Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:silhouette:ข้อมูลส่วนบุคคล
…
:silhouette:ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้สูงอายุ เพศชาย อายุ 68 ปี
สัญชาติ: ไทย เชื้อชาติ: ไทย ศาสนา: พุทธ
ระดับการศึกษา: ประถมศึกษาปีที่ 4
ภูมิลำเนาเดิม: จังหวัดศรีษะเกษ
สถานภาพ: หม้าย อาชีพ (เดิม): ทำสวน
:<3:ข้อมูลแบบแผนสุขภาพ
3. แบบแผนการขับถ่าย: ขับถ่ายวันละประมาณ 1-2 ครั้งไม่มีอาการถ่ายเหลว ขับถ่ายปัสสาวะวันละ 1-2 ครั้ง โดยลักษณะมีสีเหลืองใส
กลั้นปั้สสาวะได้
:explode: สรุปปัญหาที่พบ ปัสสาวะพุ่งน้อย ต้องออกแรงเบ่งในช่วงแรก
4. แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย :สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยอาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหารด้วยตัวเองได้อยู่ ผู้สูงอายุไม่มีการออกกำลังกาย(Barthel ADL Index) : = 20 คะแนน
ผลการประเมินมีภาวะพึ่งพาเล็กน้อย การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน = 4 คะแนน เสี่ยงต่อการหกล้ม มีอาการหน้ามืดจากการเปลี่ยนท่า
:star: สรุปปัญหาที่พบ ผู้สูงอายุไม่ออกกำลังกาย เสี่ยงต่อการหกล้ม และหน้ามืดจากการเปลี่ยนท่า
-
-
5. แบบแผนการพักผ่อนและการนอนหลับปกตินอนหลับวันละ ประมาณ 8 ชั่วโมง เข้านอนเวลา 21:00 น. แต่หลับเวลา 22:00 น. ตื่นนอนเวลา 06:00 น. นอนกลางวัน 2 ครั้ง คือหลังอาหารเช้า ประมาณ ครึ่งชั่วโมง และหลังอาหารเที่ยงประมาณ
1 ชั่วโมง (ช่วงเวลา 14:00 น. – 15:00 น.) สะดุ้งตื่นตอนกลางคืนจำนวนหลายครั้ง/คืน แต่สามารถนอนหลับต่อได้การปฏิบัติตนเพื่อผ่อนคลายและส่งเสริมการนอนหลับ: คุยกับผู้สูงอายุคนอื่นที่ยังไม่หลับ
** ผลการประเมินตาแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQ): = 3 คะแนนมีคุณภาพควรนอนหลับดี
สรุปปัญหาที่พบ สะดุ้งตื่นตอนกลางคืน
-
6. แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
6.1การได้ยิน : ผู้สูงอายุสามารถได้ยินเสียงของผู้สัมภาษณ์ชัดเจน สามารถได้ยินเสียงดีดนิ้วที่ฟังหูและสามารถบอกข้างที่ดีดได้อย่างถูกต้อง รู้สึกได้ยินลดลงเท่ากันทั้ง 2 ข้าง
6.2 การมองเห็น : ตาช้ายมองเห็นที่ระยะ 3/6 ตาขวามองเห็นที่ระยะ 3/9 ลานสายตาปกติ การมองการกลอกตาทั้งหกทิศปกติ มองเห็นได้ไม่ค่อยชัด แต่ไม่มีเห็นภาพซ้อน
6.3 การรับสัมผัสความสุขสบาย การรับสัมผัสสามารถบอกค่าที่รับสัมผัสได้แต่การชี้ตำแหน่งได้ไม่ชัดเจนโดยชี้บอกตำแหน่งที่ใกล้เคียง
6.4 ความจำ : สามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตได้ มีการรับรู้วัน เวลา สถานที่ ปกติผลการประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE - Thai 2002 ในผู้สูงอายุ: ผลการประเมิน = 23คะแนนถือสูงกว่าระดับประถมศึกษา ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depress Scale : TGDS) :
ผลการประเมิน = 9 คะแนนคือผู้สูงอายุปกติ** ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบประสาทและการรับสัมผัส : การรับสัมผัสสามารถบอกตำแหน่งที่รับสัมผัสได้แต่ไม่สามารถชี้ตำแหน่งที่รับสัมผัสได้
:forbidden: สรุปปัญหาที่พบ การรับสัมผัสโดยมีการชี้ตำแหน่งที่รับสัมผัสได้ไม่ถูกต้อง
-
8. แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
8.1 บทบาทและหน้าที่พิเศษ: สมาชิกของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง
8.2 สัมพันธภาพกับผู้อื่น: สัมพันธภาพกับผู้อื่นดี คุยกับผู้สูงอายุคนอื่นๆ และให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์
:star: สรุปปัญหาที่พบ: ไม่พบปัญหา
7. แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
7.1 ความรู้สึกต่อตนเองในด้านต่างๆ : คิดว่าตนเองแข็งแรงกว่าผู้สูงอายุคนอื่นๆ โดยตนเองสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในทุกๆ ด้าน 7.2 ความรู้สึกผิดปกติของตนเองที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย : คิดว่าเมื่อถ้าตัวเองป่วยก็ให้หมอรักษา7.3 วิธีการเผชิญและแก้ไขปัญหา : เมื่อมีความเครียดตอนจะปล่อยวางและทำตัวเฉยๆ ให้ความเครียดหายไปเอง
:star: สรุปปัญหาที่พบ ไม่พบปัญหา
9. แบบแผนเพศสัมพันธุ์ 9.1 การมีเพศสัมพันธุ์ : ไม่มีเพศสัมพันธุ์
9.2 ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์: ขณะปัสสาวะไม่มีอาการเจ็บบริเวณอวัยวะเพศ
9.3 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมกับเพศ: ผู้สูงอายุมีการแสดงออกทางเพศเหมาะสม
** ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบสืบพันธุ์: ไม่มีอาการบวมแดง หรือหนองที่อวัยวะสืบพันธุ์
:star: สรุปปัญหาที่พบ ไม่พบปัญหา
10. แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
10.1 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด: ไม่มีความเครียด
10.2 วิธีการเผชิญและแก้ไขความเครียด: เมื่อมีความเครียดจะทำตัวเองให้เฉยๆ และปล่อยให้ความเครียดหายไปเอง10.3 บุคคลที่คอยให้ความช่วยเหลือ: ปรึกษาผู้ดูแล หรือพูดคุยกับเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน** ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-๕) : ผลการประเมิน = 3 คะแนน คือเครียดน้อย
:star: สรุปปัญหาที่พบ : ไม่พบปัญหา
11. แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
11.1 การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา: สวดมนต์ก่อนนอนเป็นบางครั้ง
11.2 สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ: พระพุทธศาสนา11.3 ความเชื่อเกี่ยวกับทางด้านสุขภาพ คิดว่าตนเองป่วยเพราะว่าตอนที่เป็นหนุ่มทำงานหนัก
:star: สรุปปัญหาที่พบ ไม่พบปัญหา
1. แบบแผนการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลสุขภาพ:ผู้สูงอายุรับรู้ว่าตนเองยังแข็งแรงกว่าผู้สูงอายุคนอื่นและรับรู้ว่าตนเองมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง และได้รับประทานยาทุกวันตอนเช้าหลังอาหารเคยสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มาตั้งแต่อายุ 20 ปี เลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอล์มาประมาณ 1 ปี เมื่อมีอาการเจ็บป่วยจะแจ้งผู้ดูแล
2. แบบแผนอาหารและการเผาผลาญอาหาร รับประทานอาหารตามที่บ้านพักจัดให้โดยแต่ละมื้อรับประทานอาหารไม่หมดจะรับประทานอาหารหมดเพียงครึ่งหนึ่ง อาหารที่บ้านพักจัดให้จะมีรสจืด โดยจะเติมซอสทุกครั้งที่รับประทานอาหารชอบดื่มชานมเย็นในมื้อเช้า ดื่มน้ำจากในห้องน้ำโดยภายในหนึ่งวันประมาณ 500 ml ไม่มีอาการท้องอืด คลื่นไส้อาเจียนผลการประเมินตามแบบบระเมินภาวะโภชนาการ MNA =22.5 คะแนนเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารBMI = 18.43
** ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบทางเดินอาหาร : bowel sound 8 ครั้ง/นาที ฟันมี 18 ซี่
เนื้อฟันสึก มีคราบหินปูนจากการชักประวัติผู้สูงอายุเล่าว่ามีความอยากอาหารลดลง :star: สรุปปัญหาที่พบ มีภาวะขาดสารอาหาร
-
-
-
:pencil2:ข้อมูลพื้นฐาน
เกี่ยวกับสุขภาพผู้สูงอายุ โรคประจำตัวและการรักษา : โรคความดันโลหิตสูง มาประมาณ 18 ปีรักษาโดยใช้ยา hydralazine (25mg), Amlodipine (5mg),Enalapril (5mg)ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : เคยผ่าตัด ดามกระดูกแขน
ข้างขวา เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
ข้อวินิจฉัยที่ 1มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงเนื่องจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุเล่าว่า “อาหารทางศูนย์จัดให้มีรสจืด จึงเติมซอสปรุงรสใส่ไปในอาหารทุกมื้อ และไม่ชอบออกกำลังกาย กินชานมเย็นทุกเช้า”
O: - ได้รับยา Amlodipine (5mg), hydralazine (25mg) และ Enalapril (5mg) - ผู้สูงอายุไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมี่ทางศูนย์ฯ จัดให้
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับความดันโลหิตสูงเรื้องรังเป็นระยะเวลานาน และมีระดับความดันโลหิตที่วัดได้มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ปัจจัยที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุมี 2 ประการ ได้แก่ 1. ปัจจัยที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ คือ พันธุกรรม อายุ เมื่ออายุมากขึ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงตามวัยของระบบหัวใจและหลอดเลือด มีการแข็งตัวและความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ 2. ปัจจัยจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คือ ความอ้วน พฤติกรรมการรับประทานอาหารรสเค็ม โดยอาหารรสค็มจะมีระดับโซเดียมที่สูงจะมีผลไปกระตุ้นให้มีการหลั่ง Natriuretic hormone ซึ่งมีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การดื่มสุรา ไปกระตุ้นให้มีการหลั่ง Cortisol และ Catecholamine ในเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้มีการไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่จะมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เมื่อสูบเป็นระยะเวลานานจะทำให้หลอดเลือดมีการแข็งตัวและทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนแปลงตามวัย ระบบหัวใจและหลอดเลือด เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดแดงขาดความยืดหยุ่นและแข็งกระด้าง ทำให้เกิดแรงต้านทานในหลอดเลือดสูงขึ้น รวมทั้งการสะสมของแคลเซียม การลดลงของเส้นใย อิลาสติน การเพิ่มขึ้นของคอลลาเจนในผนังหลอดเลือดชั้นกลาง ทำให้ตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง การเชื่อมตามขวางของเส้นใน collagen และ เส้นใย elastin มีแคลเซียมและไขมันมาเกาะมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว หลอดเลือดจึงตีบแคบเกิดการอุดตันได้ง่าย ส่งผลให้มีแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้น ทำให้มีความดันโลหิตสูงขึ้น
จากการตรวจร่างกายและการซักประวัติพบว่าผู้สูงอายุรายนี้ เป็นความดันโลหิตสูงมา 18 ปี
ได้รับยา Amlodipine (5mg), hydralazine (25mg) และ Enalapril (5mg) รับประทานอย่างต่อเนื่องมีประวัติการดื่มสุราและสูบบุหรี่มาเป็นระยะเวลานาน มักจะรับประทานอาหารโดยการเติมซอสปรุงรสลงไป
ในอาหารทุกครั้ง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มักจะดื่มชานมเย็นทุกเช้าและไม่ค่อยเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางศูนย์จัดให้
สรุปได้ว่าผู้สูงอายมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร รสเค็ม ประวัติการสูบบุหรี่และดื่มสุรา รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เกี่ยวข้องและผลจากกรซักประวัติ ตรวจร่างกายของผู้สูงอายุ
-
เกณฑ์การประเมินผล
- ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง ได้แก่ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง อาการปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน เวียนศีรษะเหมือนบ้านหมุน
- สัญญาณชีพปกติ T=36.5-37.4 องศาเซลเซียส, PR=60-100 ครั้ง/นาที, RR= 16-20 ครั้ง/นาที และ BP=120-80/90-60 mmHg
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงจากการซักประวัติและการสังเกตผู้สูงอายุ
- แนะนำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ ปวดมึนศีรษะบริเวณท้ายทอย วิงเวียนศีรษะเหมือนบ้านหมุน มึนงง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจลำบาก เลือดกำเดาออก ใจสั่น อาการเจ็บหน้าอก อาการชาหรือมีแขนขาอ่อนแรง เป็นต้น
- แนะนำให้มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตเพื่อการดูแลตนเองที่เหมาะสมกับโรคความดันโลหิตสูง ดังนี้
- ควบคุมการรับประทานอาหาร ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยเฉพาะ อาหารต้านความดันโลหิตสูง หรือที่เรียกว่า DASH Diet
ซึ่งเป็นอาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีโปแตสเซียมและแคลซียมสูง มีไขมันและโซเดียมต่ำ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซอส หรืออาหารหมักดอง เป็นต้น สำหรับการควบคุมไขมันควรรับประทานน้ำมันที่ได้จากถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว และหลีกเลี่ยงน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันจากสัตว์
- ควรงดการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ มีผลให้เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและมีการหดตัวของหลอดเลือดส่วนปลายส่งผลให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ควรงดดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น
- แนะนำการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือการเพิ่มความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิก โดยใช้แรงในระดับปานกลาง อย่างสม่ำเสมอ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30 - 60 นาที ที่สำคัญควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น การเดินแกว่งแขน การรำมวยจีน การรำไม้พลอง เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป เพราะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
- นอนหลับให้เพียงพอ หากิจกรรมทำในช่วงเวลากลางวัน แต่สามารถงีบหลับได้ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ควรหลีกลี่ยงการนอนหลับในช่วงตอนเย็น เพราะจะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน การนอนไม่หลับเป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายวันส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
- ควรปรุงอาหารแบบ ตุ๋น ต้ม นึ่ง และอบ แทนการทอด (สมรัตน์ ขำมาก, 2559)
- แนะนำวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสม เช่น ฝึกทำสมาธิ การดูหนัง ฟังเพลง การเที่ยว การทำงานอดิเรก การปรึกษาคนสนิท เป็นต้น (สมรัตน์ ขำมาก, 2559)
- แนะนำวิธีการดูแลตนเองของผู้สูงอายุหลังการ ได้รับยา ได้แก่ เฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากยาลดความดันโลหิต เช่น มีความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ผู้สูงอายุจึงควรมีการเปลี่ยนอริยาบถอย่างช้าๆ ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมภายหลังการรับประทานยาเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที
กิจกรรมของผู้ดูแล
- ดูแลเรื่องการรับประทานอาหารและยาของผู้สูงอายุ
- คอยกระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
กิจกรรมผู้สูงอายุ
- สังเกตอาการปวดศีรษะ ปวดมึนศีรษะบริเวณท้ายทอย วิงเวียนศีรษะเหมือนบ้านหมุน มึนงง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจลำบาก เลือดกำเดาออก ใจสั่น อาการเจ็บหน้าอก อาการชาหรือมีแขนขาอ่อนแรง หากมีอาการผิดปกติ ให้แจ้งผู้ดูแล
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่าดัชนีมวลกาย ปกติ 18.5 - 22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ผู้สูงอายุควรชั่งน้ำหนักและวัดรอบเอวอยู่เสมอเป็นการประเมินภาวะโภชนาการ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีรสไม่จัด หรือรสจืด
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิก โดยใช้แรงในระดับปานกลาง อย่างสม่ำเสมอ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30 - 60 นาที เช่น การเดินแกว่งแขน การรำมวยจีน การรำไม้พลอง เป็นต้น
- รับประทานยาความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์
- วัดความดันโลหิตอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หากผิดปกติให้แจ้งผู้ดูแล
การประเมินผล
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564
- ผู้สูงอายุมีอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง ได้แก่ ตาพร่ามัว มองเห็นได้ไม่ค่อยชัด
- สัญญาณชีพปกติ T=36.6 องศาเซลเซียส, PR=72 ครั้ง/นาที, RR= 20 ครั้ง/นาทีและ BP=132/96 mmHg
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564
- ผู้สูงอายุมีอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง ได้แก่ ตาพร่ามัว มองเห็นได้ไม่ค่อยชัด
- สัญญาณชีพปกติ T=36.6 องศาเซลเซียส, PR=76 ครั้ง/นาที, RR= 18 ครั้ง/นาทีและ BP=130/90 mmHg
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564
- ผู้สูงอายุไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง ได้แก่ ตาพร่ามัว มองเห็นได้ไม่ค่อยชัด แขนขาอ่อนแรง อาการปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน เวียนศีรษะเหมือนบ้านหมุน เป็นต้น
- สัญญาณชีพปกติ T=36.5 องศาเซลเซียส, PR=68 ครั้ง/นาที, RR= 20 ครั้ง/นาที
และ BP=126/82 mmHg
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 1. ผู้สูงอายุไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง ได้แก่ ตาพร่ามัว มองเห็นได้ไม่ค่อยชัด แขนขาอ่อนแรง อาการปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน เวียนศีรษะเหมือนบ้านหมุน เป็นต้น 2. สัญญาณชีพปกติ T=36.5 องศาเซลเซียส, PR=76 ครั้ง/นาที, RR= 20 ครั้ง/นาที และ BP=120/80 mmHg
-
-
-
ข้อมูลลักษณะของศูนย์ฯ บ้านบางละมุงจำนวนผู้สูงอายุภายในศูนย์ฯ บ้านบางละมุง 190 คน จำนวนเรือนนอน 4 เรือน สถานบริการสุขภาพ: อาคารอนามัยภายในศูนย์ เรือนนอนชื่อ เรือนนอนสายใจ จำนวนสมาชิก 31 คน
สิ่งแวดล้อมภายในเรือนนอน : มีแสงสว่างเพียงพอ มีอากาสถ่ายเทสะดวก พื้นบริเวณที่ผู้สูงอายุอยู่แห้ง มีการจัดวางสิ่งของเป็นระเบียบ ไม่กีดขวางทางเดิน มีพรมเช็ดเท้าที่ไม่ได้มีการยึดติดกับพื้น ไม่มีมุ้งแต่ประตู มีมุ้งลวดป้องกันยุง แต่ในช่วงเวลากลางวันจะเปิดประตูไว้ตลอดเวลา ทำให้มีเสียงยุงรบกวนในช่วงกลางคืน
สิ่งแวดล้อมบริเวณภายนอกเรือนนอน : มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีเสียงรบกวนจากภายนอก รอบๆ เรือนนอน มีต้นไม้ให้ความร่มรื่น บริเวณทางเดินไม่มีสิ่งกีดขวาง มีทางลาดสำหรับผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็น มีทางต่างระดับ ภายในศูนย์ฯ มีสุนัข และแมวจรจัด ประมาณ 2-3 ตัว สิ่งอำนวยความสะดวกภายในเรือนนอน: มีห้องน้ำเพียงพอต่อการใช้งาน มีพัดลมเปิดระบายอากาศตลอดเวลา แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ : เครื่องกรองอยู่ด้านหน้าเรือนนอนหญิง โดยผู้สูงอายุในเรือนนอนชายใช้น้ำดื่มจากน้ำในห้องน้ำ ลักษณะของห้องน้ำ : ห้องน้ำมีสองห้องกระเบื้องไม่ลื่นแต่มีน้ำเปียกพื้นอยู่ตลอดเวลา มีราวตากผ้าและมีน้ำเปียกจากการซักผ้า การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล : มีถังขยะสำหรับรวบรวมขยะด้านหน้าอาคาร
-
-
เอกสารอ้างอิง
กาญจนา พิบูลย์. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการ หกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http://www.dspace.lib.buu.ac.th/bitstream
จุไรรัตน์ ดือขุนทด. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ.
32, 15-30. ข้อมูลจาก https://he01.tci- thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article
นภาพร เพ็งสอน, (2561). คู่มือการพยาบาลการดูแลภาวะโภชนาการผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article
พุทธิพร พิธานธนานุกูล. (2562). ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 22, 1-13. ข้อมูลจาก https://www.thaidj.org/index.php/JSNH/article
มลฤดี โพธิ์พิจารย์. (2562). การพยาบาลพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. เอกสารประกอบการสอนวิชาการ พยาบาลผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http://www.elnurse.ssru.ac.th/ monredee_ph/ pluginfile.php/139/block_html/content
สมรัตน์ ขำมาก, (2559), พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3(3), 153-169. ข้อมูลจาก https://www.he01.tci-thaijo.org/index.php/ scnet/article
-
-
-
-
-
-