Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการหายใจ - Coggle Diagram
การพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการหายใจ
I ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับออกซิเจนของบุคคล
ภาวะพร่องออกซิเจน
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของ ร่างกาย เป็นสาเหตุให้การท างานของร่างกายและสมองบกพร่อง
แบ่งตามสาเหตุได้เป็น ๔ ชนิด
ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic Hypoxia)
ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากเลือด (Hypemic Hypoxia)
ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากการคั่งของกระแสโลหิต (Stagnant Hypoxia)
ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia)
อาการของภาวะพร่องออกซิเจน
อาการ (Subjective symptoms) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยตนเองรู้สึกได้ เช่น มึนงง วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้
อาการแสดง (Objective signs) เป็น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยผู้อื่นสามารถสังเกตเห็นหรือตรวจพบได้ เช่น หายใจเร็วและลึกขึ้น (air hunger) เขียวคล้ำ (cyanosis) สับสน (confusion) การทำงานของกล้ามเนื้อ ไม่ประสานกัน (muscle incoordination) หรือหมดสติในที่สุด
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง
การฝึกให้ผู้ป่วยหายใจลึก
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำ ตามจำนวนที่ร่างกายต้องการ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
การช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
การเพิ่มความสามารถในการขยายตัวของทรวงอกและปอด
การเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่เข้าปอด โดยอาจมีการให้ออกซิเจน อาจให้โดยทางสายยาง (Nasal cannula) ทางหน้ากากครอบจมูก (Oxygen mask)
การลดความต้องการปริมาณออกซิเจนในร่างกาย เมื่อการเผาผลาญสารอาหารภายในเซลล์มากขึ้น
การผ่อนคลายความวิตกกังวล
อาการหรือความผิดปกติที่พบบ่อยในผู้ป่วยในระบบทางเดินหายใจ
การไอ (cough)เป็นกระบวนการขับหลั่งสิ่งแปลกปลอมของระบบการหายใจ โดยผ่านกลไกของ cough reflex เป็นกลไปการป้องกันตามธรรมชาติ เกิดได้ทั้งจงใจและไม่จงใจ
ไอเป็นเลือด (hemoptysis) หมายถึงการไอออกมีแล้วมีเลือดออกจากทางเดินหายใจตั้งแต่ กล่องเสียง (larynx) ลงไป (ไม่รวมเลือดกำเดา / epistaxis) มีปริมาณเลือดเห็นได้ชัดเจน คือ มากกว่า 2 มิลลิลิตรขึ้นไป และต้องแยกออกจากการอาเจียนเป็นเลือด (hematemesis) ซึ่งมี เลือดออกมาจากทางเดินอาหาร
ชนิดของการไอเป็นเลือด
สะอึก (hiccup) การสะอึกเป็นอาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้อง
ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดการหายใจเอาอากาศเข้าไปก่อน
และจะหยุดหายใจเข้าทันทีทันใดเพราะปากหลอดลมจะปิด ทำให้เสียงดังของการสะอึกเกิดขึ้น ทุกครั้งไป
หายใจลำบาก (Dyspnea) หมายถึงภาวะซึ่ง
ผู้ป่วยต้องใช้ความพยายามหรือ ใช้แรงในการหายใจ การหายใจลำบากไม่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของการหายใจ
เจ็บหน้าอก (chest pain)
• เจ็บหน้าอกเพราะกล้ามเนื้ออักเสบ
• เจ็บหน้าอกเพราะเยื่อหุ้มปอดอักเสบมักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบ
• เจ็บหน้าอกเพราะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ และเจ็บตลอดเวลา
• เจ็บหน้าอกเพราะหัวใจ แน่นหน้าอกบริเวณหรือหลังกระดูกสันอก
• เจ็บหน้าอกเพราะหลอดลมอักเสบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหลังกระดูก
• เจ็บหน้าอกเพราะประสาท เช่น โรคของรากประสาทสันหลัง (posterior nerve root) จะปวดร้าวไปตามแขนงของประสาท
II. การประเมินการได้รับออกซิเจนของบุคคล
• อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรก ในการให้ออกซิเจนเครื่องมือที่ใช้มีโอกาสก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
• ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้ เนื่องจากออกซิเจนเป็นแก๊สแห้ง
• เกิดการทำลายเนื้อเยื่อในปอด ออกซิเจนจะก่อพิษในปอดได้หากได้รับในระยะเวลานาน คือ 24 – 48 ชั่วโมงและความเข้มข้นของแก๊ส มากกว่า 60%
• เกิดอันตรายกับตา (retrolental fibroplasias) คือการได้รับออกซิเจนความเข้มข้นสูงระยะ เวลานานๆ
• เกิดการหยุดหายใจ ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
III. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการได้รับออกซิเจนและเทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง
การพยาบาลขณะที่ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง
จัดท่าที่สบายให้ผู้ป่วย
ดูแลผู้ป่วยขณะได้รับออกซิเจน
การได้รับออกซิเจนทางแคนนูลา
ข้อดี
ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้โดยไม่ต้องปลดสายออก ไม่ค่อยรู้สึกอึดอัดหรือ ร าคาญมากนัก และติดต่อสารกับผู้อื่นได้สะดวก
ข้อเสีย
อาจมีการระคายเคืองช่องจมูกทั้งสองข้าง ทำให้เยื่อบุจมูกบวมและมีน้ำมูกออกมาตันท่อได้ จึง ควรทำความสะอาดท่อและรูจมูกทุก 8 ชั่วโมง และปรับสายรัดรอบศีรษะของผู้ป่วยให้พอเหมาะ ดูปรับ อัตราไหลของออกซิเจน
การได้รับออกซิเจนทางมาสค์
เป็นการให้ออกซิเจนทางหน้ากากครอบปาก และจมูกผู้ป่วยให้มิดชิด โดยเปิดออกซิเจนเข้าใน หน้ากาก วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะจะได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูง ใช้ง่ายสะดวกในยาม ฉุกเฉิน และใช้ต่อนานๆ หรืออาจใช้ๆ หยุดๆ ก็ได้แต่มีข้อจำกัด คือผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด และไม่สะดวกเมื่อผู้ป่วย จะรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำจะต้องหยุดใช้ชั่วคราว
Oxygen T- piece
เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนผู้ป่วยที่มีท่อทางเดินหายใจท าด้วยพลาสติก เบา เพื่อไม่ให้ดึงรั้งท่อเจาะหลอดลมคอ ลักษณะเป็นท่อสายลูกฟูก (corrugated tube) สวมยึดติดกับท่อ
Tracheostomy collar
เป็นอุปกรณ์คล้ายหน้ากากคล้องไว้กับคอ ครอบบนท่อเจาะ หลอดลมคอ ออกซิเจนจะไหลเข้าทางรูเปิดขณะหายใจเข้า มีท่อลูกฟูก (corrugated tube) เพื่อให้ได้ ความชื้นแบบละอองฝอย (jet nebulizer) ออกซิเจนที่ได้จะไม่แห้ง
Croupette tent
เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่ครอบตัวผู้ป่วยลักษณะคล้ายเต็นท์ ประกอบด้วยมุ้งพลาสติก มีซิบเปิด-ปิด ครอบบนโครงโลหะ
Hood or oxygen box
เป็นอุปกรณ์ใช้ครอบศีรษะและไหล่ผู้ป่วยเด็ก ลักษณะเป็นกระโจม หรือกล่องพลาสติกให้ออกซิเจน มีท่อน าออกซิเจนเข้าภายใน อัตราการไหลของออกซิเจน 10 - 12 ลิตร/ นาที ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ได้ 60 – 70%