Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ, นางสาวธารารัตน์ มีวงษ์ รหัส…
บทที่ 5
การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความหมายของบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความผิดปกติทางเพศ (sexual dysfunctions) เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติที่รบกวนความสามารถ ของบุคคลในการตอบสนองทางเพศหรือการมีควมสุขทางเพศ
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria) เป็นความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจที่เกิดจาก ความไม่สอดคล้องกันของเพศที่จิตใจต้องการเป็นกับเพศกำเนิดที่เป็นอยู่
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions) เป็นความผิดปกติที่บุคคลมีจินตนาการ อารมณ์เร้าทางเพศ หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ใช่วิธีปกติที่คนทั่วไปกระทำ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (sexual dysfunctions)
1) ภาวะหลั่งช้า (delayed ejaculation)
2) ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งต้วของอวัยวะเพศชาย หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile disorder)
3) ความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดในหญิง (female orgasmic disorder)
4) ความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง ( female sexual interest/arousal disorders)
5) การเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเมื่อมีการสอดใส (genitor-pelvic pain/penetration disorder)
7) ภาวะหลั่งเร็วผิดปกติ(premature (early) ejaculation)
6) การมีความต้องการทางเพศน้อยผิดปกติในชาย (male hypoactive sexual desire disorder)
8) ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศอันเป็นผลจากการใช้ยาหรือสารเสพติด (substance/medication-induced sexual dysfunction)
9) ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศอื่นที่ไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย (other specified sexual dysfunction)
10) ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ (unspecified sexual dysfunction)
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
1) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศในเด็ก (gender dysphoria in children)
2) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ (gender dysphoria in adolescents and adult)
3) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเองที่ไม่เข้าเกณฑ์การวินิฉัย (other specified gender dysphoria)
4) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเองที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ (unspecified gender dysphoria)
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
1) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมาจากการแอบดูผู้อื่นเปลือยกายหรือมีเพศสัพันธ์ (voyeuristic disorder) โดยที่บุคคลนั้นต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
2) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้เปิดเผยอวัยวะเพศของตนให้บุคคลแปลกหน้าดู(exhibitionistic disorder)
3) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้สัมผัสและเสียดสีกับผู้อื่นโดยที่เขาไม่ยินยอม (frotteuristic disorder)
4) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้รับการดูถูกเหยียดหยาม ถูกดี ผูกมัด หรือ ได้รับความเจ็บปวดทรมานด้วยวิธีต่างๆ (sexual masochism disorder)
5) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้เห็นผู้อื่นได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน (sexual sadism disorder)
6) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้มีกิจกรรมทางเพศกับเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 13 ปี หรือน้อยกว่า) (pedophilic disorder)
8) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้แต่งตัว สวมเสื้อผ้าของเพศตรงข้าม (transvestic disorder)
บุคคลมีการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต มีอาการไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคดังกล่าวข้างต้น(other specified paraphilic disorders)
10) บุคคลมีการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต มีอาการไม่ครบตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรค (unspecified paraphilic disorders paraphilic disorder)
7) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากกับวัตถุสิ่งของ (fetishistic disorder)
สาเหตุของความผิดปกติทางเพศ
ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (sexual dysfunctions)
1) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหลั่งช้า (delayed ejaculation) ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น การมาจากครอบครัว ที่เคร่งครัดในเรื่องเพศ ความวิตกกังวล ความเกลียดชังเพศหญิง
2) ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งต้วของอวัยวะเพศชาย หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile disorder) หากมีความผิดปกติที่เป็นแบบตลอดชีวิต อาจเกิดจากการพยายามควบคุมตนเองที่มากเกินไป
3) ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดในหญิง (female orgasmic disorder) ได้แก่ พันธุกรรม, การเจ็บป่วยทางร่างกาย
4) ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง (female sexual interest/arousal disorders) ได้แก่ พันธุกรรม การเจ็บป่วยทางร่างกายและทางจิต
5) ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเมื่อมีการสอดใส (genitor-pelvic pain/penetration disorder) พบว่าอายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะหมดประจำเดือน การขาดสารหล่อลื่น
6) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีความต้องการทางเพศน้อยผิดปกติในชาย (male hypoactive sexual desire disorder) พบว่า อายุที่มากขึ้น ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า การใช้สุรา การมีปัญหาสัมพันธภาพ
7) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหลั่งเร็วผิดปกติ(premature (early) ejaculation) พบว่า ความวิตกกังวล โดยเฉพาะความวิตกกังวลในการเข้าสังคม
1 more item...
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
1) ปัจจัยทางชีวภาพ การมีระดับของฮอร์โมนของเพศตรงข้ามสูงกว่าปกติ
2) ปัจจัยทางจิตสังคม การพัฒนาเอกลักษณ์ความเป็นหญิงชายของบุคคลนั้น เป็นผลจากหลาย ปัจจัยร่วมกัน ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ครอบครัว และสังคม
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
1) ปัจจัยทางชีวภาพ แม้จะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรมทางเพศที่วิปริต แต่พบว่า ความสัมพันธ์ของความผิดปกติของฮอร์โมน androgen กับการเกิดอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศ หรือพบความผิดปกติของ สมองส่วน temporal lobe
2) ปัจจัยทางจิตสังคม แนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) อธิบายถึงความรู้สึก วิตกกังวลต่อการถูกตัดอวัยวะเพศในเด็ก (castration anxiety)
การบำบัดรักษาของบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (sexual dysfunctions)
การรักษาที่ใช้ ได้แก่ การ ทำจิตบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavior therapy: CBT) หรือการเพิ่มการกระตุ้นทางเพศ ด้วยเครื่องกระตุ้น (vibrator)
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
การรักษาผู้ใหญ่ที่เป็น gender dysphoria มีทั้งการทำจิตบำบัด (psychotherapy) เพื่อช่วยสำรวจ ประเด็นปัญหาทางสุขภาพจิตและการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งจะสามารถช่วยลดทั้ง อามณ์เศร้าให้แก่ผู้ป่วยและช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
1) การบำบัดทางชีวภาพ
ในการรักษาผู้ที่มีพฤติกรรมทางเพศที่วิปริตแบบย้ำทำ เช่น voyeuristic, exhibitionistic, frotteuristic, และ pedophilic disordersการรักษด้วยยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs เช่น fluoxetine, sertralineช่วยปรับสภาพอารมณ์และลดความพลุ่งพล่านภายในใจ
2) การบำบัดทางจิตสังคม
การบำบัดทางจิตสังคมที่ใช้บำบัดรักษาพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต มีหลายรูปแบบ ได้แก่
การทำจิตบำบัดแบบอิงการหยั่งรู้ (insight-oriented psychotherapy)
การบำบัดการปรับความคิดและพฤติกรรม (CBT)
การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
1) การประเมินสภาพ (assessment)
1) ประวัติทั่วไป เช่น โครงสร้างพื้นฐานของครอบครัว รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ค่านิยม ความคิด ความเชื่อทางศาสนา การมองชีวิตและเป้าหมายชีวิต
2) ประวัติทางเพศในอดีต เช่น การอบรมสั่งสอนเรื่องเพศจากบิดามารดา การเรียนรู้เรื่องเพศ ประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่วัยเด็กถึงปัจจุบัน
3) ประวัติด้านสัมพันธภาพ เช่น การติดต่อสื่อสาร การจัดการความขัดแย้ง การตัดสินใจ และ การแบ่งปันหน้าที่รับผิดชอบของผู้ป่วยและคู่
4) ประวัติทางเพศในปัจจุบัน เช่น เพศที่แท้จริง เพศที่ต้องการเป็น รสนิยมทางเพศ ทัศนคติและ จินตนาการทางเพศ
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
• ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (sexual dysfunctions)
จัดสิ่งแวดล้อมที่มีความป็นส่วนตัวและรักษาความลับของผู้ป่วย
การตรวจร่างกายที่ต้องมีการสัมผัสร่างกายควรแจ้งให้ผู้ป่วยได้ทราบก่อน
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
ให้คู่ของผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการเจ็บป่วย
ดูแลให้ได้รับการรักษาตามแผนการรักษา
พิจารณาส่งต่อผู้รับบริการให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป
• ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
1) เด็กที่มีปัญหา gender dysphoria
ประเมินและซักประวัติอย่างครอบคลุม
ทำความเข้าใจสาเหตุและจัดการที่ต้นเหตุ
ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครู
ส่งต่อจิตแพทย์เพื่อการรักษา
2) ผู้ใหญ่ที่มีปัญหา gender dysphoria
การให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสระบายความรู้สึก
ประเมินความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย
ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง
เสริมสร้างความรู้สึกคุณค่าในตนเอง
เสริมสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในภาพลักษณ์และรูปร่างของตน
• พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
ให้การพยาบาลโดยตระหนักในความคิด ทัศนคติ และค่านิยมของตนและไม่นำไป ตัดสินผู้ป่วย
สร้างสัมพันธภาพบนพื้นฐานของความเชื่อถือไว้วางใจ
ป้องกันการทำร้ายตนเองด้วยการประเมินการทำร้ายตนเองของผู้ป่วย
ค้นหาและแนะนำแหล่งสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้ป่วย
อธิบายให้เข้าใจถึงผลที่จะได้รับหากแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
• ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (sexual dysfunctions)
ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการหรือความผิดปกติได้
มีความรู้สึกพึงพอใจในตนเองและคู่
ความรู้สึกทุกข์ใจ วิตกกังวลใจลดลง
การปรับเปลี่ยนทัศนคติทางลบต่อเรื่องเพศมีความเป็นกลางหรือเป็นบวกมากขึ้น
• ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
2) ผู้ใหญ่ที่มีปัญหา gender dysphoria
ผู้ป่วยเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตน
ยอมรับตนเองได้
1) เด็กที่มีปัญหา gender dysphoria
เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตน
ยอมรับตนเองได้
ตัดสินใจใช้ชีวิตตามความต้องการของตนโดยไม่มีความรู้สึกขัดแย้งในใจ
• พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
การลดหรือเลิกพฤติกรรมทางเพศที่เป็นปัญหา
มีกิจกรรมทางเพศแบบปกติ
มีพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ในการตอบสนองความต้องการทางเพศทดแทนพฤติกรรมทางเพศที่เป็นปัญหา
บอกถึงแหล่งขอความช่วยเหลือในการควบคุมตนเองหากต้องการได้
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
• ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
มีความสับสนในเอกลักษณ์ทางเพศของตน
มีความรู้สึกอึดอ้ดใจที่ต้องแสดงพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับเพศที่ตนต้องการเป็น
การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบกพร่องเนื่องจากกลัวถูกปฏิเสธสัมพันธภาพ
• พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นเนื่องจากไม่สามารถควบคุมตนเองได้
ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบกพร่องเนื่องจากการแยกตนเอง
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นเนื่องจากมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศ
• ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (sexual dysfunctions)
มีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศเนื่องจากความวิตกกังวลว่าจะตั้งครรภ์
มีความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศจากการเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย
มีความบกพร่องในหน้ที่ทางเพศจากการถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็ก
นางสาวธารารัตน์ มีวงษ์ รหัส 180101119