Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
26โครงการหลวง รัชกาลที่9 - Coggle Diagram
26โครงการหลวง รัชกาลที่9
โครงการหลวง ภาคเหนือ
- สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ที่ ต. แม่งอน อ. ฝาง จ. เชียงใหม่
เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ที่เกิดขึ้นจากการที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จไปเยี่ยมราษฎรที่หมู่บ้านผักไผ่ อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ ระหว่างเสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่า ชาวเขาส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ปลูกฝิ่นขาย แต่ยังคงยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศ ถ้าปล่อยไว้ต่อไปอาจเกิดความเสียหายต่อประเทศได้ จึงมีพระราชดำริว่า พื้นที่นี้มีภูมิอากาศหนาวเย็น
-
- โครงการพระราชดำริปางตอง 2ตั้งอยู่ที่บ้านรวมไทย ต. หมอกจำแป่ จ. แม่ฮ่องสอน
เป็นโครงการในพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเล็งเห็นว่า พื้นที่บริเวณนี้อยู่ติดกับแนวชายแดนประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่อันตราย เพราะมีกองกำลังต่างๆ มีการขนส่งอาวุธ ปลูกพืชเสพติด รวมถึงบุกรุกทำลายป่าไม้อยู่เสมอ จึงโปรดให้รวบรวมราษฎรบริเวณนี้ โดยมีพระราชประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดน พร้อมพัฒนาความเป็นอยู่ สร้างอ่างเก็บน้ำ และฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์อย่างยั่งยืน ราษฎรจึงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนับจนถึงปัจจุบัน
-
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตกตั้งอยู่ที่ ต. ห้วยแก้ว อ. แม่ออน จ. เชียงใหม่
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 300,000 บาท เพื่อเป็นทุนทรัพย์ก่อตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ตั้งแต่ปี 2524 โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์สาธิตและส่งเสริมการเพาะเห็ด และกาแฟพันธุ์อราบิกา ให้แก่ราษฎรนอกเหนือจากการปลูกเมี่ยง ปัจจุบันทางศุนย์ฯ นี้ได้สร้างที่พักติดภูเขาและสายน้ำอย่างดีให้ประชาชนทั่วไปสามารถมาพักได้ และหมู่บ้านใกล้เคียงอย่าง “แม่กำปอง” ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอีกด้วย
-
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึกตั้งอยู่ที่ ต. ปิงโค้ง อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่
เนื่องจากพื้นที่แถบนี้เป็นที่ราบสลับเนินเขา โดยมีความสูงจากน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 500 ถึง 900 ม. และอยู่ใกล้กับลุ่มน้ำย่อยของแม่น้ำแม่ปิง จึงเหมาะมากกับการเพราะปลูก ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงมีพระราชดำริให้จัดพื้นที่ทำกินให้แก่ชาวบ้านแถบนี้ รวมถึงชาวเขาเผ่าแม้ว กะเหรี่ยง โดยส่งเสริมการวิจัย และเพาะพันธุ์ให้แก่เกษตรกร
-
- สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต. บ้านหลวง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่
เดิมสถานที่แห่งนี้มีการบุกรุกผืนป่า ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าว ปลูกฝิ่น จากชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และชาวไทยภูเขา ทำให้ป่ามีสภาพเสื่อมโทรม ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงอยากให้ชาวเขาเหล่านั้นมีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง จึงมีพระราชดำริให้ถ่ายทอดความรู้การเกษตรแผนใหม่ ให้หันมาทำการเกษตรแบบถาวร จึงจัดตั้ง “สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์”
-
- ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต. บ้านหลวง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่
ศูนย์วิจัยฯ นี้ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 ครั้งนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสให้กองพืชสวนกรมวิชาการเกษตร ใช้ท้องทุ่งนี้เป็นสถานที่ทดลองและขยายพันธุ์พืชบนที่สูง เพื่อส่งเสริม และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรบนที่สูง เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น
-
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถตั้งอยู่ใน ต. บ่อสลี อ. ฮอด จ. เชียงใหม่
พื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ทอดยาวตามแนวเหนือใต้ และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 800-1,200 ม. เป็นสถานที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าม้ง และกะเหรี่ยง ที่ยึดอาชีพหลักในการปลูกฝิ่น ทำไร่เลื่อนลอย กระทั่งถึงปี 2539 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ”
-
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ตั้งอยู่ใน อ. กัลยาณิวัฒนา จ. เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาฯ แห่งนี้ ก่อกำเนิดขึ้นหลังจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตหมู่บ้าน วัดจันทร์ พระองค์ทรงทราบถึงความยากลำบากของชาวเขาในพื้นที่ จึงมีพระราชดำริให้ก่อตั้ง “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์” ขึ้น
-
โครงการหลวง ภาคกลาง
- โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริตั้งอยู่ที่บ้านหนองคอไก่ ต. เขากระปุก อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี
โครงการนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกที่หนึ่งของ จ. เพชรบุรี ซึ่งภายในโครงการ มีทั้งแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจและพืชไร่หลายชนิด อาทิ สับปะรด มะนาว ชมพู่เพชร มันเทศ ยางพารา และแปลงปลูกข้าว
-
- โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดสดพระประแดง อ. พระประแดง จ. สมุทรปราการ
-
- โครงการเขื่อนคลองท่าด่านตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ต. หินตั้ง อ. เมือง จ. นครนายก
โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน เป็นโครงการช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรมให้บรรเทาอุทกภัย น้ำไม่ท่วมขัง และกักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงหน้าแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อกักเก็บน้ำได้มากขึ้น ทำให้พื้นที่โดยรอบชุ่มน้ำ
-
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ตั้งอยู่ที่ ต. หนองบัว อ. พัฒนานิคม จ. ลพบุรี
ก่อสร้างเมื่อปี 2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่การเกษตร บรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งนับว่าแก้ไขจัดการน้ำได้เป็นอย่างดี
-
- โครงการพัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งอยู่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า และป่าคลองคอย ต. ปากน้ำปราณ อ. ปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์
เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าไม้ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและคนในชุมชน เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ภายในโครงการมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของพื้นที่ และให้ความรู้เรื่องพันธุ์สัตว์น้ำ
-
- โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งอยู่ที่ ต. สมเด็จเจริญ อ. หนองปรือ จ. กาญจนบุรี
พื้นที่ภายในโครงการมีการก่อสร้างฝายทดน้ำในลำห้วยแม่ระวัง และบ้านห้วยหวาย เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตรกรรม อีกทั้งเป็นสถานที่ที่รวบรวมกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายให้ราษฎรไปปลูกเพื่อประกอบอาชีพได้ อาทิ กล้าสะเดา มะฮอกกานี สมอพิเภก มะค่าโม่ง ประดู่ป่า มะขาม และที่นี่ยังปลูกป่าหวายเป็นจำนวนกว่า 100 ไร่
-
-