Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์ - Coggle Diagram
เทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์
1.องค์ประกอบของความคิดเชิงสร้างสรรค์
1.1.11 เรียนรู้จากประสบการณ์ความล้มเหลว 1.1.12 รับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
1.1.9 บากบั่นอุตสาหะ 1.1.10 อดทนต่อปัญหาที่มองไม่เห็นคำตอบ
1.1.7 สนใจสิ่งที่สลับซับซ้อน 1.1.8 ยินดีทำงานหนัก
1.1.5 มีทัศนคติเชิงบวกต่อสถานการณ์ 1.1.6 มีแรงจูงใจสูงที่จะทำให้สำเร็จ
1.1.3 มีความเชื่อมั่นและเป็นตัวของตัวเอง 1.1.4 กล้าเผชิญความเสี่ยง
1.1.1 เป็นคนเปิดกว้างในการรับประสบการณ์ใหม่ ๆ 1.1.2 มีอิสระในการคิดและตัดสินใจ
1.1 ด้านทัศนคติ (attitude) และบุคลิกภาพ (personality) 12 ประการ ดังนี้
1.2 ด้านสติปัญญา 4 ประการ
1.2.1 ความสามารถในการกำหนดขอบเขตของปัญหา
สามารถให้นิยามหรือกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ต้องการแก้ไขได้อย่างชัดเจน
1.2.2 ความสามารถในการใช้จินตนาการ
เพราะการวาดภาพจากจินตนาการช่วยทำให้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น
1.2.3 ความสามารถในการคัดเลือกอย่างมียุทธศาสตร์ เช่น คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
มุ่งมั่นสู่หนทางการแก้ปัญหาที่มีศักยภาพ ทิ้งทางเลือกที่ไม่เกี่ยวข้อง รู้ว่าเวลาใดจะต้องใช้การคิดแบบใด
1.2.4 ความสามารถในการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อค้นพบว่ามีแนวคิดที่เป็นไปได้มากมาย
1.3 ด้านความรู้ คนมีความรู้มักจะคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่า เพราะความรู้ทำให้เข้าใจธรรมชาติของปัญหาได้ดีกว่า
ทำให้คิดงานที่มีคุณภาพเพราะมีรากฐานของความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นรองรับ
ทำให้รู้จักสังเกตและเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาเป็นต้นกำเนิดของความคิด ในทางตรงข้าม
ความรู้อาจเป็นตัวขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วย
1.4 ด้านรูปแบบการคิด
รูปแบบการคิดของคนบางคนช่วยส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในขณะที่รูปแบบการคิดของบางคนขัดขวางการคิดสร้า
งสรรค์ ลักษณะการคิดที่เหมาะสมต่อการคิดสร้างสรรค์ เช่น ความสมดุลระหว่างการคิดแบบมองมุมกว้าง คือ
คิดในระดับทั่วไปของปัญหา กับ การคิดแบบมองมุมแคบ คือ คิดแบบลงในรายละเอียดของปัญหา
ซึ่งการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์มักจะต้องคิดในมุมกว้างก่อนแล้วจึงพิจารณาในรายละเอียดปลีกย่อย
1.5 ด้านแรงจูงใจ แรงจูงใจที่กระตุ้นจากภายในมีประโยชน์ต่อความคิดสร้างสรรค์
เพราะทำให้รู้สึกสนุกกับงานและรู้สึกว่างานมีความน่าสนใจ เช่น ความต้องการประสบความสำเร็จ ความต้องการสิ่งใหม่ ๆ
ความต้องการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น ส่วนแรงกระตุ้นจากภายนอก คือ
การที่สิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นผู้ยื่นเสนอรางวัล เช่น เงิน การได้รับการยกย่อง และอำนาจ
นักวิชาการเชื่อว่าคนที่ถูกกระตุ้นจากภายนอกจะมีความคิดสร้างสรรค์ต่ำกว่าคนที่มีแรงกระตุ้นจากภายใน
1.6 ด้านสภาพแวดล้อม
บรรยากาศในสังคมที่ไม่มีการสร้างกรอบมาตรฐานเพื่อบีบรัดย่อมส่งเสริมให้สังคมมีความคิดสร้างสรรค์
ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้คนในสังคมขาดความคิดสร้างสรรค์ เช่น
สังคมที่มีลักษณะเผด็จการทำให้คนในสังคมไม่กล้าคิดนอกกรอบ
สังคมที่ยึดมั่นในการดำเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด สังคมที่ไม่ยอมรับความคิดที่คน ๆ
หนึ่งได้สร้างสรรค์ขึ้น และสังคมที่ไม่มีการสอนทักษะการคิดสร้างสรรค์ เช่น การเรียนการสอนที่เน้นการท่องจำ เป็นต้น
ขั้นตอนและเทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์
2.1 การระดมสมอง (brainstorming) เพื่อหาความคิดใหม่ที่หลากหลาย เมื่อมีปัญหาที่ต้องการคำตอบ
การใช้วิธีการเดิม ๆ หรือการคิดเพียงคนเดียวอาจไม่ทำให้พบคำตอบที่ดีที่สุด
จึงควรใช้วิธีการระดมสมองเพื่อจะได้ความคิดที่หลากหลายซึ่งจะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพมาก
เพราะเมื่อมีความคิดจากคน ๆ หนึ่งขึ้นมาจะไปกระตุ้นคนอื่น ๆ ให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมาด้วย
ขั้นที่ 1 ตั้งผู้ดำเนินการหรือผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ทำหน้าที่ประสานงาน
กระตุ้นให้เกิดการออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกันหากมีผู้ที่นั่งเงียบหรือบางคนผูกขาดพูดอยู่คนเดียว
ช่วยไกล่เกลี่ยหากมีผู้ที่โต้แย้งกัน เป็นต้น
ขั้นที่ 2 กำหนดหัวข้อในการระดมความคิด หัวข้อในการระดมสมองควรเป็นหัวข้อที่เจาะจง
ไม่กว้างจนเกินไปเพราะเมื่อจบการระดมสมองอาจจะไม่ได้ข้อสรุปที่นำไปดำเนินการต่อได้ ตัวอย่างหัวข้อเช่น
“ปัญหาที่มักพบในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์”
ขั้นที่ 3 ระดมความคิด เพื่อให้ได้ความคิดมามากที่สุด โดยมีกฎว่าต้องจดทุกความคิดโดยไม่มีการประเมินใด ๆทั้งสิ้น
เพราะทุกคนต้องได้รับอิสระในการแสดงความคิดเห็น ในขั้นนี้อาจจะต้องกำหนดเป้าหมายในการระดมความคิด เช่น
กำหนดจำนวนความคิดที่ต้องการ หรือกำหนดเวลาในแต่ละรอบของการแสดงความเห็น เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้จดความคิดมีหลายเครื่องมือ เช่น ใช้ ผังมโนทัศน์ ผังก้างปลา
หรือให้เขียนความคิดลงในกระดาษแล้วนำติดไว้ตามหมวดหมู่ความคิด
ขั้นที่ 4 สรุปผลการระดมสมอง สรุปออกมาเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ความคิดที่ดีพร้อมไปดำเนินการได้
ความคิดดีรอการพิจารณา และความคิดที่ต้องพิจารณา
โดยสมาชิกคนใดคนหนึ่งจะเป็นคนจดโน้ตพร้อมทั้งส่งบันทึกให้กับผู้ที่ร่วมระดมสมอง ในการระดมสมองนั้น
ส่วนใหญ่เราจะไม่ทิ้งความคิดใดคิดหนึ่ง เพราะในเวลานั้นความคิดที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ หรือเพ้อฝัน
2.2 ทำของเก่าให้เป็นของใหม่ด้วยแผ่นตรวจสอบของออสบอร์น (Osborn’s checklist)
เป็นแผ่นที่มีแนวทางกระตุ้นคิดในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางใหม่ ๆ ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ประกอบด้วย 9 คำถาม ได้แก่
2.2.1 นำไปใช้ทำอย่างอื่น (put to other uses) ได้อีกหรือไม่ เช่น ใช้ทำอะไรได้อีก
ถ้านำไปดัดแปลงแล้วจะนำไปทำอะไรได้บ้าง
2.2.2 นำอย่างอื่นมาดัดแปลง (adapt) ใช้แทนได้หรือไม่ เช่น มีอะไรที่เหมือนสิ่งนี้อีกหรือไม่
มีอะไรบ้างที่สามารถลอกเลียนได้
2.2.3 ปรับเปลี่ยน (modify) ได้หรือไม่ เช่น เปลี่ยนรูปร่าง เปลี่ยนสี เติมกลิ่น เคลื่อนไหวแบบอื่น
2.2.4 เพิ่มหรือขยาย (magnify) ได้หรือไม่ เช่น เพิ่มส่วนประกอบให้มากขึ้น เพิ่มเวลาให้นานขึ้น ทำให้ใหญ่ขึ้น
ทำให้มีค่ามากขึ้น
2.2.5 ลดหรือหด (minify) ได้หรือไม่เช่น ย่อส่วนลง ลดราคาให้ถูกลง ทำให้ขนาดเล็กลง ทำให้ช้าลง
2.2.6 ทดแทน (substitute) ได้หรือไม่เช่น ใครจะมาแทนได้อีก จะใช้อะไรแทนได้บ้าง
2.2.7 จัดใหม่ (rearrange) ได้หรือไม่ เช่น จัดองค์ประกอบใหม่ จัดเรียงใหม่ เปลี่ยนสถานที่ใหม่
2.2.8 สลับ (reverse) ได้หรือไม่ เช่น กลับด้าน เปลี่ยนขั้ว สลับบทบาท ย้อนกลับ
2.2.9 ผสมรวม (combine) ได้หรือไม่ เช่น รวมกับผลิตภัณฑ์อื่น รวมวัตถุประสงค์ รวมแผนก รวมแนวคิด
2.3 ขยายขอบเขตปัญหาจากรูปธรรมสู่นามธรรม แล้วค่อยคิด ดังที่กล่าวแล้วในข้อ 1.3 ว่า
ความรู้ที่มีอยู่ในตัวเราอาจจำกัดความคิดเราไม่ให้แหวกแนวออกไป
นักคิดเชิงสร้างสรรค์จึงไม่คิดในเรื่องที่กำลังคิดอยู่แต่คิดในความเป็นนามธรรมของเรื่องนั้นที่มีอยู่ในสิ่งทั้งปวง คือ
พยายามถอดกรอบโครงสร้างความคิดที่จำกัดไปสู่การจินตนาการนอกขอบเขตของเรื่องนั้นอย่างอิสระเพื่อจะได้ความคิดใหม่ ๆ
มีหลักฐานจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า นิยามที่เป็นนามธรรมของปัญหาสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ
ได้มากกว่านิยามที่เฉพาะสำหรับสิ่งนั้น
2.4 ปรับสภาพแวดล้อมและเวลาให้เหมาะสมสำหรับการคิดสภาพแวดล้อมมีผลต่อการคิด ลองสำรวจตัวเองว่า
เราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อม อยู่ในบรรยากาศเช่นไร เช่น เมื่ออยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบ
ๆเมื่อได้มองคนเดินไปเดินมา เมื่ออยู่ในที่โล่งเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติ ฯลฯ เรื่องของเวลาก็มีความสำคัญต่อการคิด
จึงควรสำรวจตัวเองว่า เวลาใดความคิดจะโลดแล่นได้ดีที่สุด เช่น ช่วงเช้า ตอนกลางคืน หลังจากตื่นนอน ขณะอาบน้ำ ฯลฯ
เพื่อให้รู้จักตัวเองมากขึ้นนำไปใช้ได้ในการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.3 ขยายขอบเขตปัญหาจากรูปธรรมสู่นามธรรม แล้วค่อยคิด ดังที่กล่าวแล้วในข้อ 1.3 ว่า
ความรู้ที่มีอยู่ในตัวเราอาจจำกัดความคิดเราไม่ให้แหวกแนวออกไป
นักคิดเชิงสร้างสรรค์จึงไม่คิดในเรื่องที่กำลังคิดอยู่แต่คิดในความเป็นนามธรรมของเรื่องนั้นที่มีอยู่ในสิ่งทั้งปวง คือ
พยายามถอดกรอบโครงสร้างความคิดที่จำกัดไปสู่การจินตนาการนอกขอบเขตของเรื่องนั้นอย่างอิสระเพื่อจะได้ความคิดใหม่ ๆ
มีหลักฐานจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า นิยามที่เป็นนามธรรมของปัญหาสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ
ได้มากกว่านิยามที่เฉพาะสำหรับสิ่งนั้น
2.4 ปรับสภาพแวดล้อมและเวลาให้เหมาะสมสำหรับการคิดสภาพแวดล้อมมีผลต่อการคิด ลองสำรวจตัวเองว่า
เราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อม อยู่ในบรรยากาศเช่นไร เช่น เมื่ออยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบ
ๆเมื่อได้มองคนเดินไปเดินมา เมื่ออยู่ในที่โล่งเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติ ฯลฯ เรื่องของเวลาก็มีความสำคัญต่อการคิด
จึงควรสำรวจตัวเองว่า เวลาใดความคิดจะโลดแล่นได้ดีที่สุด เช่น ช่วงเช้า ตอนกลางคืน หลังจากตื่นนอน ขณะอาบน้ำ ฯลฯ
เพื่อให้รู้จักตัวเองมากขึ้นนำไปใช้ได้ในการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.5 กลับสิ่งที่จะคิด แล้วลองคิดในมุมกลับ
การคิดในมุมกลับเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มองมุมอีกมุมหนึ่งที่เราไม่เคยคิดที่จะมองมาก่อน
การคิดแบบกลับด้านจะทำให้ไม่ยึดติดกับรูปแบบการคิดเดิมๆ ที่เคยชิน เป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ๆ
ที่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้มาก่อน
2.6 จับคู่ตรงข้าม เพื่อหักมุมสู่สิ่งใหม่ เป็นวิธีการหาสิ่งที่อยู่ตรงข้าม ในลักษณะขัดแย้ง (conflict)
เพื่อก่อให้เกิดการหักมุมความคาดหวังที่คนทั่วๆ ไปไม่คิดว่าจะเป็น กลายเป็นสิ่งสร้างสรรค์ใหม่ เช่น มิตร-ศัตรู ยาจก-เศรษฐี
โชคดี-โชคร้าย การคิดลักษณะนี้นิยมใช้ในการสร้างงานเขียน ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์ตลก การ์ตูนล้อการเมือง เป็นต้น
2.7 คิดแหวกวงความน่าจะเป็น ย้อนกลับมาหาความเป็นไปได้
เป็นการเชื่อมโยงถึงความเป็นไปได้โดยแสวงหาแนวคิดใหม่ จากการคิดนอกกรอบของตรรกศาสตร์ที่มีตัวเลือกว่าถูก-ผิด ใช่-
ไม่ใช่ แต่พยายามหาคำตอบที่แหวกกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้มากที่สุด
แล้วจากนั้นพยายามดัดแปลงความคิดนั้นให้ทำได้จริงในทางปฏิบัติ
2.8 หาสิ่งไม่เชื่อมโยง เป็นตัวเขี่ยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการค้นพบสิ่งใหม่
เพื่อตอบปัญหาที่คิดอยู่ให้เห็นทางออกของปัญหาที่สร้างสรรค์ และปฏิบัติได้จริง โดยตัวเขี่ยความคิด หาได้จากเปิดหนังสือ
และเปิดพจนานุกรม
2.9 ใช้เทคนิคการสังเคราะห์ส่วนประกอบ (morphological synthesis)
ทำได้โดยการเขียนรายการของแนวคิดที่เกี่ยวกับลักษณะหรือแง่มุมหนึ่งของสิ่งที่ต้องการตอบออกมาเขียนเรียงไว้แกนหนึ่ง
(เช่น เรียงในแนวตั้ง)
แล้วเขียนรายการของแนวคิดที่เกี่ยวกับอีกลักษณะหนึ่งหรืออีกแง่มุมหนึ่งของสิ่งที่ต้องการตอบแล้วเขียนเรียงไว้อีกแกนหนึ่ง
(เช่น เรียงในแนวนอน) ผลที่ได้คือ ช่วงตัด (matrix) ระหว่างรายการของแนวคิดทั้งสอง
2.10 ใช้การเปรียบเทียบ เพื่อกระตุ้นมุมมองใหม่ ๆ
เทคนิคนี้ได้รับความนิยมในวงการอุตสาหกรรมและองค์กรที่ต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
วิธีการรวมกันขององค์ประกอบที่แตกต่างและไม่เกี่ยวข้องกันในลักษณะของการเทียบเคียง หรืออุปมาอุปไมย
เนื่องจากปัญหาที่ไม่คุ้นเคยจะถูกทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเมื่อเทียบเคียงกับสิ่งที่คนทั่วไปคุ้นเคย เพราะทำให้เห็นภาพชัดขึ้น
ในทางตรงกันข้าม ปัญหาที่คุ้นเคยมากเกินไป จนกลายเป็นอุปสรรคทำให้เราไม่สามารถคิดอะไรใหม่ๆ ได้