Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
(ร่าง) ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ - Coggle Diagram
(ร่าง) ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
นิยาม “สุขภาพ” ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ครอบคลุมถึงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิต สังม ปัญญา เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ระบบสุขภาพจึงซับซ้อน มีหลายระบบย่อยที่สัมพันธ์กับสุขภาพของบุคคล ชุมชน และสังคม มาตรา 25 (0) ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเป็นร่มใหญ่ของระบบสุขภาพไทยในอนาคต เพื่อให้ทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบและแนวทางการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินการด้านสุขภาพ ไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้ทบทวนธรรมนูญสุขภาพอย่างน้อยทุก 5 ปี เพื่อให่เหมาะสมกับสถานการณ์ของระบบสุขภาพและระบบอื่นๆที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งธรรมนูญสุขภาพ ฉบับบแรก ประกาศใช้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2552
ในปี พ.ศ. 2557 กรรมการสุขภาพแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนธรรมนูญด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ใช้ความรู้ทางวิชาการ กระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังการบกร่างธรรมนูญสุขภาพ
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ 2559 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มีรองนายกรัฐมนตรี พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นประธาน ได้เห็นชอบร่างธรรมนูญสุขภาพ ฉบับที่ 2 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาร่างธรรมนูญสุขภาพฉบับที่ 2 ประกอบด้วย 17 สาระย่อย มีหลักการสำคัญของระบบสุขภาพรวมระบุไว้ใน 3 สาระแรก ได้แก่
1.ปรัชญาและแนวคืดหลักของระบบสุขภาพ สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน บุคคลมีบทบาทดูแลสุขภาพของตน ครอบครัว ชุมชน โดยรัฐมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมและความมั่นคงของประเทศ ต้องให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ การกำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพเสมอ
2.คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การจัดการกับปัจจัยด้านสังคมที่กำหนดสุขภาพ การมีหลักประกันและการคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ ที่มั่นคงยั่งยืนของทุกกลุ่มวัย ทุกภาคส่วน กับทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ หรือ Health in All Policies : HiAPs ไปใช้ ให้ความสำคัญกับการทำงานแบบเครือข่าย สนุบสนุนการมีส่วนร่วมทุกระดับ
3.การจัดให้มีหลักประกันและการคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ ต้องครอบคลุมปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ของทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย อย่างเสมอภาค เท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ
สาระสำคัญอื่นๆ
• การสร้างเสริมสุขภาพ ให้ชุมชนเป็นฐานในการพึ่งตนเอง
• การป้องกัน ควบคุมโรค และปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ เน้นการทำงานเชิงรุก ให้ความสำคัญกับปัจจัยสังคมที่กำหนดสุขภาพและนำเครื่องมือการกระเมินผลกระทบด้านสุขภาพมาใช้
• การบริการสาธารณสุขและการสร้างหลักประกันสุขภาพ ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระบบบริการสุขภาพทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูฒิ ตติยภูมิ
• ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์รวมถึงให้มีมาตรการพิจารณาสนับสนุนการลงทุนด้านสุขภาพที่เหมาะสม
นอกจากนี้ยังได้เพิ่มสาระใหม่เข้ามา ได้แก่
1.สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
2.สุขภาพจิต
3.สุขภาพทางปัญญา
4.การอภิบาลระบบสุขภาพ
5.ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
ทุกภาคส่วนสามารถนำธรรมนูญสุขภาพ ไปใช้ในหลายรูปแบบ ได้แก่
1.กรอบและแนงทาง ในการดำเนินงานด้านสุขภาพของหน่วยงานภาครัฐ
2.ภาพพึ่งประสงค์ร่วม ของระบบสุขภาพไทยในระยะ 10 ปี ข้างหน้าที่ทุกฝ่ายร่วมขับเคลื่อน
3.แนวคิดและหลักการ ในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
4.เครื่องมือสื่อสาร เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ในอนาคต
การจัดทำ ร่าง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ร่างกรอบแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 และนโยบาย “กลไกประชารัฐ” โดยส่งเสริมบทบาทและการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ วิชาการ วิชาชีพ เอกชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น