Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ - Coggle Diagram
บทที่ 2 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการให้อาหารเสริมในเด็ก
อาหารเสริมในทารก
เริ่มให้อาหารเสริมครั้งแรก เมื่ออายุ 6 เดือน เพราะ 6 เดือนแรกจะให้กินนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ต้องให้สารอาหารอื่น
หลัง 6 เดือน เริ่มให้อาหารเสริมดังนี้
อายุ 6 เดือน
ข้าวบดละเอียด โดยเริ่มให้แต่น้อยจนครบ 3 ช้อน ไข่แดงครึ่งฟอง ปลา 2 ช้อน ตับบด 1 ช้อน ผักสุกครึ่งช้อน มะละกอสุก 2 ชิ้น หรือ ส้ม 2 กลีบ
อายุ 7 เดือน
ข้าว 4 ช้อน ข้าวบดละเอียด ไข่แดงครึ่งฟอง ปลา 2 ช้อน หรือ หมู 2 ช้อน ผักสุกช้อนครึ่ง มะละกอ 2 ชิ้น หรือ มะม่วง 2 ชิ้น
อายุ 8-9 เดือน
อาหาร 2 มื้อ ข้าว 5 ช้อน โดยใช้วิธีต้ม ตุ๋น เละๆ ถ้าจะบดต้องบดหยาบ ไข่ 1 ฟอง ปลา 2 ช้อน หรือ หมู 2 ช้อน ผักสุก 2 ช้อน ฟักทอง 2 ช้อนมะละกอสุก 3 ชิ้น หรือ กล้วย 1ผล
อายุครบ 10-12 เดือน
อาหาร 3 มื้อข้าวต้มหรือข้าวสวยนุ่ม 5 ช้อน ไข่ 1 ฟอง ปลา หรือ หมู 2 ช้อน ตับบด 1 ช้อนผักสุกหรือฟักทอง ช้อน 2 มะม่วง 4 ชิ้น หรือส้ม 1 ผล
การให้อาหารเสริมในเด็กมีตำราแนะนำว่า ควรให้มื้อเย็นเด็กจะได้อิ่มและช่วยลดดูดนมตอนกลางคืนให้น้อยลง
คำแนะนำสำหรับการให้อาหารเสริมในเด็ก
อาหารเสริมที่ให้ครั้งแรกควรบดให้ละเอียด และลื่นคอ แล้วค่อยบดหยาบ เมื่อทารกมีฟันขึ้น อาจให้อาหารเป็นชิ้นเล็กๆ ในขนาดที่ทารกสามารถเคี้ยวได้
ให้อาหารเสริมครั้งละชนิดในปริมาณน้อย แต่ละชนิดควรห่างกัน 4-7 วัน ถ้าทารกมีอาการแพ้อาหารชนิดนั้น สามารถงดอาหารนั้นได้ทันที
ควรให้ทารกเรียนรู้การทานอาหารเสริมจากช้อน ไม่ควรใส่อาหารเสริมในขวดนม ที่เจาะรูหัวนมให้กว้างขึ้น เพื่อให้ทารกดูด
ให้อาหารก่อนให้นม เพราะถ้าทารกอิ่มจะปฏิเสธอาหารเสริม
ขณะให้อาหารเสริมควรยิ้มและพูดกับทารก ให้มีความสุข ไม่ควรบังตับ
ทารกจะห่อปากเอาลิ้นดุนเมื่อได้รับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว
ทารกจะสามารถใช้ลิ้นตวัดอาหารลงสู่ลำคอได้
เมื่อทารกทานอาหารเสริมได้ดีควรลดนมลง เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกได้อาหารมากเกินไป
Marasmus กับ Kwashiorkor มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร
Marasmus
เป็นโรคขาดโปรตีน และแคลอรี ประเภทที่ขาดทั้งกำลังงาน และโปรตีน
เด็กมีแขนขาลีบเล็ก เพราะทั้งไขมัน และกล้ามเนื้อ ถูกเผาผลาญมาใช้เป็นกำลังงาน เพื่อการอยู่รอด
ลักษณะที่พบเห็น เป็นแบบหนังหุ้มกระดูก ผิวหนังเหี่ยวย่นเหมือนหนังคนแก่ ไม่มีอาการบวม และตับไม่โต
Kwashiorkor
เป็นโรคขาดโปรตีน และแคลอรี ประเภทที่มีการขาดโปรตีนอย่างมาก
มีอาการซึม และดูเศร้า ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ผิวหนังบางและลอกหลุด
เด็กมีอาการบวมเห็นได้ชัดที่ขา ๒ ข้าง เส้นผมมีลักษณะบางเปราะ และร่วงหลุดง่าย ตับโต
แก้ปัญหาพฤติกรรมผิดปกติตามวัย ดูดนิ้ว อิจฉาน้อง
พฤติกรมมอิจฉาน้อง
เคยเป็นที่ 1 มาตลอด รู้สึกเหมือนถูกแบ่งปันความรัก
น้อยใจที่พี่ได้เสื้อใหม่ตลอด ในขณะที่ตนต้องใส่เสื้อตัวเก่าของพี่
พฤติกรรมที่พบ
พฤติกรรมถดถอย เช่น ดูดนิ้ว ต้องการให้อุ้ม ดื้อ ทำลายข้าวของ เห็นแก่ตัว มีความรู้สึกด้อย
การแก้ไข
มีส่วนเลือกในการซื้อของให้น้อง ในขณะเดียวกันให้พี่ได้ซื้อของที่จำเป็นของพี่ด้วย
อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าไม่มีใครให้เวลาเขา
ทำทุกอย่างให้เด็กรู้ว่ายังเป็นที่รักของบิดามารดา
การดูดนิ้วหัวแม่มือ
พบได้ในระยะ oral stage
แต่ถ้า 2-3 ขวบยังดูดอยู่อาจเกิดความวิตกกังวล
อธิบายให้มารดาเข้าใจว่าไม่มีอันตราย นอกจากแผลที่นิ้ว ไม่มีผลกระทบต่อการผิดรูปของเหงือก ถ้าดูดไม่เกิน 5 ขวบ
ค่อยๆหาสาเหตุ เบี่ยงเบนความสนใจ ห้ามตำหนิเด็ก ถ้าจะดึงนิ้วออกต้องค่อยๆทำ ในขณะที่เด็กกำลังเพลิน
แต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการแตกต่างกันอย่างไร
พัฒนาการหมายถึง
การเพิ่มขึ้นของความสามารถหรือการทำหน้าที่ของบุคคล ทำให้เกิดเป็นความสามารถใหม่ในทุกๆด้าน
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
1 เดือน เริ่มชันคอได้ ดึงแขนจากท่านอนเป็นนั่ง
2 เดือน ท่านอนคว่ำ ยกศีรษะได้ 45 องศา
3-4 เดือน Chest up
5-6 เดือนพลิกคว่ำ พลิกหงาย นั่งโดยใช้มือยันได้ชั่วครู่
10-12 เดือน เกาะเดือน ตั้งไข่ เดินได้ 2-3 ก้าว
13-15 เดือน เดินได้ ขว้างปาสิ่งของ โยนลูกบอล
16-18 เดือน ปีนป่ายตามเฟอร์นิเจอร์
ทฤษฎีพัฒนาการจิตวิเคราะห์ของฟอยด์
อิด
เป็นองค์ประกอบที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเป็นแรงขับที่เกิดจากสัญชาตญาณซึ่งอยู่ใต้จิตสำนึก
อีโก้
เป็นองค์ประกอบของบุคลิกภาพที่อยู่ใต้จิตสำนึก อยู่ในหลักความเป็นจริง
ซุปเปอร์อีโก้
เป็นองค์ประกอบของบุคลิกภาพที่พัฒนาจากอีโก้ เป็นส่วนประกอบของจิตที่ประกอบด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือมโนธรรม
ได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการคำนาณนมและการให้นมเด็ก
การคำนาณนมตามพลังงานที่เด็กควรได้รับ
10 กิโลแรก = 100 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม/วัน
10 กิโลแรก = 50 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม/วัน
น้ำหนักที่เหลือ = 20 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม/วัน
วิธีการชงนม
ล้างมือให้สะอาด
ต้มขวดนม 15-20 นาที
ใส่น้ำต้มสุก 70 องศา
ใส่นม เขย่าจนนมละลาย เติมน้ำเท่ากับปริมาณที่ต้องการ
นมชงแล้วเก็บได้แค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น นานกว่านั้นต้องทิ้ง
การดูแลให้ทารกได้รับนมในแต่ละวัน
นมแม่เป็นนมที่มีประโยขน์ที่สุดสำหรับทารก
หลักการให้นมแม่ คือ ต้องให้ทารกดูดให้เกลี้ยงเต้า
โดยให้ดูดทีละข้างเพื่อให้ได้นมส่วนหน้าและส่วนหลัง
บีบทิ้งได้ในกรณีที่คัดตึงมากและทารกดูดไม่ทัน
มื้อต่อไปให้ดูดสลับข้าง
นมผงดัดแปลงสำหรับทารก
นมเปรี้ยวไม่เหมาะกับเด็ก เพราะจะทำให้เด็กติดหวานและฟันผุ อาจทำให้มีภาวะโภชนาการเกิน
นมวัวไม่เหมาะกับเด็กทารก อายุต่ำกว่า 1 ปี ลำไส้และไตของทารกยังทำงานไม่เต็มที่ ทำให้เกิดปัญหาท้องอืด ท้องเสีย