Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารเพื่อการบำบัด(3), นศพต. รวิสรา ราเหม …
การสร้างสัมพันธภาพ
และการสื่อสารเพื่อการบำบัด(3)
ปัญหาและการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบาบัด
การเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพ
(Introduction or Orientation Phase)
เป้าหมาย
เพื่อสร้างความไว้วางใจในตัวพยาบาล
เพื่อกำหนดข้อตกลงในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
เพื่อประเมินความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้ป่วย
เพื่อลดปัญหาในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
สิ่งที่พยาบาลต้องปฏิบัติ
การสร้างความไว้วางใจ
การกำหนดข้อตกลงของสัมพันธภาพ
การรักษาความลับของผู้ป่วย
การบอกถึงการสิ้นสุดสัมพันธภาพ
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในระยะการเริ่มต้นสร้างสัมพันภาาพ
ความวิตกกังวล
ด้านผู้ป่วย
การเป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและกันซึ่งบางเรื่องอาจได้รับการรับรู้ว่าเป็นเรื่องส่วนตัว
ปัญหายุ่งยากซับซ้อนเกินกว่าจะอธิบายให้เข้าใจได้
การรับความช่วยเหลือทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสียการยอมรับนับถือในตนเอง เป็นการแสดงถึงความอ่อนแอ
ด้านพยาบาล
ขาดความมั่นใจในการสนทนากับผู้ป่วย
ขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ
ขาดความมั่นใจว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้
มีทัศนคติว่าเรื่องที่จะสนทนานั้นไม่ใช่หน้าที่ของพยาบาลเป็นเรื่องส่วนตัวของผู้ป่วยและครอบครัว หรือเป็นหน้าที่ของแพทย์
แนวทางแก้ไขปัญหา
เตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่ก่อนการสร้างสัมพันธภาพและการสร้างบรรยากาศผ่อนคลายในการสนทนา
การต่อต้านไม่ยอมรับการสร้างสัมพันธภาพกับพยาบาล
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะประสบการณ์เดิมเบื่อการตอบคาถามซ้าๆ หรือไม่ต้องการให้มีใครล่วงรู้เรื่องราวที่เก็บไว้ในใจการแสดงออกอาจเป็นการปฏิเสธโดยตรงว่าไม่ต้องการพูดคุยติดต่อสื่อสารด้วยการตอบสั้น ๆ ห้วน ๆ หรือเงียบเฉยไม่สนใจ เป็นตัน
แนวทางแก้ไขปัญหา
ให้การยอมรับและเข้าใจในพฤติกรรมของผู้ป่วย ให้เวลาให้ความเสมอต้นเสมอปลายและความอดทน
การทดสอบจากผู้ป่วย
เกิดเนื่องจากความไม่มั่นใจว่าพยาบาลจะสามารถช่วยเหลือได้ หรือพยาบาลเป็นที่ไว้วางไม่ได้ดังนั้นผู้ป่วยอาจทดสอบพยาบาลได้ โดยการไม่มาตามที่นัดหมายขอตัวสิ้นสุดก่อนจบการสนทนาเป็นตัน
แนวทางแก้ไขปัญหา
แสดงการยอมรับในฐานะบุคคอย่างไม่มีเงื่อนไข ให้การยอมรับและเข้าใจในพฤติกรมของผู้ป่ วย ให้เวลาและให้ความเสมอต้นเสมอปลายเพื่อพัฒนาความเชื่อถือไว้วางใจให้เกิดขึ้น
ระยะการแก้ไขปัญหา
(Working Phase)
เป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
สิ่งที่พยาบาลต้องปฏิบัติ
การรักษาความไว้วางใจ และสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย ที่มีขึ้นตั้งแต่ระยะการเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพ
การรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยให้มากขึ้น
การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจและรับรู้ปัญหาของตนเองตามความเป็นจริง
ช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาการเข้าใจตนเองและพัฒนากลไกการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย
ช่วยอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
พยาบาลต้องมีวิธีจัดการกับการต่อต้านและการทดสอบจากผู้ป่วย
เตรียมผู้ป่วยสาหรับการยุติสัมพันธภาพ
ประเมินความก้าวหน้าของเป้าหมายในการบำบัดอย่างต่อเนื่องว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในระยะการแก้ไขปัญหา
พยาบาลอึดอัดและกังวลใจ
แนวทางแก้ไขปัญหา
เตรียมตัวให้พร้อม ยอมรับว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอรวมทั้งสารวจตัวเองและควรตระหนักว่าปัญหาบางปัญหาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และคนที่จะรู้วิธีที่ออกจากปัญหานั้นได้ดีที่สุดคือผู้ป่วย
พยาบาลไม่เข้าใจหรือไม่เห็นปัญหาของผู้ป่วย
แนวทางแก้ไขปัญหา
รับฟังอย่างตั้งใจและเข้าอกเข้าใจซึ่งทาให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจที่จะพูดถึง
พยาบาลเกิดความสงสาร
แนวทางแก้ไขปัญหา
พยาบาลต้องมีความตระหนักในตนเองว่าขณะนี้กำลังทำอะไรมีผลอย่างไรต่อตนเองและผู้อื่น กำลังมีหน้าที่และบทบาทอะไร รวมทั้งต้องไวต่อการรับรู้ตนเองและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นถอดตนเองออกมาจากความรู้สึก
ผู้ป่วยต้องการพึ่งพาพยาบาล
แนวทางแก้ไขปัญหา
พยาบาลควรตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง และของผู้ป่วยโดยพยาบาลนั้นเป็นผู้เอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยตระหนักถึงปัญหาของตนเอง และแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตามศักยภาพของผู้ป่วย
ความรู้สึกต่อต้าน
แนวทางแก้ไขปัญหา
การสะท้อนความรู้สึก การแสดงการยอมรับและการส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง (raise self-esteem)
ระยะการยุติการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
(Terminating Phase)
เป้าหมาย
เพื่อการประเมินผลความสำเร็จของเป้าหมาย
เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจถึงการยุติการบำบัด
สิ่งที่พยาบาลต้องปฏิบัติ
ประเมินและสรุปผลการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อการบำบัดที่เกิดขึ้น
มีการวางแผนในการบำบัดรักษา
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในระยะการยุติการสร้างสัมพันภาาพ
ภาวะซึมเศร้า
เกิดจากความรู้สึกสูญเสีย เสียใจ ท้อแท้หมดหวัง ถูกทอดทิ้ง คิดว่าตนเองไร้ค่า ไม่มีผู้ใดที่จะสนใจไม่มีใครข้าใจและช่วยเหลือตนเองได้
ภาวะพึ่งพา
การแยกจาก อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกขาดความมั่นใจและความปลอดภัยผู้ป่วยแสดพฤติกรรมพึ่งพาพยาบาลมากขึ้น
ภาวะถดถอย
มีพฤติกรรมถดถอยเหมือนเด็กหรือเหมือนเมื่อเริ่มสัมพันธภาพเพื่อให้ได้รับการเอาใจใส่ดูแลเหมือนเดิม
ปฏิเสธการสิ้นสุดสัมพันธภาพ
เป็นกลไกปกป้องตนเอง
แนวทางแก้ไขปัญหา
เตรียมสิ้นสุดสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดตั้งแต่วันแรกของการมีสัมพันธภาพ
ย้ำเตือนการสิ้นสุดสัมพันธภาพเป็นระยะ
ตกลงและย้ำเตือนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการมีสัมพันธภาพ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สำรวจความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับการแยกจาก
แนะนาแหล่งสนับสนุนอื่นๆที่ผู้ป่วยสามารถรับบริการได้
การสร้างเสริมทักษะในการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารเพื่อการบำบัด
ผู้ป่วยลุกไปจากการสนทนาอย่างกะทันหัน
แนวทางแก้ไขปัญหา
ถามเหตุผลที่ผู้ป่วยลุกออกไปจากการสนทนา
แจ้งว่าจะนั่งรอตามกำหนดของระยะเวลาการนัดหมายในครั้งนั้น
รอจนครบกำหนดของระยะเวลาการนัดหมายในครั้งนั้น
ผู้ป่วยไม่มาตามนัด
แนวทางแก้ไขปัญหา
ตามหาผู้ป่วย
นัดหมายใหม่
เตือนผู้ป่วยล่วงหน้าก่อนถึงวันนัด
ผู้ป่วยบอกว่า “ไม่มีอะไรจะพูด”
แนวทางแก้ไขปัญหา
ลองคำถามใหม่
นั่งฟังอย่างสงบ รอดูท่าทีผู้ป่วยด้วยความอดทน
พยาบาลประเมินความรู้สึกของตนเอง
สืบค้นความสนใจ และปัญหาของผู้ป่วยต่อไป
เปลี่ยนวิธีเริ่มต้นการสนทนาใหม
ผู้ป่วยซักไซ้เรื่องส่วนตัวของพยาบาล
แนวทางแก้ไขปัญหา
ตอบคำถามอย่างสั้นๆเฉพาะที่เป็นความจริงและเป็นข้อมูลทั่วไป
สนทนาเพื่อสืบค้นความต้องการ
3.เปลี่ยนเรื่องสนทนา เพื่อนำสู่เรื่องของผู้ป่วย
ผู้ป่วยขอช่องทางการติดต่อกับพยาบาล
แนวทางแก้ไขปัญหา
แจ้งว่าเป็นกฎของโรงพยาบาลไม่สามารถให้ได้
บอกแหล่งช่วยเหลืออื่นแก่ผู้ป่วย
นศพต. รวิสรา ราเหม เลขที่ 49