Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเก็บรวบรวมเเละสำรวจข้อมูล - Coggle Diagram
การเก็บรวบรวมเเละสำรวจข้อมูล
ประเภทข้อมูล
1) ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือนำมาให้รหัสเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้
2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข ไม่ได้มีการให้รหัสตัวเลขที่จะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ แต่เป็นข้อความหรือข้อสนเทศ
แหล่งที่มาของข้อมูล (Source of Data)
ข้อมูลสถิติอาจจำแนกตามแหล่งที่มาได้ 2 ทาง คือ
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่ใช้เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการสังเกตการณ์ ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่มักจะเสียเวลาในการจัดหาและมีค่าใช้จ่ายสูง
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้เก็บรวบรวมเอง แต่มีผู้อื่นหรือ หน่วยงานอื่นๆ ทำการเก็บรวบรวมไว้แล้ว เช่น จากรายงาน ที่พิมพ์แล้ว หรือยังไม่ได้พิมพ์ของ หน่วยงานของรัฐบาล สมาคม บริษัท สำนักงานวิจัย นักวิจัย วารสาร หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
1) การสังเกตการณ์ (Observation) ทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ( Participant Observation) และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม
2) การสัมภาษณ์ ( Interview) นิยมมากในทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม ( Questionnaire) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) หรืออาจจะจำแนกเป็นการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล และการสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม เช่น เทคนิคการสนทนากลุ่ม ( Focus Group Discussion) ซึ่งนิยมใช้กันมาก
3) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
1) กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด
2) กำหนดแหล่งข้อมูล
3) เลือกกลุ่มตัวอย่าง
4) เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
5) นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้
6) ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล
กระบวนการวิทยาการข้อมูล (data science process)
การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิกภัณฑ์หรือบริการด้วยข้อมูลนั้น นอกจากจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการเเล้ว นักเรียนยังต้องเข้าใจกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดหาเเละประมวลผลข้อมูลอีกด้วย นักเรียนสามารถดำเนินการตามกระบวนการได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การตั้งคำถาม (ask an interesting question) คือ ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ
ขั้นตอนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูล (get the data) คือ ต้องคำนึกถึงว่าจะเก็บข้อมูลเรื่องอะไร จากที่ไหนจำนวนเท่าใด เเละความน่าความน่าเชื่อถือของเเหล่งข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจข้อมูล (explore the date) คือ เป็นการทำความเข้าใจรูปเเบบ เเละค่าของข้อมูล
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล (analyze the data) คือ เพื่ออธิบายความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูล เเละทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ขั้นตอนที่ 5 การสื่อสารเเละการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ (communicate and visualiza the results) คือ เป็นการสื่อสารผลลัพธ์ของข้อมูลโดยการถ่ายทอดเป็นเรื่องราวหรือเป็นภาพให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากข้อมูล
การเตรียมข้อมูล (Data Preparation)
หลังจากเลือกแหล่งข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมข้อมูล เพื่อทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ไม่มีค่าผิดปกติ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลข้อมูล
การทำความสะอาดข้อมูล
การทำความสะอาดข้อมูล เป็นกระบวนการตรวจสอบและการแก้ไข (หรือลบ) รายการข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไปจากชุดข้อมูล ตารางหรือฐานข้อมูล ซึ่งเป็นหลักสำคัญของฐานข้อมูล เพราะหมายถึงความไม่สมบูรณ์ ความไม่ถูกต้อง ความไม่สัมพันธ์กับข้อมูลอื่นๆ เป็นต้น จึงต้องมีการแทนที่ การปรับปรุง หรือการลบข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ออกไป เพื่อให้ข้อมูลมีคุณภาพ
การทำความสะอาดข้อมูล เกิดขึ้นเนื่องจาก มีความไม่สอดคล้องของข้อมูล ซึ่งอาจเกิดจากข้อผิดพลาดของการบันทึกข้อมูล การส่งข้อมูล หรือการให้ความหมายของข้อมูลที่จัดเก็บแตกต่างกัน ยิ่งต้องมีการบูรณาการกับฐานข้อมูลอื่นๆ เช่น คลังข้อม
การทำความสะอาดข้อมูล มี5ขั้นต่อดังนี้
ค่าว่าง
ค่าอยู่นอกขอบเขต
หน่วยนับผิด
ค่าผิดปกติ
พิมพ์ผิด