Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Molar Pregnancy, image, image, image, image, กรณีศึกษา หญิงไทยวัยเจริญพันธ…
Molar Pregnancy
การรักษา
- ขยายปากมดลูก แล้วใช้เครื่องดูดสูญญากาศ ก่อนทำต้องเตรียมเลือด
- Hysterotomy ในรายที่ไม่สามารถใส่เครื่องมือผ่านปากมดลูกได้โดยเปิดหน้าท้องแบบ Small caesarean section ในรายอายุมากหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว การทำชนิดนี้ปลอดภัยจากการเสียเลือดและโอกาสเกิด choriocarcinoma น้อย
- Small caesarean section แลว้ใช้เครื่องดูดสูญญากาศดูดmole ออกมา
- ติดตามหลังทำการรักษา เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะการกลายเป็น มะเร็งรังไข่ปลาอุก โดยติดตามผลอย่างน้อย 1 ปี
-
การพยาบาล
- ค้นหา/ประเมินสภาพร่างกายและรวบรวมข้อมูลเพื่อการวินจิฉยัโรค
2.การให้ข้อมูลเพื่อการเตียมพร้อมในการรับการรักษา ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ โดยเปิดโอกาสให้ครอบครัวได้เข้ามามีส่วนร่วม
- การพยาบาลก่อน และหลังขูดมดลูก
- การฟื้นฟูสภาพร่างกาย และสนับสนุนให้ได้รับข้อมูล/ความรู้
- การเว้นระยะการมีบุตร การคุมกำเนิดที่ถูกต้อง
การติดตามผลการรักษา ที่ต้องให้ความสำคัญต่อไป
อาการและอาการแสดง
- อาจมีเม็ด Mole หลุดออกมาให้เห็น และมักเกิดการแท้งเองเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
- ขนาดมดลูกโตกว่าอายุครรภ์ อย่างน้อย 4 สัปดาห์ ขนาดของมดลูกจะสัมพันธ์กับระดับของ HCG เนื่องจากสาเหตุหนึ่งทาให้มดลูกโตขึ้นเป็นผลมาจากการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นของ Trophoblasts
- มีเลือดออกจากช่อง ในช่วงอายุครรภ์9-16 สัปดาห์
- มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
-
- ถุงน้ำรังไข่ จากการมี serum β-hCG ที่ เพิ่มสูงมากกว่า 100,000 mIU/ml
- ฟัง F.H.S ไม่ได้และคลำ ส่วนต่างๆของทารกไม่ได้
- อาจมีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งอาจจะทำให้มีอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว
- ตรวจพบรกที่แท้งออกมาเป็นพวงองุ่น
- อาจพบอาการแสดงอย่างอื่นเข่น ปวดท้องน้อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น
พยาธิสภาพ
เป็นถุงน้ำใสๆ ขนาดแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1-10 มิลลิเมตร ติดกันเป็นพวงโดยมีก้านเล็ก ๆ โยงกันอยู่เต็ม โพรงมดลูก และระหว่างถุงน้ำใส ๆ นั้นเป็นช่องว่างระหว่าง villi จะเป็นน้ำเลือด
ภาวะแทรกซ้อน
-
- มดลูกทะลุ เพราะผนังจะบางมาก villi อาจฝังลึกทะลุผนังมดลูก
- ตกเลือดอาจเกิดขึ้นทันทีและรุนแรง
- กลายเป็นมะเร็ง Choriocarcinoma
การวินิจฉัย
- U/S ไม่พบ Heart Beat เห็นภาพลักษณะคล้ายปุยหิมะ (Snow Storm) ในโพรงมดลูก
- X-ray ไม่พบทารก ถ้าถ่ายภาพหลังฉีดสารทึบแสง เข้าโพรงมดลูก จะเห็นลักษณะคล้ายรวงผึ้ง (Honey comb)
- ตรวจปริมาณ β-HCG สูงเกิน 100,000 mIU/ml
-
ประเภท
-
Partial mole
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกที่มีทารกหรือส่วนของทารกเช่นสายสะดือหรือเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำร่วมกับมี hydropic villi
การติดตามผลการรักษา
- หยุดคุมกำเนิดได้หลังตรวจไม่พบ β-hCG ติดต่อกัน 6 เดือน
การติดตามระดับ β-HCG
- ตรวจทุก 1 สัปดาห์ จนปกติอย่างน้อย 3 ครั้ง
- ตรวจเดือนละครั้งจนครบ 6 เดือน
- ตรวจภายใน 48 ชั่วโมงหลังยุติการตั้งครรภ์
- ตรวจทุก 3 เดือน จนครบ 1 ปี
- แนะนำ ให้สังเกตอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- ถ้าการตรวจปัสสาวะให้ผลบวก ให้ตรวจซ้ำทุก 2 สัปดาห์ ถ้ายังคงให้ผลบวกอยู่ภายหลัง12 สัปดาห์ แสดงว่ามีการกลายเป็นมะเร็ง แพทย์จะต้องผ่าตัดเอามดลูกออก
- ไม่แนะนำให้ใช้ห่วงคุมกำเนิดเพราะมีความเสี่ยงต่อมดลูกทะลุ
- ให้คุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปีแนะนาให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเพราะช่วยกด LH ซึ่งจะไปรบกวนการตรวจหา β-hCG
-
-
-
-
กรณีศึกษา หญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ อายุ 24 ปี รูปร่างผอม ส่วนสูง 154 เซนติเมตร น้ำหนัก 43 กิโลกรัม สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ อาชีพแม่บ้าน จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต สถานภาพสมรส คู่
ตั้งครรภ์ที่ 3 (G3P2A1L2) วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย 21 พฤษภาคม 2550 ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 จำนวน 1 ครั้ง ได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักเข็มที่ 3 ไม่เกิน 5 ปี ผลการตรวจหาเชื้อซิฟิลิส (VDRL= Non reactive) และโรคเอดส์ (HIV=Negative) ผลปกติ ในการฝากครรภ์ครั้งแรกแพทย์ประเมินอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ก่อนมาพบแพทย์ 2 วัน ไปตรวจที่สถานีอนามัยตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่าตั้งครรภ์และมีเลือดออกทางช่องคลอดจำนวนมาก จึงมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น แพทย์ตรวจยอดมดลูกสูง 1/3 เหนือระดับรอยต่อกระดูกหัวหน่าว และตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) พบลักษณะผิดปกติภายในครรภ์ไม่มีทารก แต่พบเงาเป็นวงกลมซ้อนกันเหมือนรังผึ้ง (Honey comb appearance) แพทย์วินิจฉัยเป็นการตั้งครรภ์ ไข่ปลาอุก และวางแผนการรักษาโดยการทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการดูดเอารกออกและขูดมดลูก (Suction and curettage) หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล วันที่ 30 สิงหาคม 2550 ตรวจ Serum HCG titre ผลเท่ากับ 366,091 mIU/ml และรับการรักษาโดยการดูดเอารกออกและขูดมดลูก (Suction and curettage) ในวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ได้เม็ดก้อนเนื้อ (Mole) ปริมาณ 200 ซีซี หลังการรักษาอาการทั่วไปปกติ มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย ปวดท้องน้อยพอควร พักรักษาในโรงพยาบาลต่ออีก 2 วัน แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน ในวันที่ 2 กันยายน 2550 ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน อาการทั่วไปปกติ ไม่ปวดท้องน้อย มีเลือดออกทางช่องคลอดซึมๆ ติดผ้าอนามัยเล็กน้อย สีหน้าสดชื่น ยอมรับการสูญเสียบุตรได้ ปฏิเสธการทำหมันเนื่องจาก ยังต้องการมีบุตร นัดตรวจติดตามหลังการรักษาและฟังผลชิ้นเนื้อ 1 สัปดาห์ หญิงตั้งครรภ์ มาตรวจตามนัดตรวจภายในผลปกติ ฟังผลชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ผลการตรวจพบ เม็ดก้อนเนื้อมีการแบ่งตัวผิดปกติและมีการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก แพทย์แนะนำคุมกำเนิดอย่างน้อย 1-2 ปีและจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด ตรวจเลือดหา ß – HCG ผลการตรวจเท่ากับ 0.171 mIU/ml นัดตรวจ ß – HCG ทุกสัปดาห์รวม 12 สัปดาห์หลังการรักษา ผลการตรวจเลือดหา ß – HCG มีแนวโน้มลดลงอย่างสม่ำเสมอจนอยู่ในระดับปกติต่อเนื่อง 5 สัปดาห์