Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้สูงอายุ, unnamed (1), unnamed, 6cef922b83622fbfac…
การสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ
หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปความหมายสุขภาพของผู้สูงอายุว่า หมายถึงสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณสามารถดํารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและพึ่งพาตนเองเองได้ สุขภาวะสมบูรณ์ด้านร่างกาย หมายถึง ความแข็งแรงตามวัย ไม่มีโรค ความเจ็บปวด เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว ไม่พิการ และปฏิบัติกิจกรรมได้ตามปรารถนา
ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความชราที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
1.1 การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของผู้สูงอายุทั้งทางกายวิภาคและสรีรวิทยา
ระบบผิวหนัง
ผิวหนังของผู้สูงอายุมีลักษณะแห้ง คันและแตกง่าย
ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ
ความแรงในการหดตัวและขนาด ของกล้ามเนื้อลดลง ทําให้เกิดอุบัติเหตุและหกล้มได้ง่ายเมื่อร่างกายเสียสมดุล มวลกระดูกลดลง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
พบว่า อัตรา การเต้นหัวใจสูงสุดลดลงและความสามารถทนทานต่อการทํากิจกรรมเคลื่อนไหวออกแรงลดลง การทําหน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทําให้ stroke volume ลดลง
ระบบทางเดินหายใจ
ผู้สูงอายุจึงมีอาการเหนื่อยง่าย นอกจากนี้กลไกการไอทํางานได้น้อยลง ทําให้มีเสมหะสะสมในปอดมากขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร
การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลําไส้ลดลง ทําให้ผู้สูงอายุมีปัญหาท้องอืด อาหารไม่ย่อย นอกจากนี้การไหลเวียนของ ระบบทางเดินอาหารลดลง
ระบบประสาท
จํานวนเซลล์สมองและเซลล์ประสาทลดลง ประสิทธิภาพการทํางานของสมองน้อยลง
ระบบประสาทสัมผัส
การมองเห็นบกพร่อง หนังตาตก แก้วตาเริ่มขุ่นมัว เกิดต้อกระจก รอบกระจกตามีไขมันสะสมมากขึ้นเห็นเป็นวงสีขาว หรือสีเทา ลานสายตาแคบลง
ระบบภูมิคุ้มกัน
ของร่างกายทํางานลดลง ระบบ cell-mediated immune response เสื่อมลง ร่วมกับการสร้าง T-cell lymphocyteลดลง
ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์
พบว่า น้ำหนักและขนาดของไตลดลง อัตราการกรองของไตลดลง ขนาดของกระเพาะปัสสาวะ ลดลง
ในหญิงสูงอายุ รังไข่จะฝุอเล็กลง ช่องคลอดแคบและสั้นลง รอยย่นและความยืดหยุ่นลดลง สารหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดลง และปัสสาวะเป็นด่างมากขึ้น
ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมหมวกไตส่วนนอกผลิตฮอร์โมนลดลง ทําให้ร่างกายของผู้สูงอายุทนต่อภาวะเครียดได้น้อย ตับอ่อนหลั่งอินสุลินลดลง
1.2 การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
ปัญหาความเจ็บป่วยเรื้อรัง
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจําตัวที่เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 โรค การรักษาต้องใช้เวลานาน ต้องดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง
การปลดเกษียณหรือการออกจากงาน
เป็นผลให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึก สูญเสียสถานภาพทางสังคม จากการที่เคยเป็นผู้นํา
การเปลี่ยนแปลงทางครอบครัวและสังคม
สังคมครอบครัวเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การแยกครอบครัวของบุตรเนื่องจากการย้ายไปใกล้ที่ทํางาน
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
เศรษฐกิจและสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มโนทัศน์ของคนส่วนใหญ่ในสังคมเปลี่ยนแปลง ยึดการพัฒนาด้วยระบบทุนนิยมและการพัฒนาที่ใช้เงินเป็นหลัก
ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
2.1 ปัญหาการเดินและการทรงตัว
การสูญเสียความสามารถในการเดินและการทรงตัว มักเป็นสาเหตุทําให้ผู้สูงอายุหกล้มง่าย สูญเสียความมั่นใจในการเดิน ไม่กล้าออกนอกบ้าน แยกตัว จากสังคม
2.2 ภาวะขาดสารอาหาร
การขาดสารอาหารในผู้สูงอายุก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้สูงอายุ เช่น ปัญหาหกล้มง่าย ปัญหาอัลบูมินในเลือดต่ำโลหิตจาง ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง การทํางานด้านการคิดเชิงเหตุผลของสมองเสื่อมลง
2.3 ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
พยาธิสภาพจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยที่หลอดเลือดแดงเกิดการแข็งตัว ตีบแคบลง และเกิดลิ่มเลือด อุดตันในหลอดเลือด ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
2.4 ปัญหาการนอนหลับ
หลับยากหรือใช้เวลา นานกว่าจะหลับได้หลับได้ไม่นานต้องตื่นช่วงกลางดึกหลายครั้ง ทําให้นอนหลับไม่ต่อเนื่อง
2.5 โรคกระดูกพรุน
เป็นโรคที่ความแข็งแรงของกระดูกลดลง ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของกระดูก
2.6 โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ นําไปสู่การเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคระบบไหลเวียนเลือด
2.7 โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังโดยเกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ
พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ
3.1 พฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกายลดลง
มีโอกาสเกิดโรคเรื้อรังหรืออาการกําเริบจากโรคเรื้อรังได้ รวมทั้งทําให้ความสามารถในการทําหน้าที่ของร่างกายลดลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิต
3.2 พฤติกรรมบริโภคอาหารไม่เหมาะสม
พฤติกรรมบริโภคอาหารเป็นปัจจัยสําคัญที่สามารถชะลอความเสื่อมหรือกระบวนการชราและปูองกันกระบวนการเกิดโรค รวมทั้งลดความรุนแรงของโรค
3.3 พฤติกรรมการจัดการความเครียดไม่เหมาะสม
ผู้สูงอายุที่จัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสมช่วยให้ลดปัญหาสุขภาพด้านจิตใจ ลดความวิตกกังวล รู้สึกมั่นคงปลอดภัย อารมณ์มั่นคง
4.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุนอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านกระบวนการความชราและปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุเองแล้ว ยังมีปัจจัยด้านสังคมที่เกี่ยวข้องคือนโยบายสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุที่มีจุดมุ่งหมายเน้นบทบาทของสถาบันทางสังคม ชุมชน เครือข่ายทั้งภาครัฐและ ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
แนวคิดพฤฒพลัง (active aging)
ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับโมเดลสุขภาพผู้สูงอายุ แนวคิดพฤฒพลัง หมายถึง กระบวนการของการมี สุขภาพที่สุขสมบูรณ์การสร้างเสริมส่วนร่วมและการมีหลักประกันเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตเมื่อสูงวัย พฤฒพลัง
ทฤษฎีบทบาททางสังคม (role theory)
อายุเป็นองค์ประกอบที่สําคัญอย่างหนึ่งในการกําหนดบทบาทของแต่ละบุคคล บุคคลจะปรับตัวต่อการเป็นผู้สูงอายุได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับการยอมรับบทบาทของตนเองในแต่ละช่วงอายุ
ทฤษฎีการสร้างเสริมพลังอ านาจ (theory of empowerment)
บุคคลมีพลังภายในตนเอง สามารถวิเคราะห์ปัญหา เลือกวิธีการแก้ไขปัญหาสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของตนเอง
ทฤษฎีความสามารถของตนเอง (the theory of self-efficacy)
ความสามารถของตนเองเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจ และความตั้งใจของผู้สูงอายุในการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง
กลวิธีการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
กลวิธีสร้างแรงจูงใจร่วมกับการพัฒนาทักษะ
1.1 การสอนสุขศึกษา (health education)
การสอนสุขศึกษาเป็นกระบวนการเชิงองค์รวมมีเปูาหมายเพื่อพัฒนาและปรับปรุง พฤติกรรมสุขภาพที่จะนําไปสู่การมีสุขภาพดี
1.2 การเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถตนเอง
การพัฒนากิจกรรมที่ส่งเสริมแหล่งข้อมูลของผู้สูงอายุจํานวน 4 ด้าน
ประสบการณ์ที่ปฏิบัติและประสบความสําเร็จ
การเห็นตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น
การพูดชักจูง
สภาวะทางด้านร่างกายและอารมณ์
1.3 การสร้างเสริมพลังอำนาจ (empowerment)
วิธีการเสริมสร้างพลังอํานาจเป็นกระบวนการการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้สูงอายุ ปรกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ระบุปัญหาหรือประเด็นสุขภาพที่ผ่านมา
ให้ผู้สูงอายุแสดงความรู้สึกและอธิบายปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น
วางแผนการแก้ไขปัญหาโดยระบุเปูาหมาย และเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
สร้างพันธสัญญาการปฏิบัติตามแผนที่กําหนดในแต่ละขั้นตอน
กลวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2.1 การสร้างเสริมพฤติกรรมออกก าลังกาย
กิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงและการออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย จิตใจและสังคม ทําให้ช่วงเวลาที่สามารถช่วยเหลือตนเองนานขึ้น และลดภาวะทุพพลภาพของผู้สูงอายุ
2.2 การสร้างเสริมพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร
ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานลดลง เนื่องจากปริมาณกล้ามเนื้อลดลง อัตราการเผาผลาญขณะพักลดลง และระดับกิจกรรมของผู้สูงอายุลดลง ดังนั้นผู้สูงอายุควรรับประทาน อาหารที่มีปริมาณพลังงานน้อยลงโดยลดการบริโภคอาหารประเภทไขมันและคาร์โบไฮเดรต
2.3 การสร้างเสริมศักยภาพในการจัดการกับความเครียด
ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปรับตัวและจัดการกับความเครียดในเรื่องการเจ็บปุวยเรื้อรัง การสูยเสียอาชีพการงานและบทบาททางสังคม ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมา
บทบาทพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุ
ให้ค าปรึกษา
สอนและให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
สร้างคุณค่าและแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุ
ประสานความร่วมมือระหว่างทีมสุขภาพกับหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน
สร้างสัมพันธภาพ
นางสาวนาซูฮา แซแอ 634N46219