Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช …
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย
การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การประเมินสภาพ (assessment)
พันธภาพทางสังคม (social relationships)
ลักษณะเฉพาะ (character) อุปนิสัย
อารมณ์ทั่วไป (habitual mood)
การเลี้ยงดูในวัยด็ก
การจัดการแก้ไขปัญหาและการใช้กลไกป้องกันตนเองทางจิต
เจตคติและมาตรฐาน (attitudes and standards)
การใช้เวลาว่าง (use of leisure)
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง/ฆ่าตัวตายเนื่องจากรู้สึกไม่มีคุณค่า/สูญเสีย/ล้มเหลว/มีภาวะ ซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรงเนื่องจากขาดความยับยั้งชั่งใจ/ความอดทนต่อความคับข้องใจต่ำ
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมมีพฤติกรรมบงการผู้อื่น
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
ให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึก
สอนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่มีผลต่อความวิตกกังวล
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรง มีภาวะตื่นตระหนก ต้องจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เงียบสงบ
สอนและให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติฝึกทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ
ให้บุคคลที่บุคลิกภาพผิดปกติเลือกวิธีการคลายครียดที่เหมาะสมกับตนเอง
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ประเมินประสิทธิผลของยา
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมและแบบก้ำกึ่งและพึ่งพา (antisocial, and borderline personality disorders)
สร้างสัมพันธภาพกับบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติด้วยความชัดเจน มุ่งเน้นสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติได้พูตระบายความรู้สึก
ให้ความช่วยหลือและเฝ้าระวังพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทำ ร้ายตนเองและผู้อื่นหรือฆ่าตัวตาย เป็นต้น
จัดสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล
แนะนำให้ครอบครัวเข้าใจและให้กำลังใจผู้ป่วย
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติกลุ่มนี้
ควรประเมินเกี่ยวกับความเข้าใจในปัญหา วิธีการเผชิญกับปัญหา
การแสดงพฤติกรรมการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพ และความร่วมมือใน
การรักษาของผู้ป่วย
ความหมายของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
โรคบุคลิกภาพผิดปกติ(personality disorder) เป็นประสบการณ์ พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตที่ เบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม
กลุ่ม B มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติหรือคาดเดาไม่ได้ (dramatic, emotional, or erratic)
กลุ่ม C มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง (anxious or fearful)
กลุ่ม A มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร (odd or eccentricity)
ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorders)
จะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี โดยจะมีลักษณะของการไม่สนใจใยดีถึงกฎเกณฑ์ความถูกต้อง
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง (borderline personality disorders)
จะมีลักษณะของการขาดความมั่นคงแน่นอนในการที่จะมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การมองภาพลักษณ์ของตนเองและการควบคุมอารมณ์ รวมทั้งมีการแสดงออกแบบหุนหันวู่วาม ควบคุมตนเองไม่ได้ (impulsivity)
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
จะมีลักษณะของการชอบพึ่งผู้อื่น ยอมตาม และขึ้นอยู่กับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเองและกลัวการถูกทอดทิ้ง อาการแสดงมักเริ่มในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
สาเหตุของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม (genetic)
พันธุกรรมคือลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด
ประสาทชีววิทยา (neurobiology)
การเจ็บป้วยด้วยโรคทางสมอง หรือความผิดปกติในหน้าที่ของสมอง
2) ปัจจัยทางจิตวิทยา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)อธิบายถึงสาเหตุของบุคลิกภาพที่ผิดปกติตาม ทฤษฎีของ ฟรอยด์ (Freud's psychosexual stages of development) ว่า 2 สาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติมาจาก
1) มีการติดขัดในขั้นของพัฒนาการ
2) โครงสร้างทางจิต (psychic structure; id, ego, superego) บกพร่อง กล่าวคือ egoไม่ สามารถที่จะทำหน้าที่ประสานความต้องการของ id และ superego ได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมีการ เรียนรู้ที่ผิดปกติมาตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต
ทฤษฎีทางจิตสังคม (psychosocial theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลสำคัญในแต่ละช่วงวัยของพัฒนาการไม่เหมาะสม
3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ที่มีผลต่อบุคลิกภาพที่ผิดปกตินั้นมีทั้งปัจัยสิ่งแวดล้อมภายในและนอกครอบครัว ได้แก่
ความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกไม่ดี
การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรนและขาดเหตุผลต่อเด็ก
การที่พ่อแม่หรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ
ความยากจนและการขาดที่พึ่ง
การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การบำบัดทางจิตสังคม (psychosocial therapy)
มีด้วยกันหลายวิธี ได้แก่
จิตบำบัด (psychotherapy) เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ
โดยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา รู้ถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น หาวิธีการที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
2) การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
เป็นการรักษาตามอาการที่จำเป็นต้องควบคุม เช่น การให้ยาคลายกังวล เพื่อลตความวิตกกังวล การให้ยาลดอารมณ์เศร้าในกรณีที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้าและการให้ยาต้านโรคจิตเพื่อลดอาการรุนแรง
นางสาวธารารัตน์ มีวงษ์ รหัส 180101119