Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Reality Therapy การให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง - Coggle Diagram
Reality Therapy
การให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ประวัติความเป็นมา
William Glasser (วิลเลียม กลาสเซอร์)
จิตแพทย์ชาวอเมริกัน
ผู้ริเริ่มการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
มีประสบการณ์ในการทำงานด้านจิตเวชที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา
ผสมผสานแนวคิดของ
เอลลิส (Ellis) REBT
แนวคิดของโรเจอร์ส (Rogers) ในเรื่องการให้บริการปรึกษาเป็นศูนย์กลาง
กระบวนการให้การปรึกษา
มีขั้นตอนดังนี้
สำรวจความต้องการและการรับรู้ของผู้รับคำปรึกษา (Exploring Wants, Need and Perception)
เพ่งความสนใจที่พฤติกรรมปัจจุบัน (Focus on Current Behavior)
3.ให้ผู้รับคำปรึกษาประเมินพฤติกรรมตนเอง (Getting Client to Evaluate their Behavior)
การวางแผนและสร้างข้อผูกพัน (Planning and Commitment)
การใช้ระบบ W D E P System
W (Wants) คือ การที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการค้นพบความต้องการของเขา
D (Describe) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาอภิบายวิถีชีวิตของเขาว่าเขาทำอะไรในแต่ละวัน
E (Self Evaluation) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการประเมินพฤติกรรมของตนเอง
P ( Plan) คือการที่ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการวางแผนเปลี่ยนพฤติกรรมของตน
แนวคิดสำคัญของทฤษฎี
เชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนมีพลังแห่งการพัฒนาเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น
มนุษย์มีเอกลักษณ์ของตนเอง
Success identity
บุคคลมองเห็นว่าตนเองมีความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง มีคุณค่า และมีความสำคัญต่อตนเองและบุคคลอื่น
Failure identity
มองตัวเองในแง่ลบ ไม่สามารถสร้างสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับคนอื่น รู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่รัก ไม่มีใครต้องการ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
มนุษย์มีความต้องการของตนเอง
มนุษย์สามารถที่จะพัฒนาเอกลักษณ์ของตนได้หากบุคคลเหล่านั้นมีประสบการณ์ที่สำคัญสองประการ
love
บุคคลสามารถให้ความรักแก่ผู้อื่นและได้รับความรักจากผู้อื่น
worth
บุคคลมีความรู้สึกถึงความมีคุณค่าในรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อผู้อื่น
“จงรับผิดชอบและควบคุมชีวิตของท่านและเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของท่าน”
เป้าหมายของการให้กาปรึกษา
ช่วยให้บุคลรับผิดชอบที่จะแก้ปัญหา และมีทักษะในการคิดแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเป็นจริง
ป้องกันไม่ให้บุคคลปล่อยชีวิตล่องลอย โดยสนับสนุนให้วางโครงการในอนาคตและมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการไปตามโครงการที่วางไว้
ส่งเสริมให้บุคคลมีวุฒิภาวะ คือเป็นตัวของตัวเองและสามารถช่วยตนเองได้
ช่วยให้บุคคลรู้จักตนเองว่าตนเป็นใครเขาต้องการอะไรในชีวิต
ช่วยให้บุคคลค้นพบวิธีการที่จะสนองความต้องการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น
ให้บุคคลตระหนักในคุณค่าของตน โดยแนะแนวทางให้รู้จักวิธีสร้างสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นให้ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับความผู้พันทางสังคม
ช่วยให้บุคคลรู้จักประเมินค่านิยม รู้จักพิจารณาว่าอะไรถูกอะไรผิดสิ่งใดควรกระทำหรือพึงละเว้น
เทคนิคการให้การปรึกษา
เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพ
การแสดงบทบาทสมมุติ
การสะท้อนความรู้สึก
การทำให้เกิดความกระจ่าง
การเงียบ
การสังเกต
การเผชิญหน้า
การใช้คำถามชักนำ
การสร้าอารมณ์ขัน
การแนะนำตามหลักความเป็นจริง
ปรัชญาในการใช้พิจารณามนุษย์
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล และมีความรับผิดชอบในชีวิตของตน
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการทางจิตใจ 2 ประการ
การรู้สึกว่าตนเองเป็นบุคคลที่มีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การได้รับความรักและมีโอกาสให้ความรักแก่ผู้อื่น
เมื่อมนุษย์มีโอกาสจะเรียนรู้ความรักและได้รักคนอื่น เขาจะรู้สึกว่าตนเองมีค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
แรงจูงใจที่สำคัญในการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ คือการพยายามตอบสนองความต้องการของตน
ไม่ใช่อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่ามนุษย์จะได้รับความรักหรือไม่ เขาต้องพยายามคงพฤติกรรมที่ทำให้ได้รับความพอใจไว้
เพื่อคงความรู้สึกมีคุณค่าไว้
เมื่อบุคคลเกิดความคับข้องใจในการตอบสนองความต้องการ และเริ่มหลีกหนีความจริงรอบตัว
บุคคลจะสูญเสียความสามารถในการรับรู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริง
มนุษย์ต้องการมีเอกลักษณ์ของตน
คนที่มีสุขภาพจิตดี
ผู้ที่มีความรับผิดชอบในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของชีวิต
มีเอกลักษณ์แห่งตนและมีจุดมุ่งหมายในชีวิต