Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้สูงอายุ, นางสาวชลนิภา กัมทอง รหัสนักศึกษา…
การสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้สูงอายุ
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ทฤษฎีความสามารถของตนเอง ความสามารถของตัวเองเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจ ความสามารถของตนเองเป็นความเชื่อในความสามารถของตนเอง ซึ่งเกิดจากความสามารถทระหว่างบุคคลเกิดความมั่นใจในความสามารถของตนเอง
ทฤษฎีการสร้างเสริมพลังอำนาจ เชื่อว่าบุคคลมีพลังภายในตนเอง สามารถวิเคราะห์ปัญหา เลือกวิธีแก้ปัญหาสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของตนเองได้ การสร้างเสริมพลังอำนาจในผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้สูงอายุได้
ทฤษฎีบทบาททางสังคม อายุเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดบทบาทของบุคคล ซึ่งบทบาทนี้จะส่งผลในการยอมรับทางสังคมที่จะเปลี่ยนแปลงตามอายุ โดยจะเป็นผู้ให้และผู้รับทางสังคม
แนวคิดพฤฒพลัง คือ กระบวนการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ การมีส่วนร่วมและการมีหลักประกันเพื่อส่งเสริมสุขภาพชีวิตเมื่อสูงอายุ ประกอบ3 ประการ
สุขภาพ
การมีส่วนร่วม
หลักประกันความมั่นคง กล่าวคือ ผู้สูงอายุมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพ
บทบาทพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
สอนและให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงส่วนร่วมและปัจจัย ด้านความเชื่อ วัฒนธรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุตระหนักและให้ความสำคัญกับพฤติกรรมสุขภาพ
สร้างคุณค่าและแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุ ให้เกิดความตะหนัก มีความมั่นใจ สามารถ เรียนรู้ และพัฒนาทักษะจากการสังเกตุ
ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสำรวจความต้องการ ความรู้สึก ปัญหาสุขภาพ แสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา และพัฒนาทักษะการปฎิบัติสุขภาพที่เหมาะสม
ประสานความร่วมมือระหว่างทีมสุขภาพกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ศูนย์บริการผู้สูงอายุในชุมชน กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้ทักษะการสื่อสารให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนกับผู้สูงอายุ และประสานกับหน่วยงานดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหา
สร้างสัมพันธภาพ ที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกปลอดภัยและอิสระ กำหนดการสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเอง
ประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยการประเมินสุขภาพด้านร่างกาย เช่น ประวัติการรักษาและการรับประทานยา การมองเห็น ได้ยิน ประเมินสุขภาพด้านจิต และประเมินความสามารถในการกิจวัตรประจำวัน
กลวิธีการสร้านเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
กลวิธีสร้างแรงจูงใจร่วมกับการพัฒนาทักษะ การสอนสุขศึกษาเป็นกระบวนการเชิงองค์รวมมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและปรับปรุง พฤติกรรมสุขภาพที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี ในการสอพยาบาลต้องมีทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหาด้วยรวบรวมและตีความข้อมูลการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถตนเอง การสร้างเสริมพลังอำนาจ
กลวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
การสร้างเสริมพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร
ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานลดลง เนื่องจากปริมาณกล้ามเนื้อลดลง อัตราการเผาผลาญน้อยลง ปริมาณพลังงานประมาณ 1400-1800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ควรลดพวกไขมันแลพอคาร์โบไฮเดรต แต่ควรทานพวกธาตุเหล็กและแคลเซียมให้มาก และดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
การสร้างเสริมศักยภาพในการจัดการกับความเครียด
ผู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวและจัดการกับความเครียดได้ การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับความเครียดจะช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้
การสร้างเสริมพฤติกรรมออกกำลังกาย
กิจกรรมเคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย จิตใจ และลดภาวะทุพพลภาพของผู้สูงอายุ
ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความชราที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ระบบผิวหนังของผู้สูงอายุอายุมีลักษณะแห้ง คันและแตกง่าย เพราะต่อมไขมันทำงานน้อยลง กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ความแรงในการหดตัวและขนาด ของกล้ามเนื้อลดลง จึงทำให้หกล้มได้ง่าย ระบบหายใจและหลอดเลือด อัตราการเต้นของหัวใจและการเต้นของหัวใจจะสูง ระบบทางเดินหายใจ มีการเปลี่ยนแปลงทำให้ผู้สูงอายุหายใจลำบากขณะพัก ระบบทางเดินอาหาร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ฟันจะผุ และหักง่าย จึงทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก ระบบภูมิคุ้มกัน ผู้สูงอายุจะพบว่ามีการติดเชื้อง่าย เพราะภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ นอกจากจะขึ้นกับความชราและปัญหาสุขภาพ ยังมีปัจจัยด้านสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสังคม ละความเครียด
ได้พูดคุย การจัดตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุในชุมชนจึงสำคัญเหมือนกัน
พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ
พฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกายลดลง การวิจัยพบว่าบุคลากรที่มีอายุมากมีแนวโน้มจะออกลดลง จึงทำให้ไม่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเสื่อม และพฤติกรรมบริโภคอาหารไม่เหมาะสม การบริโภคของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะบริโภคไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง รสเค็ม จึงทำให้เป็นโรคอ้วนและโรคต่างๆตามมา และพฤติกรรมกาาจัดความเครียดไม่เหมาะสม จึงทำให้เกิดโรคซึมเศร้า
ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุปัญหาการเดินและการทรงตัว การสูญเสียการทรงตัวและเดิน มักเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มง่าย จึงทำให้ผู้สูงอายุกังวล แยกตัวจากสังคม สาเหตุการสูญเสียการเดินและทรงตัว ได้แก่ การปวดเข่า ปัญหาการมองภาวะการขาดสารอาหาร ภาวะนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพโดยร่วม โดยเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เกิดโรคต่างๆ ถาวะการขาดสารอาหารของผู้สูงอายุ เช่น ปัญหาหกล้มง่าย ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นภาวะของประชากรผู้สูงอายุ พบว่าระกับคอเลสเตอรอลร่วม มีแนวโน้มสูง ผลกระทบคือภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เราควรป้องกันด้วยอย่าวางสิ่งของข้างทาง เพื่อให้ผู้สูงอายุ เดินได้สะดวก
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
ปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุส่วนจะมีโรคประจำตัวที่เป็นกลุ่มโรคเรื้อรัง การรักษาต้องใช้เวลานาน การออกจากงาน เป็นผลให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึก สูญเสียทางสังคมรู้สึกหมดความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงทางครอบครัวและสังคม สังคมครอบครัวอาจจะเปลี่ยนแปลงเป็นครอบครัวเดี่ยว หรือบางครอบครัวมีความแยกครอบครัวของบุตร ผู้สูงอายุอาจจะไม่อยากย้ายไปอยู่กับบุตร อยากอยู่ที่คุ้นเคย จึงทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงา และโดดเดี่ยว การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จึงทำให้ผู้สูงอายุต้องดูแลหลานอยู่บ้าน เพราะบุตรต้องไปทำงาน และผู้สูงอายุอายุอาจจะน้อยใจ หรือหมดหวัง
นางสาวชลนิภา กัมทอง
รหัสนักศึกษา 634N46207