Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ - Coggle Diagram
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
การประเมินภาวะโภชนาการในเด็ก
การชั่งน้ำหนัก
สูตรคำนวณน้ำหนักเทียบกับอายุ
3-12 เดือน น้ำหนักกิโลกรัม = (อายุ(เดือน)+9)/2
1-6 ปี ={(อายุเป็นปี*2)}+8กิโลกรัม
7-12 ปี =[(อายุเป็นปี*7)-5]/2 กิโลกรัม
เมื่อหาค่าได้จากสูตรแล้วต้องนำมาเทียบเพื่อหาค่าเปอร์เซนไทส์
120% ขึ้นไป เป็นเด็กอ้วน
มากกว่า 90-110% ปกติ
75-90% ขาดสารอาหารระดับ1
60-74% ขาดสารอากหารระดับ2
ต่ำกว่า 60% ขาดสารอาหารระดับ3
วิธีคำนวณค่าเปอร์เซนไทล์
เทียบบัญญัติไตรยางค์
แบบใช้สูตร (100*น้ำหนักจริงของผู้ป่วย)/น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานที่คำนวณได้
การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของเด็กแรกเกิด
ในช่วงแรกเกิด น้ำหนัก 3 กิโลกรัม 5-6 เดือนน้ำหนักจะอยู่ที่ 2 เท่าของแรกเกิด และเมื่อครบ 1 ปีน้ำหนักจะเท่ากับ 3 เท่าของแรกเกิด หลังจาก 1ปีจนถึง7ปีน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นที่ละ 1 เท่า
การวัดรอบศีรษะ
ทาบสายวัดรอบศีรษะให้ผ่านท้ายทอยส่วนที่โผล่ยื่นที่สุด
การวัดส่วนสูง
สูตรคำนวณส่วนสูง 2-12ปี=[อายุ(ปี)*6]+77
6 เดือนแรกเพิ่มเดือนละ 2.5 cm 6 เดือนหลังเพิ่มเดือนละ 1.5 cm
วิธีคำนวณเปอร์เซนไทล์
(100*ส่วนสูงของผู้ป่วยที่วัดได้)/ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานที่คำนวณได้
เกณฑ์มาตรฐาน ต้องอยู่ระดับเปอร์เซนไทล์ที่ 95
การวัดส่วนสูงส้นเท้าต้องชิดลำตัวยืดตรง
การให้อาหารเสริมในเด็ก
จากการที่ได้ศึกษาการให้อาหารเสริมในทารก พบว่าควรเริ่มให้อาหารเสริมครั้งแรกเมื่ออายุ6เดือน 6 เดือนแรกควรกินนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ตองรับประทานอาหารอื่น
ทารกแรกเกิดถึง6เดือน รับประทานนมแม่อย่างเดียว
คำแนะนำ
อาหารเสริมที่เริ่มทานครั้งแรกควรบดให้ละเอียด และลื่นคอ และเมื่อทารกอายุเพิ่มมากขึ้นควรเป็นอาหารบดหยาบเพื่อให้ทารกสามารถเคี้ยวได้
ควรให้เริ่มจากการรับประทานจากช้อน
ให้อาหารก่อนให้นม เพราะหากให้นมก่อนทารกจะอิ่มและปฏฺเสธการรับประทานอาหารเสริม
เมื่อทารกรับประทานอาหารได้ดีควรลดปริมาณของนมลง
การให้อาหารตามวัยสำหรับทารกช่วยให้ทารกปรับตัวกับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวให้คุ้นเคยกับรสชาติและลักษณะของอาหารเพื่อพัฒนาไปสู่การรับประทานอาหารแบบผู้ใหญ่
พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย
พัฒนาการจะเป็นไปตาขั้นตอน จะเริ่มจากศีรษะสู่ปลายเท้า ชันคอ คว่ำหงาย นั่ง คลาย ยืน เดิน จะพัฒนาจากกล้ามเนื้อมัดใหญ่ก่อนกล้ามเนื้อมัดเล็ก
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อมัดใหญ่
1 เดือนแรกจะพัฒนาจากการเริ่มชันคอ
2เดือนยกศีรษะได้ 45 องศา ท่านอนคว่ำ
3-4 เดือน chest up
5-6 เดือน พลิกคว่ำพลิกหงาย
10-12 เดือน เกาะเดิน
13-15 เดือน เดินได้ ขว้างของ
16-18เดือน ปีนป่าย
ความแตกต่างระหว่าง marasmus และ Kwashiorkor
โรค marasmus เป็นโรคขาดสารอาหารเด็กจะมีอาการผอมแห้ง กล้ามเนื้อลีบมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย
โรค Kwashiorkor เด็กกลุ่มนี้จะขาดโปรตีน ทำให้มีอาการบวม กดบุ๋ม ผิวหนังมันวาว บาง แห้งหยาบ เหมือนหนังคางคก ติดเชื้อง่ายเพราะภูมิต้านทานต่ำ
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
อิด (Id)คำนึงความพึงพอใจของตนเองเป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือไม่
อีโก้ (Ego) คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมระหว่างตนเองกับผู้อื่น
ซูเปอร์อีโก้ (Superego)คำนึงถึงประโยชน์สุขของผู้อื่น แต่ตนเองอาจทุกข์ก็ได้ ถือว่าเป็นการตอบสนองความต้องการในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปกติของคนทั่วไป
ฟรอยด์กับการพัฒนาด้านจิตใจ
Oral Stage แรกเกิด ลิบิโดไปกระตุ้นบริเวณปาก การดูดจึงเป็นการลดภาวะเครียดของเด็ก
Anal Stage ลิบิโดไปกระตุ้นที่ทวารหนัก การกัก และการปล่อยอุจจาระจึงเป็นการลดภาวะเครียดของเด็ก แต่ถ้าผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูใช้วิธีการเข้มงวดในการฝึกวินัยในการขับถ่าย เด็กจะเกิดภาวะติดค้าง เมื่อโตขึ้นอาจมีนิสัยเจ้าระเบียบ
Phallic Stage ลิบิโดไปกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเด็กเริ่มสนใจความแตกต่างระหว่างเพศ จึงทำให้ชอบจับต้องอวัยวะเพศเล่น เป็นการลดภาวะเครียด แต่ผู้ใหญ่มักใช้ค่านิยมของตนไปตัดสินพฤติกรรมของเด็กว่าไม่เหมาะสม
Latency Stage ขั้นนี้ถือได้ว่าเป็นการพัก แต่มิใช่ว่าไม่มีการกระตุ้นของลิบิโดแต่พฤติกรรมทางเพศเป็นไปอย่างสะเปะสะปะไม่อยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะจึงไม่มีภาวะติดค้าง
Genital Stageเป็นช่วงวัยรุ่น ลิบิโดจะไปกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ และเป็นไปอย่างมี “วุฒิภาวะทางเพศ” กล่าวคือ พร้อมต่อการสืบพันธุ์ การลดภาวะเครียดจึงเป็นการบำบัดความใคร่ด้วยตนเอง