Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจและผ่าตัดหัวใจ - Coggle…
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจและผ่าตัดหัวใจ
โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease, IHD)
หรือ โรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี(Coronary artery disease, CAD) หมายถึง โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน อาการเจ็บเค้นอก ใจสั่น เหงื่อออก เหนื่อยขณะออกแรงเป็นลมหมดสติหรือเสียชีวิตเฉียบพลัน สามารถแบ่งกลุ่มอาการทางคลินิกได้ 2 กลุ่ม คือ
ภาวะเจ็บเค้นอกคงที่ (Stable angina) หมายถึง กลุ่มอาการที่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง (chronic ischemic heart disease) อาการไม่รุนแรงระยะเวลาครั้งละ 3-5 นาทีหายโดยการพักหรืออมยาขยายเส้นเลือดหัวใจ
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome, ACS) หมายถึง อาการโรคหัวใจขาดเลือดที่เกิดขึ้นเฉียบพลันอเจ็บเค้นอกรุนแรงเฉียบพลัน หรือเจ็บขณะพัก (Rest angina) นานกว่า 20 นาที จำแนกเป็น 2 ชนิด
2.1. ST elevation acute coronary syndrome หมายถึง ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
2.2. Non ST elevation acute coronary syndrome หมายถึง ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่พบ ST segment elevation
อาการของผู้ป่วยโรคหัวใจตีบ
เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจจะมีอาการร้าวไปที่ไหล่ คอ คาง แขนซ้าย และอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 นาที ซึ่งมักเกิดขึ้นในขณะที่มีการออกแรงหรือมีอารมณ์โกรธ เครียด
หายใจลำบากเมื่อนอนราบ และจะรู้สึกสบายขึ้นถ้าได้นอนหมอสูง
รู้สึกเหนื่อยไม่มีแรง มีอาการเป็นลม หมดสติ
รู้สึกหายใจขัดไม่เต็มปอด หรือ หายใจลำบากมักจะเกิดขึ้นในขณะนอนหลับอยู่ ทำให้ต้องตื่นมานั่งหอบ
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ
Echocardiography
Transaesophageal Echocardiography : TEE
คอมพิวเตอร์64 สไลด์ ( CT 64 Slice )
Ankle Brachial Index (ABI ) ตรวจวัดแรงดันของหลอดเลือด
การตรวจสวนหัวใจเพื่อการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ
การตรวจสวนหัวใจ (CAG : Coronary angiogram) เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโดยดูการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธีการใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่แขนหรือขาเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจและทำการฉีดสีถ่ายภาพเอกซเรย์ดูหลอดเลือดหัวใจ
การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ (PCI : Percutaneous coronary intervention ) หมายถึง การใส่สายสวนหัวใจเพื่อการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบชนิดบอลลูน (Balloon) หรือขดลวด (stent) หรือหัวกรอกากเพชรผ่านทางผิวหนังเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจเพื่อรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการถ ่างขยายหรือกรอคราบไขมันที่อุดตันหลอดเลือดออก
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด
กลุ่มโรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิด
1.1 PDA ควรได้รับการผ่าตัดแม้ว่าจะไม่มีอาการ
1.2 ASD และ VSD เมื่อเลือดไหลลัดวงจรไปปอดมากกว่าการไหลเวียนปกติหรือเคยมีประวัติติดเชื้อเยื่อหุ้มหัวใจมาก่อน
1.3 มีภาวะอุดกั้นจากรอยโรค (obstructive lesion) เช่น pulmonary stenosis หรือ aortic stenosis ควรพิจารณาเป็นกรณี
1.4 มีการเคลื่อนต าแหน่งของ chambers หลอดเลือด ลิ้นหัวใจและมีอาการหัวใจวาย
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง
2.1 โรคลิ้นหัวใจ เป็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจมีทั้งชนิดตีบและรั่ว หรือทั้งสองชนิด
2.2 โรคของหลอดเลือดโคโรนารี เป็นโรคของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ อาจท าให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดปกติและตายได้
2.3 โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ เช่น มีหนองในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
2.4 โรคของเส้นเลือดเอออร์ตา เช่น หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
ชนิดของการผ่าตัดหัวใจ
การผ่าตัดหัวใจแบ ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การผ่าตัดหัวใจแบบปิด และการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
การผ่าตัดหัวใจแบบปิด (Closed heart surgery) คือ การผ่าตัดที่หลอดเลือดแดงใหญ่หรือหัวใจในขณะที่หัวใจก าลังเต้นและท าหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย
การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open heart surgery) คือ การผ่าตัดที่สามารถมองเห็นพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขหรือหมายถึงการผ่าตัดที่หลอดเลือดใหญ่หรือหัวใจในขณะที่หัวใจหยุดเต้น แล้ว หรืออาจยังเต้นอยู่แต่ได้หยุดท าการฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นการชั่วคราว