Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดา-ทารกในครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในระยะตั้งครรภ์,…
การพยาบาลมารดา-ทารกในครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในระยะตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์อายุมาก
: การตั้งครรภ์ที่เกิดในสตรีที่มีอายุเท่ากับ 35 ปี หรือมากกว่า โดยนับอายุจากวันเกิดจนถึงวันกำหนดคลอด
การพยาบาล
ระหว่างการตั้งครรภ์
กระตุ้นและแนะนำให้มาฝากครรภ์ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์หรือเมื่ออายุครรภ์น้อย
เน้นเรื่องการซัประวัติการเจ็ยป่วยภายในครอบครัว
ตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์ และตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์อย่างละเอียด
อธิบายให้รับทราบความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์
อธิบายความสำคัญของการคัดกรองและการวนิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์
แนะนำการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์
เน้นย้ำความสำคัญของการนับลูกดิ้น
เน้นย้ำความสำคัญการฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความเครียด ความวิตกกังวล ความไม่มั่นใจในเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญหน้า
ให้การสนับสนุนทางด้านอารมณ์
ประเมินความพร้อมในการตั้งครรภ์
ระหว่างการคลอด
สร้างความไว้วางใจ
ให้ข้อมูลแก่มารดาอายุมากและญาติตั้งแต่แรกรับไว้ในโรงพยาบาล
ให้การช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจ
เฝ้าระวัง และประเมินภาวะเสี่ยงรวมทั้งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ประเมินอาการเจ็บครรภ์
ส่งมเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ประเมินภาวะสุขภาพ
ประเมินภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพจิตหลังคลอดคลอด
ประเมินความสามารภในการดูลทารก
ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภพในระยะหลังคลอด
ให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว
ภาวะทารกตายในครรภ์
: การตายของทารกก่อนคลอด โดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์
การพยาบาล
สอนให้สตรีตั้งครรภ์เห็นความสำคัญของการนับลูกดิ้น
ในระยะรอคลอด ให้ประคับประคองสภาวะจิตใจ
ระยะหลังคลอดหรือยุติการตั้งครรภ์ ดูแลทางด้านร่างกาย
เฝ้าระวังและประเมินปัญหาทางด้านจิตใจ
จัดสิ่งแวดล้อมให้มความเป็นส่วนตัว
ให้การดูแลระยะเศร้าโศก ไม่ทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง
อธิบายปฏิกิริยาจากภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียบุตร
สอบถามความต้องการสัมผัสบุตร
เปิดโอกาสให้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ยับยั้งการหลั่งน้ำนมและบรรเทาอาการคัดตึงเต้านม
ติดตามเยี่ยมบ้าน
ความรุนแรงต่อสตรีตั้งครรภ์
: การกระทำที่เป็นความจงใจใช้กำลังหรืออำนาจทางกายข่มขู่คุกคาม ทำร้ายตนเอง ผู้อื่น กลุ่มคน หรือ สังคม เพื่อให้เกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิต ทำร้ายจิตใจ ยับยั้ง และปิดกั้นการเจริญงอกงาม สูญเสีย หรือจำกัดสิธิบางประการ
การพยาบาล
ให้ความสนใจและเพิ่มการตระหนัก
มีทัศนะคติที่ดีขณะให้การช่วยเหลือ
ประเมิน คัดกรอง และค้นหาการกระทำความรุนแรง
ประเมินโดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย
สร้างสัมพันธภาพที่ดี สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง
ให้การสนับสนุนทางสังคมที่ดี
เสริมสร้างทัศนคติที่ดี ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
ให้ข้อมูลเกี่ยฝกับแหล่งช่วยเหลือ
ดูแลระยะตั้งครรภ์เช่นสตรีรายอื่นทั่วไป
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับความรุนแรงในขณะตั้งครรภ์
ดูแลในระยะคลอด ตามปกติเหมือนผู้คลอดรายอื่น
การตั้งครรภ์วัยรุ่น
: การตั้งครรภ์ที่เกิดในสตรีที่มีอายุระหว่าง 10-19 ปี
การพยาบาล
ระหว่างตั้งครรภ์
ยืนยันการตั้งครรภ์และคำนวณอายุครรภ์อายุครรภ์ที่แน่นอน
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ คัดกรองความเสี่ยงตามาาตราฐานการฝากครรภ์ และตรวจเต้านมและหัวนม
ประเมินด้านจิตสังคม
ประเมินปัญหาทางโภชนาการ
ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
แนะนำให้เลิกทันที หากพบว่าเสพสารเสพติด
ประเมินความรุนแรงภายในครอบครัว
ติดตามมาฝากครรภ์
แนะนำช่วยเหลือให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง กรณีมารดาวัยรุ่นอยู่ระหว่างการศึกษา
ระหว่างการคลอด
สร้างความไว้วางใจ
ให้ข้อมูลแก่มารดาวัยรุ่นและญาติ
ให้การช่วยเหลือ ประคับประคองด้านจิตใจ
ค้นหาภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ประเมินอาการเจ็บครรภ์
ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาวัยรุ่นและทารกในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ประเมินภาวะสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
ประเมินปัญหาทางด้านสังคมและจิตใจ
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในระยะหลังคลอด
ให้ข้อมูลแก่มารดาวัยรุ่นและครอบครัวเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของมารดาหลังคลอด
ประเมินความสามารถในการดูแลทารก และให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตร
การตั้งครรรภ์ไม่พึงประสงค์
: การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสตรีไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้ต้องการให้เกิดขึ้น หรือไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
การพยาบาล
ให้ความรู้แก่สตรี เรื่องการวางแผนครอบครัว เพศศึกษาอย่างถูกต้อง ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด การป้องกันการตั้งครรภ์
ให้ข้อมูลสถานพยาบาลที่ให้บริการวางแผนครอบครัวและคุมกำเนิด
ให้คำปรึกษาและคำแนะนำพิจารณาทางเลือก
กรณีตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์
ให้ความรู้เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
กรณีตัดสินใจดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ
ให้ข้อมูลทางสุขภาพ การเลี้ยงดูบุตร ค่าใช้จ่างต่างๆ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ระหว่างการตั้งครรภ์และภายหลังคลอดบุตร
กรณีเลี้ยงลูกตามลำพัง ควรให้ข้อมูลแหล่งช่วยเหลือต่างๆ
กระตุ้นให้มาฝากตามนัดอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครรภ์
ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ชื่นชมแสดงความยินดีกับมารดา
ประเมินปัญหาทางด้านสังคมและจิตใจ
ดูแลอย่างใกล้ชิด กรณีมารดาไม่ต้องการบุตร
กรณีตัดสินใจยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่บุคคลอื่น
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกฏหมายการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม
เป็นคนกลางช่วยประสารงานระหว่างมารดาและนักสังคมสงเคราะห์
การใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์
สารเสพติด
การพยาบาล
ซักประวัติการใช้สารเสพติด
ให้ข้อมูลถึงผลกระทบของการเสพสารเมทแอมเฟตามีนต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ให้ข้อมูลความสำคัญของการฝากครรภ์
ควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ในระยะคลอดให้การดูแลตามปกติแต่เน้นการซักประวัติ
ประเมินคามสามารถในการดูแลทารก
แนะนำให้มารดาพาทารกไปตรวจติดตามผลของแอมเฟตามีนต่อสุขภาพของทารก
ประสานงานกับหน่วยอื่นติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การสูบบุหรี่
ผลกระทบ
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คลอดก่อนกำหนด ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือแท้งมากกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่
การไหวเวียนของรกลดลง
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
มีปัญหาทางพัฒนาการและพฤติกรรมระยะยาว
การดื่มแอลกอฮอล์
ผลกระทบ
เพิ่มความเสี่ยงในการแท้ง
พัฒนาการสมองทางด้านการเคลื่อนไหวล่าช้ากว่าปกติ มีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
มีโอกาสเกิด Fetal Alcohol Syndrome
บุตรมีโอกาสติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ 4 เท่า
ภาวะทารกในครรภ์มีความผิดปกติ
: ความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำงานของอวัยวะที่เกิดขึ้นกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยอาจตรวจพบได้ต้ังแต่อยู่อยู่ในครรภ์หรือภายหลังคลอด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
เข้าใจและยอมรับในพฤติกรรมสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวแสดงออกในระยะปฏิเสธ
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้เล่าระบายอารมณ์และความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
สร้างบรรยากาศที่สนิทสนม
ประเมินการตอบสนอง
ส่งเสริมการดูแลตนเอง
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลประคับประคองสภาวะจิตใจสตรีตั้งครรภ์ สามี และครอบครัว
จัดเตรียมความพร้อมด้านวัสดุและอุปกรณืในการคลอด
ดูแลผู้คลอดให้เผชิญหน้ากับความเจ็บปวดในระยะคลอดอย่างเหมาะสม
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
ระยะหลังคลอด
ให้การดูลทางด้านร่างกายเช่นเดียวกับมารดารายอื่นๆ
เฝ้าระวังและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีความเป็นส่วนตัส
ให้การดูแลไม่ทอดทิ้งให้มารดาอยู่ตามลำพัง
ส่งเสริมความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดาและทารก
ในกรณีทารกถูกแยกไปรับการรักษาที่หออภิบาล ควรรอให้มารดามีสุขภาพแข็งแรงและพร้อมไปเยี่ยมดูอาการทารก
พยาบาลควรส่งเสริมมารดาหลังคลอด
อธิบายปฏิกิริยาเศร้าโศกจากการรับรู้ว่าทารกพิการแต่กำเนิด
ติดตามเยี่ยมบ้าน หรือ โทรศัพท์
นัดตรวจติดตามในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด
เว้นระยะเวลานาน 2 ปี กรณีมีบุตรถัดไป
เนื่องจากสนใจหลายเรื่องเลยเลือกไม่ได้ค่ะ