Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยภาวะ Shock - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยภาวะ Shock
ความหมาย
ภาวะผิดปกติของระบบไหลเวียนทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายได้รับเลือดไม่พอเพียงเนื้อเยื่อจึงขาดออกซิเจนและอาหารและไม่เพียงพอที่จะรับของสียออกจากกระบวนการMetabolism ออกจาก
เซลล์
ช็อก (Shock)
คือ ภาวะของร่างกายที่มีการไหลเวียนเ
ลือดลดลงต่ำผิดปกติ ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์และอวัยวะเสียหายจากการขาดเลือดที่เป็นตัวนำออกซิเจนและสารอาหาร
ภาวะช็อกถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญที่สุดสาเหตุหนึ่งในผู้ป่วยหนัก
ผลของภาวะช็อกมีหลายอย่าง ทั้งหมดสัมพันธ์กับภาวะซึ่งระบบไหลเวียนโลหิตทำหน้าที่ได้ไม่เพียงพอ เช่น อาจทำให้มีออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือหัวใจหยุดเต้นได้
ช็อกแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม
Hypovolemic Shock มีสาเหตุจากการเสียเลือด สารเหลวรวมทั้งสารอิเลคโตรลัยท์ในระบบไหลเวียนเลือด
Cardiogenic Shock มีสาเหตุมาจากการทำงานของหัวใจในการสูบฉีดเลือดผิดปกติ
Vasogenic shock มีสาเหตุมาจากการขยายตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย
พยาธิสรีรวิทยาของช็อก
ระบบไหลเวียนและ Venous return ลดลงมาก(Hypovolemic shock )
หัวใจทำงานไม่เต็มที่ ( Cardiogenic shock )
Systemic vascular resistance ต่ำจากvasodilatation ซึ่งทำให้เลือดตกค้าง ( pooling)อยู่ใน microcirculation ( เช่น Septic shock )หรือใน Capacitance vessel (เช่น Neurogenic shock )
เมื่อเซลล์ในเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนพลังงานที่ได้จากกลูโคสจะลดลงมากเพราะ ปฏิกิริยาเป็นแบบ anaerobic เนื้อเยื่อยังสะสมสารจาก metabolism รวมทั้งLactic acid จนเกิด Acidosis
ระยะของช็อก
ระยะปรับตัวได้ ( Compensated shock )
ระยะที่ปรับตัวไม่สำเร็จ ( Decompensate shock )
ระยะไม่ฟื้น ( Irreverible shock)
อาการและอาการแสดงของช็อก
อาการและอาการแสดงของช็อกเป็นการแสดงออกของ Low peripheral blood flow ร่วมกับการตอบสนองของร่างกายเกี่ยวกับAdreno-sympathetic activity
หลอดเลือดบริเวณผิวหนัง ท้อง ลำไส้ ตับ ไต ปอด หดตัว เพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจพอเพียง
ผิวหนังซีด เย็น มีเหงื่อออก
ปัสสาวะน้อยลง และถ้าอาการรุนแรงขึ้นจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ผู้ป่วยจะเริ่มสับสน ระดับความรู้สึกตัวจะลดน้อยลง
หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้น
หายใจเร็วและแรงขึ้น
การรักษา
การรักษามุ่งไปที่การให้สารน้ำทดแทนปริมาตรของสารน้ำในระบบไหลเวียนโลหิตที่หายไป โดยให้ สารน้ำชนิด Balanced salt เช่น0.9%NSS หรือLRS , Acetar ตามด้วยการให้เลือด
Maintain airway และ Adequate ventilation
ชดเชยเลือดหรือน้ำและเกลือที่เสียไปอย่างรีบด่วน ปริมาณและอัตราของเลือดและน้ำเกลือที่ให้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของช็อก
ในกรณีเร่งด่วน การแก้ไขภาวะระบบไหลเวียน (ควรทำเป็นแนวทางการให้การรักษาของแต่ละโรงพยาบาล) คือ รีบให้ 0.9%NSSหรือ LRS หรือ Acetar ทางหลอดเลือดดำด้วยเข็มขนาดใหญ่ ดูดเลือดส่งตรวจและจองเลือด
การช่วยแก้ไขกรณีช็อค
จากภาวการณ์ติดเชื้อ = Septic Shock
จากการแพ้สารที่รุนแรง= Analphylactic Shock
จากระบบเส้นประสาท= Neurogenic Shock
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะShock
ภาวะความเป็นกรดที่รุนแรงในร่างกายทำให้เกิดการทำลายเซลล์ในอวัยวะต่างๆของร่างกายและผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากภาวะ
DIC (Disseminated Intravascular Coagulation) หรือภาวะที่มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นใน microcirculation ทั่วร่างกาย
ดังนั้นการดูแลรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก สิ่งสำคัญต้องแก้ไขคือภาวะHypovolemic และ Acidosis ให้ได้เร็ว