Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
G1P0010 GA 36 +3 wks (B 5) -Poor controlled gestational diabetes mellitus…
G1P0010 GA 36 +3 wks (B 5) -Poor controlled gestational diabetes mellitus A1 with large for gestational age with premature contraction
ระยะ ANC
GDM
ชนิด
- เบาหวานที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ (pre-gestational
diabetes melitus or Overt DM: pre GDM)
เป็นภาวะโรคเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัย ก่อนการตั้งครรภ์
-
type2 เกิดจากการดื้อต่ออินซูลินหรือสร้างอินซูลินน้อยกว่าปกติ มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย
- เบาหวานที่วินิจฉัยได้ขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes: GDM)
โรคเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และเบาหวานที่
เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์แต่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน มักถูกวินิจฉัยในช่วง GA 24-28 wks
-
-
การรักษา
รักษาด้วยอินซูลิน ในทางปฏิบัติ insulin ที่นิยมใช้ คือ short-acting insulin หรือ regular insulin (RI) ร่วมกับ intermediate insulin หรือ NPH ฉีดทาง subcutaneous วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า - เย็น แต่สำหรับยากินไม่แนะนำเพราะผ่านรกได้ อาจทำให้ทารกแรกเกิดมี ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและอาจทำให้เกิดความพิการต่อทารก
สำหรับสตรีตั้งครรภ์รายนี้ได้รับการรักษาโดยการควบคุมอาหารร่วมกับได้ MT 8-0-8 SC เนื่องจากควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี
-
การออกกำลังกาย
-ควรออกกำลังกายในระดับปานกลาง (ชีพจรหลังออกกำลังกายไม่ควรเกิน 120 ครั้ง/นาที ) สามารถพูดคุยได้โดยไม่มีอาการหอบเหนื่อยโดยให้เริ่มที่ 15 นาทีก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มระยะเวลาจนได้ 20 – 30 นาที 3 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์
_-ระดับการออกกำลังกาย
- ระดับเบา (light intensity) เช่น การเดินช้า ๆ การบริหารร่างกายแบบโยคะง่ายๆ
- ระดับปานกลาง (moderate intensity) เช่น การเดินเร็ว การว่ายน้ำ การยกน้ำหนักเบา ๆ การปั่นจักรยาน
- ระดับหนัก (vigorous intensity) เช่น การวิ่ง การเล่นเทนนิส การกระโดดเชือก การว่ายน้ำแข่งขัน
-ควรเริ่มออกกำลังกายเมื่อตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน แต่สำหรับผู้ที่แท้งง่ายติดต่อกัน ควรเริ่มออกกำลังกายเมื่อตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน
-ไม่ควรออกกำลังกายนานเกิน 30 นาที เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
-ห้ามรับประทานอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย หรือหลังรับประทานอาหาร 40-50 นาทีเป็นเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกาย
-หยุดออกกำลังกายทันที่หากมีอาการ ปวดต่าง ๆ เลือดออกทางช่องคลอดมดลูกหดรัดตัวผิดปกตินานเกิน 15 นาที หรือหดรัดตัวบ่อย มีนงง เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว เป็นลม หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วมาก*
รักษาด้วยอินซูลิน ในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย จะพิจารณาให้อินซูลินในรายที่ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารมากกว่า 105 มก./ดล. ตั้งแต่แรกวินิจฉัย หรือในรายที่ควบคุมอาหารแล้วระดับน้ำตาลใน เลือดขณะอดอาหารยังมากกว่า 95 มก./ดล. หรือระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 1 ชม. และ 2 ชม. มากกว่า 140 และ 120 มก./ดล. ตามลำดับ
การคุมอาหาร
หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับพลังงานเฉลี่ยวันละ 1,800 - 2,000 กิโลแคลอรี แบ่ง 6 - 7 มื้อ 3 มื้อหลัก (เช้ากลางวัน เย็น) และอาหารว่าง 3 มื้อ ต้องมีอาหารว่างมื้อก่อนนอน 1 มื้อ โดยแบ่งสัดส่วนแคลอรีในแต่ละมื้ออย่างเหมาะสมคงที่และใกล้เคียงกันให้มากที่สุด และควรงดอาหารที่มีรสหวานจัด เช่น ขนมหวานต่าง ๆ น้ำผลไม้ เป็นต้น
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ ได้แก่ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง NST CST fetal biophysical profile ประเมินสมรรถภาพของปอดทารกในครรภ์ การนับลูกดิ้น และการตรวจ fetal echocardiogram เพื่อประเมินความพิการของหัวใจทารกในครรภ์
สำหรับหญิงตั้งครรภ์รายนี้ได้ประเมินภาวะสุขภาพทารก
- NST reactive
- นับลูกดิ้น >10 ต่อวัน
การวางแผนการคลอด เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจะทำให้การเจริญของปอดทารกช้ากว่า ปกติ และมีโอกาสทารกตายในครรภ์ได้สูง หากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มี ความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ สำหรับการผ่าตัดคลอด นั้นจะพิจารณาการผ่าตัดคลอดเมื่อประเมินพบน้ำหนักทารกในครรภ์มากกว่า 4,500 กรัม หรือมีภาวะ CPD
การวินิจฉัย
-
-
-
-
ประวัติการคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
-
Case Dx LGA
การเจริญเติบโตที่มากเกินไปในทารกส่งผลทำให้มีน้ำหนักตัวมาก (large for gestational age, LGA) กล่าวคือน้ำหนักตัวมากกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 90 ของแต่ละช่วงอายุครรภ์
-
การดูแลระยะ ANC
-
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกาย กำลังกายแบบแอโรบิค (aerobic) เช่น ว่ายน้ำ เดินเร็ว
แนะนำให้ทานอาหารกลุ่ม น้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ผักใบต่างๆ ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร วุ้นเส้น นมจืด ถั่วและธัญพืชต่างๆ และหลีกเลี่ยงอาหารน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน และช็อกโกแลต เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรส น้ำผลไม้
-
แนะนำมา ANC ตามนัด
clinical examination
-คาดการณ์น้ำหนักทารก (estimate fetal weight : EFW) จากการตรวจ fundal height, Leopold maneuvers ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์
-คัดกรองและวินิจฉัยภาวะเบาหวานทั้งก่อนและหลังการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์
-
-
-
-
อาการและอาการแสดง
-
สตรีตั้งครรภ์ ที่เป็นเบาหวานมาก่อนอาจพบอาการและอาการแสดง ดังนี้ ปัสสาวะมาก (polyuria) หิวบ่อย (polyphagia) น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย คันตามตัว คันอวัยวะสืบพันธุ์ และติดเชื้อง่าย
-
-
-