Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management) - Coggle Diagram
ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management)
เจ้าของทฤษฎี
เฟรเดอริก วินสโลว์ เทย์เลอร์
วิศวกรอุตสาหกรรมชาวอเมริกันได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์โดยเป็นผู้ค้นหาประสิทธิภาพและค้นหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวเวลาในการทำงาน
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียว ที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ
ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์
คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือ ประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
หลักวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
การแบ่งงาน (Division of Labors)
หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ Taylor (Taylor’ s Principles) มี 4 ประการ ได้แก่
ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือก ฝึกอบรม สอนงานและพัฒนาทักษะของพนักงาน
ผู้บริหารต้องร่วมมือร่วมใจกับพนักงานเพื่อให้สามารถใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์กับการทำงานอย่างจริงจัง
นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้กับการทำงานของพนักงานแต่ละคน แทนการใช้วิธีแบบเดิม
มีการแบ่งงานและความรับผิดชอบอย่างเท่าเทียมกันระหว่างผู้บริหารกับพนักงานผู้บริหาร จะต้องรับผิดชอบงานทั้งหมดในส่วนที่เหนือกว่าความสามารถของพนักงาน
สรุปทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management)
หลักการจัดการระบบวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ (Taylor) เป็นการจัดการที่ใช้แรงงานในการทำงานน้อยสุด ใช้ทรัพยากรน้อยสุดใช้วิธีการดีสุดพร้อมจะคัดเลือกคนดีที่สุดมาทำงานโดยให้การฝึกอบรมด้วยวิธีการดีสุดในการทำงานและให้ค่าตอบแทนเป็นธรรม ซึ่งเป็นที่หวังได้ว่างานจะมีประสิทธิภาพสูงสุด