Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายสิทธิบัตร, image, image, นายเชิดศักดิ์ ชินบุตร รหัส001 สชอ.1/1 -…
กฎหมายสิทธิบัตร
ความหมาย
สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด สิทธิเด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์
อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานสร้างสรรค์จากการประดิษฐ์คิดค้นที่ไม่มีความซับซ้อน อาจคิดขึ้นโดยง่าย เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับ
การประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม
การออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้
-
การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร
มาตรา ๔๕ ผู้ทรงสิทธิบัตรจะขอให้บันทึกคำยินยอมให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตาม สิทธิบัตรของตนลงในทะเบียนสิทธิบัตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงก็ได้
มาตรา ๔๖ เมื่อพ้นกำหนดสามปีนับแต่วันออกสิทธิบัตรหรือสี่ปีนับแต่วัน ยื่นขอรับสิทธิบัตร แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสิ้นสุดลงทีหลัง
มาตรา ๔๗ ถ้าการใช้สิทธิตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรใดอาจมีผลเป็นการ ละเมิดข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรอื่น ผู้ทรงสิทธิบัตรซึ่งประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวจะยื่นคำขอใช้
มาตรา ๔๙ ในการยื่นคำขอใช้สิทธิตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๔๗ ทวิ ผู้ขอใช้สิทธิต้องเสนอค่าตอบแทน เงื่อนไขในการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและข้อจำกัดสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรและผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร
มาตรา ๕๐ เมื่ออธิบดีวินิจฉัยว่าผู้ขอใช้สิทธิตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๔๗ ทวิ เป็นผู้สมควรได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรได้
มาตรา ๕๑ เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือ การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการสงวนรักษาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ
มาตรา ๕๒ ในภาวะสงครามหรือในภาวะฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งใช้สิทธิตามสิทธิบัตรใด ๆ
-
ความผิดและกำหนดโทษ
มาตรา ๘๑ เจ้าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๓ วรรคสอง หรือ มาตรา ๖๕ ประกอบด้วยมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๖๕ ทศ ประกอบด้วยมาตรา ๒๑ หรือ มาตรา ๒๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๒ บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ หรือมาตรา ๖๕ ประกอบด้วยมาตรา ๒๒ หรือมาตรา ๖๕ ทศ ประกอบด้วยมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๓ บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ วรรคสอง หรือมาตรา ๖๕ ทศ ประกอบ ด้วยมาตรา ๒๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๔ บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๕ บุคคลใดกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๖๓ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
-
-