Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิสาหกิจเพื่อสังคม - Coggle Diagram
วิสาหกิจเพื่อสังคม
ความรับผิดชอบต่อสังคม
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ไม่ว่าจะจำแนกประเภทตามการตอบสนองต่อปัญหา ตามกิจกรรม ตามลำดับขั้นตอน หรือตามกระบวนการก็ตาม
-
-
นวัตกรรมสังคม
นวัตกรรมสังคม แม้จะมีความกำกวมในเรื่องของความหมายแต่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมหรือบริการใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการตอบสนองความต้องการของสังคมเป็นหลัก
-
นวัตกรรมคุณภาพชีวิต
มีพื้นฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์อันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมถึง ทรัพยากรมนุษย์
-
ผู้ประกอบการทางสังคม
เป็นผู้ที่มีทั้งความมุ่งมั่นและวิธีการใหม่ในการแก้ปัญหาสังคมที่เร่งด่วนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น ด้วยเหตุที่ภาครัฐไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ ซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการได้ 3 ทาง
-
เปลี่ยนผู้ประกอบการธุรกิจที่เอาตัวรอดได้ในสถานการณ์การแข่งขันในปัจจุบันและสนใจที่จะแก้ปัญหาสังคมให้เป็นผู้ประกอบการสังคม
พัฒนาขึ้นใหม่เลยจากผู้ที่ทำงานในองค์การอยู่แล้วหรือบุคคลทั่วไปที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคมให้เป็นผู้ประกอบการสังคม
สตาร์ตอัป
เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่ใช้นวัตกรรมเป็นหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างสินค้าหรือบริการที่เกิดมูลค่าเพิ่มจนทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งภาครัฐเองได้มีนโยบาย ประเทศไทย 4.0 มาช่วยหนุนเสริม แต่ก็ยังไม่เอื้อต่อสตาร์ตอัปมากพอในหลายๆเรื่อง ซึ่งนั้นความสนใจกลับอยู่ที่การผลักดันให้มีสตาร์ตอัปที่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ในทางธุรกิจได้ก้าวข้ามเป็นผู้ประกอบการสังคมไปในคราวเดียวกัน
ความยุติธรรม
พฤติกรรมที่ตระหนักถึงความสันติสุข และการเคารพนับถือต่อประชาชนอย่างแท้จริง รวมถึงความเป็นธรรมและความมีเหตุมีผล
การเสริมสร้างพลัง
การทำให้บุคคลมีความเข้มแข็งและมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการกำหนดชะตาชีวิตและการเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมของตน
-
มีรากฐานมาจากสหกรณ์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้ดีขึ้น เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน อีกหนึ่งเป็นองค์กรลูกผสมที่ดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและต้องผลักดันเป้าหมายทางสังคมอย่างต่อเนื่อง
-
การมีส่วนร่วมในการพัฒนา
การมีส่วนร่วมนั้นสะท้อนถึงนัยการกระจายอำนาจรัฐทีมีต่อประชาชนโดยที่บทบาทของประชาชนจะเพิ่มขึ้นตามระดับการมีส่วนร่วมที่สูงขึ้นเช่นเดียวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ย่อมจะหมายถึงว่าการพัฒนาไม่ใช่สิ่งที่รัฐพึงกระทำโดยลำพังเหมือนที่ผ่านมาในทางตรงกันข้ามการพัฒนาต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างไม่มีเงื่อนไขามากนัก
การมีส่วนร่วมในโครงการ
การมีส่วนร่วมในช่วงแรกสุดนั้นเกิดจากการมีโครงการพัฒนาเนื่องจากปัญหาในทางปฎิบัติที่ว่าเมื่อได้ดำเนินโครงการพัฒนาไประยะหนึ่งแล้ว มักมีความจำเป็นต้องให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จากโครงการ เข้ามามีส่วนร่วม มิฉะนั้น โครงการพัฒนาจะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งความจำเป็นดังกล่าวได้ก่อตัวมาเป็นทฤษฎมีการทดสอบและเผยแพร่มาเป็นลำดับ
การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
จากปัญหาการปฎิบัติของการมีส่วนร่วมในโครงการข้างต้นได้พัฒนาไปสู่เป้าหมายการมีส่วนร่วมเชิงอุดมการณ์ ซึ่งมีจุดกำเนิด 3 ทาง
-
-
มาจากกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและใต้ ที่มองว่าการพัฒนา ที่เริ่มต้นจากข้างล่างเป็นแนวทางที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
การพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นเรื่องที่มีการพูดถึงอย่างกว้างขวางและใช้อ้างอิงอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ซึ่งความหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีมายาวนานนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1972 เรื่อยมาจนเป็นเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน ในปัจจุบัน ซึ่ง SDGs เป็นการสร้างความสมดุลให้แก่ความต้องการของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นผลให้ SDGs ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศในทั้งสองกลุ่มนี้เป็นอย่างมา
-
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ20ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12
ชี้ให้เห็นทิศทางในการขับเคลื่อนประเทศที่ล้อตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยเหมือนกัน การปรับปรุงองค์กรชุมชนที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งนั้นย่อมหมายถึงการเปลี่ยนผู้ประกอบการมือสมัครเล่นที่มีอยู่ในชุมชน ให้เป็นผู้ประกอบการสังคมมือใหม่ ที่ใช้นวัตกรรมสังคมในการขับเคลื่อนวิสาหกิจ เพื่อสังคมเพื่อให้บรรลุ เป็นหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน