกาย
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายและภูมิคุ้มกัน
ลดต่ำลง
เสี่ยงต่อโภชนาการบกพร่อง เนื่องจากมีการเผาผลาญเพิ่ม
ขึ้น
เสี่ยงต่อความพิการเนื่องจากการหดรั้งของเนื้อเยื่อ
บริเวณแผล
พยาธิสภาพ
เนื้อเยื่อของร่างกายเมื่อสัมผัสกับความร้อน มีการทำลายของ หลอดเลือดส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย
การจมน้ำ
พยาธิสภาพ
เมื่อเด็กจมน้ำและหายใจในน้ำครั้งแรกเด็กจะไอจากการระคายเคืองที่มีน้ำในจมูกและคอ น้ำจะเข้ากล่องเสียงทำให้เกิดการหดเกร็งของกล่องเสียง อากาศและน้ำเข้าหลอดลมไม่ได้เกิดภาวะขาดออกซิเจน
1.การจมน้ำเค็ม ( Salt-water Drowning)
น้ำเค็ม(Hypertonic solution) ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema
ปริมาตรน้ำที่ไหลเวียนในร่างกายลดลง
การจมน้ำจืด (Freshwater-Drowning)
น้ำจืด (Hypotonic solution) จะซึมผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของปอดอย่างรวดเร็ว เกิด hypervolemia
Drowning ผู้ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ
Near-Drowning ผู้ที่จมน้ำแต่ไม่เสียทันที
วิธีการช่วยหายใจโดยการเป่าปาก
1.จับศีรษะให้หงายขึ้นให้มากที่สุด ใช้ฝ่ามือกดหน้าผากของเด็กไว้แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบจมูก จากนั้นใช้ปากครอบลงบนปากของผู้ป่วยให้มิด แล้วเป่าลมเข้าไปให้สุดลมหายใจของเรา
2.ตาดูที่หน้าอกว่าขยายหรือไม่
3.ถ้าเห็นอกไม่ขยาย ให้ปล่อยมือที่บีบจมูกไว้ จากนั้นเป่าลมเข้าไปใหม่ ทำสลับกับการนวดหัวใจ โดยนวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง
การปั้มหัวใจ
1.ให้เด็กนอนราบบนพื้นแข็ง
2.วัดตำแหน่งให้เหมาะสมกับการนวด
3.ผู้ช่วยเหลือยึดไหล่และเเขนเหยียดตรง
กดบริเวณหน้าอก 30ครั้ง
4.การนวดหัวใจควรนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
การพยาบาล
1มีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการขัดขวางการแลกเปลี่ยน
ก๊าซ จากการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด
2.เสี่ยงต่อภาวะไหลเวียนล้มเหลวและเสียสมดุลอีเล็คโตรลัยท์
3.เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีการสูดสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้า
ทางเดินหายใจ
กระดูกหักและข้อเคลื่อน
กระดูกหัก หมายถึงภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบของกระดูกแยกออกจากกัน
ข้อเคลื่อน หมายถึงภาวะที่มีการเคลื่อนของผิวข้อออกจากที่ควรจะอยู่
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุมีแรงกระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง
ถูกตี
รถชน
ตกจากที่สูง
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดและกดเจ็บ โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหว
บวม เนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่กระดูกหัก
รอยจ้ำเขียว เนื่องจากมีเลือดซึมจากชั้นในขึ้นมายังผิวหนังหรือรอยฟกช้ำจากถูกแรงกระแทก
อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป มีการเคลื่อนไหวที่ผิปกติ
หลักการการดูแลเมื่อเข้าเฝือก
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกควรประเมินเด็กทุก 1 ชั่วโมง
ประเมินได้จาก 5 PS
จับชีพจรว่าเต้นแรงตีหรือไม่เปรียบเทียบกับแขนขาข้างที่ปกติ (pulselessness)
สังเกตบริเวณอวัยวะส่วนปลายคือปลายมือปลายเท้าผิวหนังเล็บมีอาการชาขาดความรู้สึกต่อการสัมผัส (pallor paresthesia)
เคลื่อนไหวนิ้วมือนิ้วเท้าไม่ได้จากเส้นประสาทถูกกด (paralysis)
อาการเจ็บปวดที่มากกว่าเดิม (pain)
อาการบวม (swelling) ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าเผือกแน่นเกิน
ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงเล็กน้อยด้วยการใช้หมอนรองใต้เผือกความยาวของเผือกนานประมาณ 48 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดอาการบวม
ดูแลเผือกห้ามเปียกน้ำ
การพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่มเนื่องจาก
การทิ่มแทงของกระดูก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเคลื่อนไหวถูกจำกัด เช่น ข้อติดแข็งกล้ามเนื้อลีบ แผลกดทับ การขับถ่ายผิดปกติ การติดเชื้อทีปอด ทางเดินปัสสาวะ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังถึกระดูก
เครียดวิตกกังวลจากความเจ็บปวดและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
สารพิษ
สารพิษจำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์
1.ชนิดกัดเนื้อ (Corrosive )
ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้ พอง
2.ชนิดทำให้ระคายเคือง (Irritants )
ทำให้เกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน และอาการอักเสบในระยะต่อมา
3.ชนิดที่กดระบบประสาท (Narcotics )
ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก
4.ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท (Dililants)
ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่งใบหน้าและผิวหนังแดง ตื่นเต้นชีพจรเต้นเร็ว ช่องม่านตาขยาย
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก หรือมีรอยไหม้นอกบริเวณริมฝีปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป
หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า
ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
การปฐมพยาบาล
ได้รับสารพิษทางปาก
ปฐมพยาบาล
ทำให้สารพิษเจือจาง ให้นม
นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร คือ Activated charcoal
รับประทานสารพิษพวก น้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด เบนซิน
ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง
ได้รับสารกัดเนื้อ
อาการและอาการแสดง
ไหม้พอง
ร้อนบริเวณริมฝีปาก
ลำคอและท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
มีอาการภาวะช็อค
การปฐมพยาบาล
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
อย่าทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ได้รับสารพวกน้ำมันปิโตเลียม
อาการและอาการแสดง
แสบร้อนบริเวณปาก
คลื่นไส้ อาเจียน
อัตราการหายใจ
และชีพจรเพิ่ม
อาจมีอาการขาดออกซิเจน
มีเขียวตามปลายมือ ปลายเท้า
การปฐมพยาบาล
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ห้ามทำให้อาเจียน
ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอาเจียน ให้จัดศีรษะต่ำ เพื่อป้องกันการสำลักน้ำมันเข้าปอด
ได้รับยาแก้ปวด ลดไข้
อาการและอาการแสดง
ยาแอสไพริน
หูอื้อ เหมือนมีเสียงกระดิ่งในในหู การได้ยินลดลง เหงื่อออกมาก
ยาพาราเซตามอล
ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ำสับสน เบื่ออาหาร
การปฐมพยาบาล
ทำให้สารพิษเจือจาง
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
ผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
ก๊าซที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เกิดอาการ
วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม
หมดสติ ถึงแก่ความตายได้
ก๊าซที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
ก๊าซที่ทำให้อันตรายทั่วร่างกาย พบได้ในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ทำแบตเตอรี่
การปฐมพยาบาล
กลั้นหายใจและรีบเปิดประตูหน้าต่าง ๆ เพื่อให้
อากาศถ่ายเท ปิดท่อก๊าซ หรือขจัดต้นเหตุของพิษนั้น ๆ
นำผู้ป่วย ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอากาศ
บริสุทธิ์
ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้
ผายปอดและนวดหัวใจ นำส่งโรงพยาบาล
เมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย ๑๕ นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจาก
ปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล
เมื่อสารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนาน ๑๕ นาที่ โดยการ เปิดน้ำก๊อกไหลรินค่อยๆ
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจาก
ปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดตา แล้วนำส่งโรงพยาบาล