Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสัมภาษณ์ทางจิตเวช (Psychiatric interview)/การใช้เครื่องมือคัดกรองและประ…
การสัมภาษณ์ทางจิตเวช (Psychiatric interview)
/
การใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
การสัมภาษณ์ทางจิตเวช หมายถึง
วิธีการในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุหรือปัญหาทางจิตเวชเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ การสัมภาษณ์ต้องใช้ศิลปะและความสามารถส่วนบุคคล มีความรู้ในเรื่องพฤติกรรมศาสตร์ทั้งปกติ และผิดปกติเพื่อประเมินว่าจิตพยาธิสภาพของผู้ป่วยเป็นผลจาก
สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านชีวภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม และ/หรือปัจจัยด้านจิตใจ
ข้อควรปฏิบัติในการสัมภาษณ์ทางจิตเวช
แนะนำตนเองให้ผู้ป่วยรู้จักและบอกจุดมุ่งหมายในการสัมภาษณ์เพื่อวินิจฉัยและวาง
แผนการพยาบาล
แสดงท่าทีเป็นมิตร แสดงความเห็นใจ จริงใจและตั้งใจฟังอย่างสนใจ สังเกตอารมณ์
ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้ป่ วยตลอดเวลา
**ไม่ควรใช้คำถามตรงๆ ใช้คำพูดที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องบรรยายเหตุการณ์ในชีวิตของเขาไม่ควรรีบร้อน เมื่อถามแล้วควรรอให้ผู้ป่วยคิดและตอบ
ไม่ควรถามหลายคำถามติดต่อกัน
ระหว่างการสัมภาษณ์ ไม่ควรแปลความหมาย (Interprete)ปัญหาหรือพฤติกรรมของ
ผู้ป่วย เพราะยังไม่เข้าใจอย่างสมบูรณ์และอาจผิดพลาดได้ อีกทั้งผู้ป่วยก็ยังไม่พร้อมที่จะรับฟัง
การซักประวัติทางจิตเวช (Psychiatric history - taking)
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย (Identification of the paient )
เมื่อเริ่มสัมภาษณ์พยาบาลควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยก่อนคือ ชื่อ นามสกุล อายุเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สถานภาพ สมรส จำนวนบุตร การศึกษา อาชีพ (อาชีพในอดีตหากปัจจุบันไม่มีงานทำ) ภูมิลำเนา ที่อยู่ปัจจุบัน การดำรงชีวิต การเคยอยู่โรงพยาบาล จำนวนครั้งที่เคยอยู่โรงพยาบาล ชื่อโรงพยาบาลที่เคยอยู่ ลักษณะความเป็นอยู่ในปัจจุบันเช่น อยู่กับใครบ้างที่บ้าน เหตุผลในการมาโรงพยาบาล (Referal reason)
การชี้แจงเกี่ยวกับการสัมภาษณ์(Information regarding the interview)
ควรแนะนำตนเองและให้ข้อมูล เกี่ยวกับการถามประวัติ การตรวจสภาพจิต การตรวจร่างกายและแผนการบำบัดรักษาทางการพยาบาลให้ผู้ป่วยทราบ จะทำให้ความกังวล และความลังเลสงสัยของผู้ป่วยลดลง
การให้ข้อมูลเป็นการบอกความจริง ซึ่งแสดงถึง
ความจริงใจของพยาบาลจะทำให้ผู้ป่วยยอมรับนับถือ และเปิดเผยความจริงกับพยาบาล และควรพิจารณาในผู้ป่วยบางรายที่ยังไม่จำเป็นต้องบอก เช่น ผู้ป่วยที่กำลังคลุ้มคลั่ง อาละวาด ก้าวร้าว เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย (Personal description)
ควรสังเกตและบันทึกลักษณะท่าทางทั่วไป พฤติกรรมของผู้ป่วยที่แสดงออกระหว่างการสัมภาษณ์
บันทึกโดยใช้ถ้อยคำบรรยายลักษณะที่เด่นชัด ไม่ใช้คำศัพท์ทางวิชาการ
วิธีการ/ลักษณะคำพูดที่ควรใช้
อาการสำคัญ (Chief complaint)
“คุณไม่สบายด้วยอาการอะไร”
“อะไรทำให้คุณตัดสินใจมาโรงพยาบาล”
**ควรหลีกเลี่ยงการใช้ค าถาม “ทำไม”
ควรให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องตามความสมัครใจโดยไม่ขัดจังหวะ
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน(History of present illness)
สัมภาษณ์ และบันทึกประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
เรียงลำดับตั้งแต่เกิดอาการครั้ง
แรกจนถึงวันที่ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลในครั้งนี้
ซักถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของผู้ป่วย ความรู้ตัวของผู้
ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลงของตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ผู้ป่วยเคยมีปัญหาเช่นเดียวกันนี ้มาก่อนหรือไม่หรือมีปัญหาอื่นที่แตกต่างกันและผู้ป่วยแก้ไขอย่างไร
ปัจจัยต่างๆที่ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นหรือลดลง
ความเข้าใจของ ผู้ป่วยเกี่ยวกับเหตุผลที่ทำให้เป็นเช่นนั้น
ควรถามเรื่องความเจ็บป่วยทางกายโดยเฉพาะอาการทางกายที่มี ความสัมพันธ์กับปัญหาด้านจิตใจ
ซึ่งผู้ป่ วยส่วนมากไม่สามารถสังเกตได้
การบันทึกประวัติผู้ป่วยควรบันทึกตามคำพูดของผู้ป่ วยและพฤติกรรมที่
ผู้ป่วยแสดงออกมิใช่บันทึกความเห็นของพยาบาลหรือใช้ศัพท์ทางการแพทย์
เช่น บันทึกว่า “ผู้ป่วย
กังวล คิดมากและไม่ชอบทำงาน” มิใช่ “ผู้ป่วย anxiety คิดมาก และขี้เกียจทำงาน”
ผู้ป่วยให้
ความหมายว่า “ตนเองกังวลมาก และคิดสับสน” มิใช่ “ผู้ป่วย เล่าว่าตนเอง Paranoid”
สรุปข้อมูลที่สำคัญในประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
อาการเริ่มแรก (onset)
อาการแรกที่ผู้ป่วยมี และสถานการณ์ในขณะนั้น ลำดับการ
เกิดของอาการอื่นๆ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย
สิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ (precipitating factor)
เหตุการณ์วิกฤติในชีวิตของผู้ป่วยที่
กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการปรับตัวและทำให้เกิดอาการ
ผลกระทบจากการเจ็บป่วย (impact of the patient’s illness)
อาการและพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วยมีผลกระทบต่อผู้ป่ วยและครอบครัวอย่างไร ควรได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเสียสมรรถภาพของผู้ป่วยในด้านต่างๆ
วิธีแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว
ผลกระทบเหล่านี ้ ทำให้เกิดอาการสูญเสียเพิ่มเติมแก่ผู้ป่วย (secondary loss) หรือไม่
สิ่งที่ผู้ป่วยได้รับการจากเจ็บป่ วย แล้วท าให้ได้รับการยกเว้นการรับผิดชอบงาน ได้รับการเอาใจใส่และสนใจเพิ่มขึ้น
การรักษาที่ผ่านมา (Previous treatment)
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (History of past illness)
ประวัติการเจ็บป่วยทางกาย
ประวัติสุขภาพโดยทั่วไป
ประวัติครอบครัว (Family history)
ประวัติส่วนตัว (Personal history)
รายละเอียดของประวัติส่วนตัวประกอบด้วยพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นจนถึงการปรับตัว
ด้านต่างๆในวัยผู้ใหญ่
ในวัยผู้ใหญ่ คำถามประเมินด้านสังคม : ตัวอย่าง
การศึกษาและการทำงาน
“ระดับการศึกษาขั้นสูงสุดระดับใด”
“ทักษะหรือความรู้พิเศษซึ่งจะเป็ นประโยชน์ในการทำงานและการ
ดำรงชีวิตในสังคม”
“มีแผนการในอนาคตอย่างไร”
“ชนิดของงานที่ผู้ป่วยทำ/เคยทำ”
“ทำมาแล้วกี่แห่งแต่ละแห่งนานเท่าใด”
“เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้หรือไม่ มีความพึงพอใจในการท างานของตนมากน้อยเพียงใด”
สัมพันธภาพทางสังคม
“มีเพื่อนสนิทบ้างไหม”
“สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ ได้ไหม”
“คุณอยู่กับเพื่อนสนิทคุณ
ท าอะไรบ้าง”
“คุณสามารถพึ่งพาอาศัยเพื่อนๆ ของคุณได้หรือไม่”
“คุณใช้เวลาว่างท าอะไรบ้าง”
“คุณ
เข้าร่วมกิจกรรมอะไรในชุมชนบ้าง” “
“มีใครบ้างใน
ชุมชนที่คุณสามารถไปปรึกษาเมื่อคุณมีปัญหาเกิดขึ ้น”
แบบของการสร้างสัมพันธภาพ
“ใครเป็นบุคคลสำคัญในชีวิตของคุณ”
“เมื่อคุณไม่สบายใจคุณไปหา/ ปรึกษาใคร”
“มีความ
ขัดแย้งระหว่างสิ่งที่ผู้ป่วยพูดและสิ่งที่ผู้ป่วยทำหรือไม่”
แบบของการดำรงชีวิต
“บ้านคุณอยู่ที่ไหน”
“ลักษณะของบ้านเป็นอย่างไร”
“บ้านคุณมีคนอยู่อาศัยกี่คน”
“คุณช่วย
เล่าให้ฟังว่าวันหนึ่งๆ คุณท าอะไรบ้าง”
“ตอนที่คุณอยู่บ้านเวลาใดที่คุณรู้สึกสบายใจมากที่สุด”
“เมื่อมี
เวลาว่างคุณจะท าอะไรบ้าง”
ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับบ้านของคุณ คุณ
จะทำอะไรก่อน”
“ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้หรือไม่”
การใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
การคัดกรอง (Screening)
การคัดกรองทางสุขภาพจิต
เป็นการทดสอบเพื่อประมาณโอกาสที่ประชากรจะเกิดปัญหาสุขภาพจิตเป็ นการประเมินความผิดปกติ
ด้านจิตใจและระดับความรุนแรงเพื่อการส่งต่อ และวางแผนให้ความช่วยเหลือ
การคัดกรองโรค (Disease screening)
คัดกรองว่าบุคคลใดป่วยบ้าง และการคัดกรอง
สุขภาพ
การคัดกรองความเสี่ยง (Health or risk screening)
คัดกรองว่าใครมีโอกาสเกิดปัญหา
สุขภาพบ้างขณะที่ยังไม่ได้เป็นโรค
การพิจารณาใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
1. เครื่องมือคัดกรองและประเมินภาวะทางจิต
เครื่องมือเพื่อวัดระดับของสภาวะทางจิต (Scale) เช่น แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียด
ด้วยตนเอง (Stress Inventory)
เครื่องมือคัดกรองความผิดปกติทางจิต (Screening Tests) เช่น แบบสอบถาม (General
Health Questionnaire (GHQ)
เครื่องมือวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต (Schedule) เช่น The Mini-International
Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I)
2. คุณสมบัติของเครื่องมือประเมินทางสุขภาพจิต
ความเที่ยง (Reliability) ความสามารถของเครื่องมือในการให้ผลลัพธ์เหมือนเดิม
ความตรง (Validity) ความสามารถของเครื่องมือในการแสดงผลสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการวัด
ความไว (Sensitivity) ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบประเมินในการวินิจฉัยผู้ที่ป่ วย
หรือมีความผิดปกติได้ถูกต้อง
ความจำเพาะ (Specificity) ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบประเมินในการวินิจฉัยผู้ที่
ไม่ป่วยหรือไม่มีความผิดปกติได้ถูกต้อง
3. ลักษณะคำถามที่พบได้ในแบบคัดกรองสุขภาพจิต
คำถามด้านบวกเป็นข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับแบบสอบถาม มีลักษณะคำถามในแง่เชิงบวก
เช่น “ท่านรู้สึกพึงพอใจในชีวิต”
คeถามด้านลบเป็นข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับแบบสอบถาม มีลักษณะคำถามในแง่เชิงลบ เช่น
“ท่านรู้สึกว่าชีวิตของท่านมีแต่ความทุกข์”
4.รูปแบบของแบบประเมิน
4.1 รูปแบบข้อคำถามที่มีคำตอบเป็นปรนัยให้เลือกตอบ เช่น แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก
(Children, s Depression Inventory : CDI)
4.2 รูปแบบข้อค าถามในตารางและให้คะแนนตามความคิดเห็น เช่น แบบประเมินและวิเคราะห์
ความเครียดด้วยตนเอง (Stress Inventory)
การตรวจสภาพจิต (mental status examination, MSE.)
เป็นการตรวจทางจิตเวช เพื่อประเมินสภาวะอารมณ์และจิตใจของผู้ป่วยในขณะนั้น แพทย์จะนําผลการตรวจไปประมวลเข้ากับประวัติผู้ป่วยเพื่อให้การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป
หัวข้อหลักในการตรวจสภาพจิต มีดังต่อไปนี้
ลักษณะทั่วไป (general appearance)
ลักษณะการพูดและกระแสการพูด (speech and stream of talk)
อารมณ์ (mood and affect)
ความคิด (thought)
การรับรู้ (perception)
การรับรู้ตนเองและสิ่งแวดล้อม (cognitive function)
การรับรู้เวลา สถานที่ และบุคคล (orientation)
ความจํา (memory)
สมาธิ (attention and concentration)
ความคิดแบบนามธรรม (abstract thinking)
เชาวน์ปัญญา (intellectual function)
การตัดสินใจ (judgment)
การหยั่งรู้ความเจ็บป่วยของตนเอง (insight)