Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ Thyroid Storm - Coggle Diagram
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
Thyroid Storm
คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น
อาการแสดง
1.เหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วชีพจรเร้ว ความดันโลหิตสูงอาจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ
2.หิวบ่อย น้ำหนักลด อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นเหงื่อออก ร้อนวูบวาม มีอาการมือสั่น ท้องเสีย
3.เส้นผมบาง ผมร่วง มีการเปลี่ยนแปลงของเล็บโดยมีการแยกของเล็บออกจาก nail bed เรียกว่า Plummer's nail
4.กระสับกระส่าย ตื่นเต้น สับสน นอนไม่หลับหงุดหงิดง่าย
5.มีการเปลี่ยนแปลงทางตา เนื่องจากระบบประสาทตาซิมพาเทติกทำงานเพิ่มขึ้น คือตาดุหรือตาจ้อง ตาโปน บวม คัน เจ็บน้ำตาไหลแพ้แสง
พยาธิสภาพ
การเพิ่มระดับไทรอยด์ในร่างกาย ทำให้มีการเผาผลาญสารอาหารต่างๆในร่างกาย เช่น โปรตีน คารืโบไฮเดรต ไขมัน วิตามินเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองต่อภาวะการเผาผลาญสารอาหารต่างๆในร่างกายที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิร่างกายจึงสูงขึ้นระดับประสาทซิมพาเทติกทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ปริมาณเลือดออกจากหัวใจเพิ่มขึ้น และการไหลเวียรเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น
ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่
ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญพลังงาน หากร่างกายมีภาวะที่ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือต่ำเกินไป ก็จะส่งผลต่อระบบการเผาผลาญของร่างกายได้ รวมทั้งยังส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง หรือแม้แต่ความแข็งแรงของผิวหนัง เล็บหรือผม ก็มีผลเช่นกัน
สาเหตุ
ไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากขึ้น
ไทรอยด์อักเสบ จึงปล่อยฮอร์โมนที่เก็บไว้ออกมามาก
ได้รับฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินขนาด จากยา หรือผสมในอาหารเสริมบางชนิด
การรับประทานยาบางชนิด
ภาวะแพ้ท้องรุนแรง หรือเนื้องอกรังไข่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์มาก
เนื้องอกต่อมใต้สมอง สร้างฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ แต่พบได้น้อยมาก
การวินิจฉัยโรคไทรอยด์เป็นพิษ
การวินิจฉัยด้วยตัวเอง วิธีวินิจฉัยโรคไทรอยด์เป็นพิษด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ก็คือการสังเกตความผิดปกติของร่างกาย น้ำหนักลดผิดปกติ มือสั่น เหนื่อยง่าย หายใจสั้น หรือมีอาการบวมที่บริเวณคอ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจให้แน่ชัด
การวินิจฉัยโดยแพทย์ แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือประวัติการรักษา รวมถึงการตรวจร่างกายภายนอกเพื่อหาสัญญาณของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งสัญญาณของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ได้แก่น้ำหนักลด ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ตาโปนหากมีอาการเหล่านี้ แพทย์อาจทำการสั่งตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจ 2 วิธีคือ
การตรวจเลือด - การตรวจเลือดจะเน้นไปที่การตรวจเพื่อเช็กการทำงานของต่อมไทรอยด์ และการเผาผลาญ เช่น
ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ ปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์ T3 และ T4 ในเลือดเป็นสิ่งระบุชัดเจนได้ถึงการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่าผิดปกติหรือไม่ หากกว่าไม่ปกติก็แปลว่ามีอาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ
ตรวจวัดการทำงานของต่อมใต้สมอง (Thyroid-Stimulating Hormone: TSH) เป็นการตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนต่อมใต้สมองซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์
การตรวจวัดระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์ (Thyroidglobulin) ซึ่งจะช่วยวินิจฉัยโรคเกรฟวส์ได้
การเอกซเรย์
การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจที่จะช่วยวัดขนาดของต่อมไทรอยด์และความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์มองเห็นความผิดปกติได้
การตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Scan) เป็นการตรวจโดยใช้รังสีเพื่อให้เห็นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งจะช่วยให้เห็นว่าต่อมไทรอยด์มีการทำงานที่มากกว่าปกติหรือไม่
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบซีทีสแกน (CT Scan) หรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) ใช้ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าความผิดปกติของต่อมไทรอยด์อาจมีเนื้องอกหรือมะเร็งปน และการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองจะใช้ในกรณีทีแพทย์สงสัยว่าโรคไทรอยด์เป็นพิษอาจเกิดจากต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ
การรักษา
การรับประทานยาต้านไทรอยด์ ยาเมไทมาโซล (Methimazole: MMI) และยาโพพิลไทโออูราซิล (Propylthiouracil: PTU)
การรักษาด้วยรังสีไอโอดีน (Radioactive Iodine)
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy)
การใช้ยาต้านเบต้า (Beta Blockers)
การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โรคไทรอยด์สามารถก่อเกิดภาวะขาดน้ำได้ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะช่วยลดภาวะขนาดน้ำและทำให้อาการดีขึ้น