Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์เบิร์ก (Herzberg’ Two –Tactor Theory ) - Coggle…
ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์เบิร์ก
(Herzberg’ Two –Tactor Theory )
เฟรเดอริก เฮอร์เบิร์ก ( Frederick Herzberg )
ประวัติความเป็นมา
ได้รับแรงบันดาลใจเรื่องการจูงใจ( Motivation) จากการที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ ฐาน Dachau concentration camp และสังคมในละแวกนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีระดับการจูงใจสูงมาก
ได้คิดค้นทฤษฎีการจูงใจในการทำงาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงการบริหาร ชื่อทฤษฎีของ Herzberg มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป คือ “motivation-maintenance theory”หรือ“dual factor theory” หรือ “the motivation-hygiene theory”
หลักและแนวคิด
Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัย ที่มีผลต่อการทำงานของบุคคลกรในองค์ โดยศึกษา ถึงทรรศนะคติของบุคคลที่มีต่อการทำงานเพื่อหาทางที่จะลดความไม่พอในในการทำงาน เพื่อที่ทำให้คนงานมีความรู้สึกที่ดีในการที่จะ พยายามเสริมสร้างผลผลิตของงานให้มากขึ้น
ปัจจัยการจูงหรือตัวจูงใจ (Motivation Factor หรือ Motivators ) เป็นปัจจัยภายนอก (ความต้องการภายใน) ของบุคคลที่มีอิทธิพลในการสร้างความพึงพอใจในการทำงาน (job satisfiers )
ความก้าวหน้าส่วนตัว (Personal Growth)
ความสำเร็จ (Achievement)
การยกย่อง (Recognition)
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ความก้าวหน้า (Advancement)
ลักษณะงาน (Work Content)
ปัจจัยการธำรงรักษา (Maintenance Factor ) หรือปัจจัยอนามัย (hygiene factor ) เป็นปัจจัยภายนอกที่ป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน การเสนอสุขอนามัยไม่ใช่วิธีการจูงใจที่ดีที่สุดในทัศนะของ เฮอร์เบิร์ก แต่เป็นการป้องกันความไม่พอใจ ประกอบด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือการขาดงานของพนักงาน
นโยบายบริษัท (Company Policies)
การบังคับบัญชา (Supervision)
ความมั่นคงในงาน (Job security)
ค่าตอบแทน (Pay)
ความสันพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal)
สภาพการทำงาน (Working condition)
ข้อดี
เป็นทฤษฎีที่สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานปฏิบัติ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การ ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย
เป็นทฤษฎีที่ใช้ได้กับกลุ่มอาชีพที่มีฐานะตำแหน่งสูง เช่น วิศวกรหรือนักบัญชี กรณีการนำไปใช้กับพนักงานระดับต่ำลงไปหรือพนักงานสตรี และ ณ ระดับของพนักงานประจำวัน จะไม่ค่อยได้ผลลัพธ์ที่น่าพึ่งพอใจ