Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติที่สัมพันธ์กับการมีระดู Menstrual cycle…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติที่สัมพันธ์กับการมีระดู Menstrual cycle disorders
Endometriosis:ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
สาเหตุ
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ปัจจัยเสี่ยง
สตรีที่มีระดูครั้งแรกเมื่ออายุน้อย มีช่วงรอบระดูสั้น มีเลือดระดูออกมากและนาน
พันธุกรรม สตรีที่มีมารดาหรือพี่น้องเป็นโรคนี้มีโอกาสเกิดโรคได้มากกว่าปกติ 7 เท่า
พยาธิสภาพที่ขัดขวางการไหลของเลือดระดู เช่น imperforate hymen หรือปากมดลูกตีบ เลือดระดูจึงไหลย้อนเข้าไปในช่องท้องมากขึ้น และไม่สามารถกำจัดออกได้ตามปกติ
สตรีที่มีบุตรน้อยหรือไม่มีบุตรจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้เพิ่มขึ้น
5.รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเป็นประจำ การดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟมาก ๆ เพิ่มความเสี่ยง
พยาธิสภาพของโรค
เเม้ว่าโรคนี้จะเป็นที่รู้จักมานาน เเต่กลไกการเกิดโรคที่เเท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด โดยมีทฤษฎีที่มีการอ้างอิงมากที่สุด คือ ทฤษฎีของ Sampson กล่าวคือ อาจเกิดจากการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือนไปตามท่อน้ำไข่เข้าไปฝังตัวอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น รังไข่ ท่อน้ำไข่กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆที่ยึดมดลูกไว้
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
-อาการปวดท้อง แน่นท้องน้อย
-ประจำเดือนผิดปกติหรือมีเลือดออก กระปริบประปรอย
-ถ่ายปัสสาวะลำบาก หรือปวดเวลาถ่ายปัสสาวะเวลาถ่ายอุจจาระ ปวดขณะร่วมเพศ
-ลักษณะก้อน
การตรวจร่างกาย
พบก้อนตุ่มๆ (nodularity) และเจ็บบริเวณ uterosacal ligaments หรือใน cul-de-sac มดลูกคว่ำหลังและติดแน่นใน cul-de-sac ร่วมกับก้อนรังไข่โตและกดเจ็บ พบ endometriotic spots หรือ nodules ในช่องคลอด โดยเฉพาะที่บริเวณ posterior fornix พบ endometriotic spots หรือ nodules ในช่องคลอด โดยเฉพาะที่บริเวณ posterior fornix
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-การตรวจ complete blood count , Hct ,Coagulation,profile,bleeding time
-การตรวจระดับไกลโคเจนในกระแสเลือด (Carbohydrate antigen 125 หรือ CA-125)
-การตรวจ urine culture
การตรวจพิเศษ
1.การตรวจด้วยคลื้นความถี่สูง(Ultrasonography)
ในรายที่เป็น endometrioma นิยมใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด(Transvagina sonography:TVS) วิธีนี้มีประโยชน์มากในการตรวจวินิจฉัยและการรักษา และยังช่วยแยกพยาธิสภาพอื่นๆ ที่อาจพบในอุ้งเชิงกรานได้
2.การตรวจด้วยการส่องกล้องทางหน้าท้อง (Diagnosticlaparoscopy)
เป็นการตรวจที่ช่วยในการวินิฉัยโรคและยังสามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาได้อีกด้วย การตรวจวิธีนี้มีความแม่นยำและสามารถรักษา endometriosis ได้ทุกระดับความรุนแรง นิยมทำในรายที่มีอาการปวดระดูรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ตอบสนองต่อยาที่ใช้ในการรักษาหรือผู้ปวยที่ปวดท้องเรื้อรังนานกว่า 6 เดือน รวมทั้งผู้ป่วยที่มีภาวะมีบุตรยาก
การรักษา
1.การเฝ้าสังเกตอาการ เพื่อเป็นการติดตามดูอาการและการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูก เจริญผิดที่
2.การักษาด้วยยา เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนจากรังไข่
เช่นเดียวกับเยื่อโพรงมดลูกปกติ การักษาชนิดนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของโรค โดยมิได้เป็นการกำจัดโรคออกไปทั้งหมด ยาที่นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่
2.1 Progestogens โดยการใช้สาร progestogeทs ขนาดสูง เซ่น Depo medroxy-progesterone acetate (DMPA) เพื่อยับยั้งกรหลั่งของ FSH และ LH จากต่อมใต้สมองทำให้รังไข่ หยุดทำงานชั่วคราว จากการออกฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยตรง จนทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อไปในที่สุด
2.2 Danazol มีคุณสมบัติยับยั้งการหลั่ง gonadotropin releasing hormone (GRH)
ออกฤทธิ์โดยตรงที่androgen และ progesterone receptors
3.การรักษาด้วยการผ่าตัด electrocautery หรือ Lazer vaporization
เพื่อทำลายเนื้อเยื่อที่มีพยาธิสภาพหรือตัดเฉพาะส่วนที่ผิดปกติออก
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดท้อง
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
ประเมิน pain score
Pain score = 1-3 ปวดเล็กน้อย การพยาบาลโดยเบี่ยงเบนความสนใจ
Pain score = 4-6 ปวดปานกลาง การพยาบาลโดยการให้ยากลุ่ม NSAID
Pain score =7-9 ปวดมาก การพยาบาลโดยให้ยากลุ่ม opioids
3.จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบายกล้ามเนื้อหน้าท้องคลายตัว คือ นอนหงายราบใช้หมอนรองใต้เข่าหรือนอนศีรษะสูง
เข่างอเล็กน้อยเพื่อลดอาการปวด
4.แนะนำให้ผู้ป่วยลดการเคลื่อนไหวเพื่อลดอาการปวด
5.เเนะนำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หนัก เช่น การยกของหนัก เพื่อลดอาการปวด
6.พบเเพทย์ตามนัดทุกครั้ง
2มีโอกาสเกิดภาวะเลือดจางเนื่องจากสูญเสียเลือด
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
2.สังเกตและบันทึกปริมาณลือดที่ออก โดยเฉพาะเลือดออกภายใน
3.ดูแลช่วยเหลือขณะขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ สังเกตและบันทึก ลักษณะ สี และจำนวนของปัสสาวะและอุจจาระ หากมีอาการผิดปกติรายงานแพทย์เพื่อพิจรณา
4.ดูแลให้รับประทานวิตามินตามแผนการรักษา รับประทานอาหารที่มีโปรตีน เหล็ก และโฟลิกสูง คือ เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
5.แนะนำให้ผู้ป่วยงดการมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 4-6 สัปดาห์
6.ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตน
1 สร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร อธิบายเหตุผลก่อนปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วยทุกครั้ง
2 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพและการหายใจอย่างถูกวิธี การประคองแผลผ่าตัดขณะไอ การเปลี่ยนท่า การบริหารขาและเท้า การปฏิบัติตนหลังผ่าตัดในเรื่องอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย ความสำคัญของการมาตรวจอย่างสม่ำเสมอ การสังเกตการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อน
3 ให้โอกาสระบายความรู้สึกและชักถามข้อสงสัยอย่างเต็มที่และชัดเจน กระตุ้นให้แลกเปลี่ยนความรู้สึกกับคู่ครอง และเข้ากลุ่มพูดคุยกับผู้ป่วยโรคเดียวกัน
4 ให้ความรู้กับครอบครัวเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ผลของการผ่าตัด
ให้ครอบครัวแสดงความเข้าใจ ให้กำลังใจและประคับประคองจิตใจผู้ป่วย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งประโยชน์ทางด้านสุขภาพ
DUB:Dyfunction urine bleeding
ภาวะที่มีเลือดออกจากโพรงมดลูก
สาเหตุ
P:ติ่งเนื้อยื่นออกมา
A:ปวดประจำเดือนกับประจำเดือนมามาก
L:เนื้องอกมดลูกที่ไม่ค่อยมีอาการ
M:พบน้อยแต่สำคัญ
C:การแข็งตัวของเลือดผิดปกติพบHMB
O:พบเริ่มและใกล้หมดประจำเดือน มีอาการประจำเดือนขาด มาน้อยไม่สม่ำเสอม มามากจนซีด
E:วินิจฉัยเมื่อไม่สงสัยภาวะอื่นโดยจะไม่คำนึงถึงผู้ที่มีประจำเดือนมามาก (HMB)
I:เกิดจากการใช้ยา,การทำหัตถการ
N:ไม่สามารถจัดกลุ่มได้
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
ระยะห่างของรอบเดือน ปริมาณ จำนวนวันที่มีรอบเดือน
อาการก่อนมีรอบเดือน จุดเริ่มต้นที่มีรอบเดือนผิดปกติ โรคประจำตัว และการใช้ยาต่างๆ
การตรวจ
การตรวจร่างกาย
การไม่ตกไข่ เช่น ขนดก สิว ผิวมัน น้ำนมไหลผิดปกติ ตรวจดูขนาด,ลักษณะของมดลูก และโรคทางระบบอื่นๆ เช่นโรคประจำตัว และการใช้ยาต่างๆ
การตรวจทางห้องปฏิบัติ
Liver and Renal function
Pregnancy test เพื่อแยกสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของการตั้งครรภ์ออกไป
CBC เพื่อประเมินภาวะซีด ปริมาณเกล็ดเลือด
Serum progesteroneบอกได้ว่ามีการตกไข่เกิดขึ้นในกรณีที่ระดับ>3 mg/ml
TSH เพื่อนตรวจดูค่าผิดปกติของต่อมไทรอยด์
การส่องกล้องตรวจภายในโพรงมดลูก (Hysteroscopy)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีดเนื่องจากมีเลือดออกที่โพรงมดลูก
1.สังเกตุปริมาณเลือดที่ออก
แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตุอาการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืด
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น Hct
4.แนะนำให้รับประทานให้รับประทานอาหารธาตุเหล็ก
ยาบำรุงเลือด และพักผ่อนให้เพียงพอ
มีภาวะวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค ความรุนแรง
แผนการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ
1.สร้างงสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบาย ความคับข้องใจ รวมเปิดโอกาสให้สามี สมาชิกในครอบครัวได้มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือ และร่วมแก้ไขปัญหา
2.ให้ข้อมูลเป็นจริงและถูกต้องให้กำลังใจ
3.แนะนำเทคนิคการผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ หายใจเข้าออกลึกๆ
เสี่ยงต่อภาวะ hypovolemic shock
เนื่องจากมีเลือดออกในเยื่อบุโพรงมดลูก
1.ประเมินความรุนแรงของโรคจากปริมาณของเลือดทอี่อกอาการเหงื่อออกตัวเย็นซีดปลายมือปลายเท้าเขียว
2.ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก15–30นาทีจนกว่าจะคงท่ีพร้อมทั้งวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอด เลือดแดงเพื่อประเมินความสามารถในการนําออกซิเจนในเลือด
3.นอนราบยกปลายเท้าสูงเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองและอวัยวะสําคัญในร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยลดการทํางานของหัวใจ
ดูแลให้สารน้ําชนิด 5%D/N/2 1,000 มิลลิลิตร ในอัตรา 80 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง ตามแผนการรักษาของ แพทย์
5.ให้ผู้ป่วยงดน้ํางดอาหารทางปากทุกชนิดไวก่อนดูแลให้ยาomeprazoleขนาด40มิลลิกรัมทางหลอดเลือดดําทุก 12 ชั่วโมง และ ยา B1 100 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดํา
เจาะเลือดส่งตรวจ Hct ทุก 6 ชั่วโมง เพอื่ ประเมินภาวะซีดจากการมีเลือดออกทางระบบทางเดินอาหาร ส่วนบน
จองเลือดให้ถูกต้องทั้งชนิดและปริมาณ เพื่อให้พร้อมใช้ได้ทันทีเมื่อ แพทย์มีคําสั่งการรักษา
บันทึกปริมาณสารน้ําเข้าออกจากร่างกายทุก 8 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะสมดุลย์ของสารน้ําและความรุนแรงของภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน
เตรียมอุปกรณ์ยา และเวชภัณฑ์ให้พร้อมใช้ในกรณีฉุกเฉิน และจัดเตียงผู้ป่วยยให้อยู่ใกล้เคาเตอร์พยาบาล
เพื่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือและสามารถสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา
เสี่ยงต่อการติดเชื้อในเยื่อบุโพรงมดลูก
1.ดูแลความสะอาดร่างกายและอวัยวะสืบพันธ์ให้ถูกวิธี
2.แนะนำการใช้ผ้าอนามัยที่ถูกต้อง และงดการมีเพศสัมพันธ์
ขณะมีเลือดออกทางช่องคลอด
3.สังเกตุลักษณะเลือดที่ออกจากช่องคลอด สี และกลิ่น
4.แนะนำอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ถั่ว ไข่ขาว เนื้อปลา และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
พยาธิสภาพของโรค
DUB หมายถึง ภาวะที่มีเลือดออกจากโพรงมดลูกที่มีลักษณะรูปแบบแตกต่างจากการมีเลือดออกจากโพรงมดลูกของรอบระดู โดยที่ไม่พบสาเหตุทางพยาธิวิทยา
การรักษา
การผ่าตัด
•การขูดมดลูก การจี้ทำลายเยื่อบุโพรงมดลูก การตัดมดลูก
การใช้ยาช่วยลดปริมาณประจำเดือน
•NSAIDs ได้แก่ mefenamate, ibuprofen และ naproxen
•Tranexmic acid(anti-fibrinolytic activity) รับประทาน 1 สูงสุดไม่เกิน 600 mg/dose
•ห่วงอนามัยที่เคลือบโปรเจสติน เช่น levonorgestrel (LNg)
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวมมีรอบเดือนสม่ำเสมอและป้องกันไม่ให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว(ห้ามใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรวม เช่น ผู้สูบบุหรี่ ความเสี่ยง thromboembolism)
การรักษาด้วยฮอร์โมน (progesterone)
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด progestogen ในผู้ที่มี androgen สูง เช่น สิว ผิวมัน และขนดก
Norethingrone acetate รับประทาน วันละ 2.5 - 10 mg เดือนละ 5 - 10 วัน
การรักษาด้วยฮอร์โมน (Estrogen)
Conjugated estrogen 25 mg เข้าทางหลอดเลือดดำทุก 2-4 ชั่วโมง จนกว่าเลือกจะออกน้อยลง
จะเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมง (ไม่มียาฉีดให้รับประทาน 10 mg 4 ครั้ง/วัน)
Medroxy progesterone 10 mg ใน 10 วันแรกของรอบเดือน
menopause:การที่มีการขาดหายไปของระดู
สาเหตุ
ทางการแพทย์เชื่อว่าภาวะหมดประจำเดือนและอาการที่เกิดขึ้นในภาวะหมดประจำเดือนเป็นผลจากการจากการขาดเอสโตรเจน อันเป็นผลจากไข่ลดจำนวนเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 10 ปี ก่อนหมดประจำเดือน หรือเมื่อมีอายุประมาณ 40 ปี ประกอบกับไข่ที่เหลืออยู่น้อยไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นของ Gonadotrophin ทำให้ไม่มีการตกไข่และรังไข่ไม่สามารถผลิตเอสโตรเจนได้ ทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ มีการฝ่อบางลง และปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ สถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจ การศึกษา อาชีพ เครือข่ายทางสังคมเปลี่ยนแปลงทางด้านบทบาทของสตรีหมดประจำเดือน บุคลิกภาพ ปัจจัยทางจิตใจที่สำคัญ คือ ทัศนคติต่อภาวะหมดประจำเดือน ปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิต
พยาธิสภาพของโรค
ช่วงใกล้หมดประจำเดือน (perimenopause) จำนวนไข่จะน้อยลงเรื่อย ๆ รังไข่สร้างเอสโตรเจนน้อยลง กระตุ้นให้การหลั่ง FSH เพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นการเจริญของไข่ แต่ไข่ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นนั้น จึงไม่มีการตกไข่ เมื่อไม่มีการตกไข่ การสร้าง Corpus luteum จะน้อยลง จึงมีผลให้โปรเจสเตอโรนน้อยลงด้วย กระตุ้นให้มีการหลั่ง LH เพิ่มขึ้น สัดส่วนของการมีประจำเดือนโดยไม่มีการตกไข่ (anovulatory cycles) จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ รูปแบบของประจำเดือนจะเปลี่ยนแปลง จนในที่สุดไข่ไม่เจริญเติบโต ไม่มีการตกไข่อย่างถาวร รังไข่ไม่สามารถสร้างเอสโตรเจนได้ ประจำเดือนจึงหยุดอย่างถาวร
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
เกี่ยวกับลักษณะของประจำเดือน อาการของภาวะหมดประจำเดือน ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ประวัติอายุที่หมดประจำเดือนในครอบครัว ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะหมดประจำเดือน ลักษณะการปรับตัวและเผชิญปัญหา ปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจ ความรู้สึกเกี่ยวกับความไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น และความคาดหวังเกี่ยวกับการรักษา
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกาย ควรตรวจร่างกายทุกระบบ โดยเฉพาะการตรวจภายใน ตรวจระบบทางเดินอาหารต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและอื่น ๆ ต้องติดตามผลการตรวจเลือด ปัสสาวะ การตั้งครรภ์ อัลตราซาวด์ และการตรวจเยื่อบุมดลูก
การรักษา
ภาวะหมดประจำเดือน อาจก่อให้เกิดอาการและอาการแสดง ซึ่งต้องอาศัยการประคับประคอง การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การประเมินภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ปัจจุบันมีการใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในรูปยารับประทาน ยาปิดผิวหนัง ครีมทาช่องคลอด ซึ่งสามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุน แต่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมดลูก และมะเร็งเต้านม ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด จึงต้องพิจารณาใช้ให้เหมาะสม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดกระดูกหักง่ายเนื่องจากกระดูกพรุน
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมสด กุ้งแห้ง กะปิ ปลาไส้ตัน ผักใบเชียว งดรับประทานอาหารที่ขับแคลเซียมออกจากร่างกาย เช่น ฟอสฟอรัส โปรตีนจากสัตว์ เกลือ คาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่
ออกกำลังกายโดยให้ร่างกายเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ มีการเหยียดตัวของกล้ามเนื้อและกระดูก
อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 วัน วันละ 20-30 นาที
ระมัดระวังกรเกิดอุบัติเหตุเพราะหากล้มจะมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่าย
จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและมีแสงสว่างเพียงพอ
ไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการของภาวะหมดประจำเดือน
แนะนำให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็น แนะนำให้พักผ่อนด้วยการนอนหลับ
แนะนำให้ออกกำลังกายและกิจกรรมที่ต้องใช้แรงให้มากขึ้น เช่น ทำสวน ทำงานบ้าน เป็นต้น
โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานอยู่ในท่านั่ง ควรบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดและฝีเย็บอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 15 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55 และไขมันไม่เกิน
ร้อยละ 3 โดยรับประทานโปรตีนที่มีกรด Arginine สูง เช่น ปลา ถั่ว เป็นต้น ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันพืช เป็นต้น อาหารที่มีวิตามินสูงโดยฉพาะวิตามินดี บี 6 บี 12 มีกากใยสูง เช่น ผักผลไม้สด ธัญพืช เป็นต้น ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2,000-3,000 มล.
4.แนะนำให้รับประทานยา เช่น แคลเซียม วิตามินบี 6 วิตามินดี เอสโตรเจน เป็นต้น และสังเกตอาการข้างเคียงของยา เช่น เอสโตรเจน ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกทางช่อง มีเนื้องอกที่เต้านม
วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับภาวะหมดประจําเดือนและการปฏิบัติตน
ให้การพยาบาลด้วยทาทีที่เป็นมิตร อ่อนโยน
แสดงความเข้าใจ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน อาการของภาวะหมดประจำเดือน และคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
เพิ่มความภาคภูมิใจในตนเอง แนะนำวิธีการผ่อนคลายความเครียด และให้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
ให้โอกาสระบายความรู้สึกและชักถามข้อสงสัยต่าง ๆ อย่างเต็มที่และชัดเจน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์
ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในภาวะหมดประจำเดือนแก่สามี
หรือสมาชิกในครอบครัวแนะนำให้ครอบครัวแสดงความเข้าใจ ให้การประคับประคองอารมณ์