Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการทารกในครรภ์ - Coggle Diagram
พัฒนาการทารกในครรภ์
ระยะปฏิสนธิ
คือ การรวมกันระหว่างไข่(ovum) และอสุจิ(sperm) เกิดเซลล์ใหม่เรียกว่า ไซโกต(zygote) ไปจนถึงระยะเวลาที่มีการฝังตัวที่ผนังมดลูก (implantation
สัปดาห์ที่ 1
การบวนการปฏิสนธิ
การปฏิสนธิที่สมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงหลังไข่ตก กลไกล จะเกิดเมื่ออสุจิเคลื่อนตัวไปพบกับไข่ที่Ampulla อสุจิหลั่ง Enzyme hyaluronidase ใช้ย่อยเยื่อหุ้มไข่ ผ่านเซลล์ที่ล้อมรอบไข่ (corona radiata) และผนังเซลล์ของไข่(zona pellicida) โดยมีอสุจิเพียงตัวเดียวที่สามารถเจาะผ่านผนังเยื่อหุ้มไข่เข้าไปยังส่วนCytoplasm ชั้นZona pellicida จะเกิดปฏิกิริยาการสร้างผนังเซลล์ให้แข็งแรงทันที เพื่อป้องกันการผ่านเข้าของอสุจิตัวอื่น
ลักษณะของ female pronucleous โดย pronucleous ทั้งสองจะรวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสของเซลล์ใหม่เรียกว่า Zygote ประกอบด้วยโครโมโซม 46 แท่ง(44+XX หรือ 44+XY) และจะเริ่มแบ่งตัวแบบ mitosis ทันทีพร้อมกับพัฒนากลายเป็นตัวอ่อน ทารก ส่วนของรก สายสะดือและเยื่อหุ้มทารก
กระบวนการเจริญเติบโตของตัวอ่อนหลังปฏิสนธิ
zygote จะเริ่มมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก 2 เป็น 4-8-16 ตามลำดับ เมื่อแบ่งตัวถึง 16 เรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า morula
morula จะยังไม่ฝันตัวทันที 4 จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างคือมีของเหลวขึ้นภายในแลกเปลี่ยนกลุ่มเซลล์ให้ชิดไปด้านหนึ่งเรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า early blastocyst จะมีการแบ่งตัวไปเรื่อยๆ จนมีรูปร่างคล้างวงหวน แบ่งเป็น2 ส่วน คือ trophoblast คือส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรก embryoblast / inner cell mass จะพัฒนากลายเป็นตัวอ่อน
เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 5 วัน zona pellucida จะค่อยเสื่อมสลายไป เรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า last blastocyst
สัปดาห์ที่ 2
การบวนการฝังตัว (implantation)
วันที่ 7-9 late blastocyst จะเกิดการฝังตัว (Implantation) เข้าไปในชั้นเยื่อบุโพรงมดลูก กลไกการฝังตัวจะเริ่มจาก trophoblast มีการเปลี่ยนรูปร่างเป็นลักษณะของวงแหวนแบ่งเป็น 2 ส่วน และในช่วงนี้จะมีการหลั่งฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (hCG) รักษา corpus luteum ไม่ให้สลายไป corpus luteum จะหลั่ง progesterone และ estrogen กระตุ้นการพัฒนาของรกและการหนาตัวของผนังมดลูกชั้น endometrium ป้องกันไม่ให้ blastocyst หลุด ในขณะที่มีการฝังตัว และอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย เรียกว่า implantation bleeding
กระบวนการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
ส่วนที่เป็น embryoblast/inner cell mass จะมีการจัดรูปแบบใหม่ได้กลุ่มเซลล์ลักษณะแบน 2 ชั้น ในปลายสัปดาห์ที่ 2 bilaminar embryonic disc (bilaminar germ disc) จะเริ่มเจริญเติบโตและขยายขนาดของเซลล์เพื่อพัฒนาไปเป็นส่วนประกอบ ของตัวอ่อนที่เรียกว่าendodermal germ layer และ ectodermal germ layer
ในสัปดาห์ที่ 2 จะเริ่มเกิดช่องว่าง 2 ส่วนซึ่งต่อมาจะเจริญเป็นเยื่อหุ้มทารกชั้นใน เรียกว่า amnion ซึ่งมี amniotic fluid อยู่ภายใน และ ช่องว่างเหนือ hypoblast จะมีเซลล์ที่หุ้มรอบช่องว่างที่เคย เป็น blastocele จะกลายเป็น primary yolk sacโดยหน้าที่ของถุงไข่ (yolk sac) เป็นแหล่งสะสมอาหาร สำหรับตัวอ่อน
ภาวะผิดปกติที่ก่อให้เกิดอันตราย
zygote อาจจะฝ่อระหว่างเคลื่อนตัวไปสู่มดลูกเนื่องจากขาดอาหาร
ผนังมดลูกไม่เหมาะสมต่อการฝังตัวทำให้ zygote หลุดลอกออกมาทางช่องคลอด
การตั้งท้องนอกมดลูก โดย zygote อาจจะเจริญเติบโตอยูIในท่อนำไข่
ระยะตัวอ่อน (Embryo Period)
ระยะสำคัญที่มีการพัฒนาส่วน ต่าง ๆ ประมาณร้อยละ 95 ของส่วนต่างๆ ของร่างกายจะเริ่มแบ่งตัวหลังจากที่มีการฝังตัวของ late blastocyst บนผนังมดลูก
สัปดาห์ที่ 3
trilaminar embryonic disc เพิ่มการพัฒนา mesoderm มองเห็นรูปร่าง หัว-หาง ซ้าย-ขวา บน-ล่าง
1.Ectodermal germ layer
เป็นเซลล์ชั้นนอกที่เจริญเป็นผิวหนังชั้นนอก(เล็บผมผิวหนัง)ระบบประสาท(สมองและไขสันหลัง)
2.Mesodermal germ layer
เป็นเซลล์ชั้นกลางเจริญเป็นระบบหัวใจและหลอดเลือด
เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 3 จะเริ่มมีหัวใจเกิดขึ้น ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ไขกระดูก เม็ดเลือด ระบบสืบพันธุ์ ท่อน้ำเหลือง ไต
3.Endodermal germ layer
เป็นเซลล์ชั้นในที่มีการพัฒนาเจริญเป็นระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ต่อมน้ำลาย และท่อทางเดินอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และท่อทางเดินปัสสาวะ
สัปดาห์ที่ 4
เกิดการงอตัวของตัวอ่อนมาก (c-shaped curve)
มีการเจริญของ ท่อประสาท กล้ามเนื้อ กระดูกสันหลัง
เกิดตุ่ม แขน ขา
เริ่มมีการเจริญของ ตา หู ปาก คอหอย หลอดอาหาร หลอดลม หลอดเลือด aorta หัวใจ และเยื่อหุ้มหัวใจจะเห็นได้ชัด
ทวารหนัก สายสะดือ เยื่อหุ้มอวัยวะภายในต่างๆ เช่น เยื่อบุทางเดินอาหาร
สัปดาห์ที่ 5
ศีรษะใหญ่กว่าลำตัว
เริ่มมีการเจรฺิญของสมอง 5คู่ ใน10 คู่
เริ่มมีส่วนของนิ้วมือและนิ้วเท้า
เริ่มมีส่วนของหูนูนขึ้น
สัปดาห์ที่ 6
อวัยวะแยกกันชัดเจน เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า หู ตา
ลำตัวเริ่มยืดออก
เริ่มมีการสร้างกล้ามเนื้อต่างๆ กระดูกของกะโหลกศีรษะและขากรรไกร
สร้างช่องปาก ช่องจมูก และริมฝีปาก
หัวใจมีการแบ่งห้องเรียบร้อยแล้ว
สัปดาห์ที่ 7
มองเห็นลูกตาเด่นชัดขึ้น
ลิ้น เพดาน ปาก เจริญเกือบสมบูรณ์
ทางเดินอาหาร ลำไส้ และทางเดินปัสสาวะแยกออจากกันชัดเจนขึ้น
เริ่มมีความแตกต่างของต่อมเพศภายในรังไข่และอัณฑะ แต่ยังแยกเพศจากอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ได้
สัปดาห์ที่ 8
สร้างอวัยวะครบทุกส่วน
สายสะดือเจริญสมบูรณ์โดยมีระบบการไหลเวียนเลือดผ่านสายสะดือ
ใบหน้าจะมีลักษณะชัดเจนมากขึ้น แขนและขาชัดเจน
นิ้วมือแรกนิ้วเท้าแยกออกจากกันได้
ปุ่มฟันน้ำนมเริ่มเป็นรูปร่าง
การเจริญของกระดูกยาวกล้ามเนื้อมัดใหญ่เริ่มมีการหดรัดตัวเคลื่อนไหวได้แต่มารดายังไม่รู้สึก
สร้างอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกแต่ยังแยกเพศไม่ได้
ระยะชีวิตใหม่ หรือระยะทารก (Fetus Period)
คือระยะเวลาที่ต่อ จากระยะตัวอ่อนไปจนถึงระยะคลอด เป็นช่วงระยะตั้งแต่สัปดาห์ที่ 9 จนถึงคลอดในระยะนี้มีการพัฒนาอวัยวะต่างๆของร่างกายสมบูรณ์
สัปดาห์ที่ 9 - 12
เรียกระยะนี้ว่า stage of initial fetal activity
ลำตัวเจริญเติบโตจนเทียบศีรษะมีขนาดครึ่งหนึ่งของลำตัว
แขนและขาเริ่มเคลื่อนไหวเล็กน้อย
ใบหน้าจะมีลักษณะชัดเจนมากขึ้น
เริ่มมีเลขแยกเพศได้ชัดเจนจากอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
เริ่มมีการสร้างเลือดจากตับ
สัปดาห์ที่ 13-16
เรียกระยะนี้ว่า period of rapid fetal growth
ศีรษะมีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของลำตัว
เริ่มมีการสร้างขนอ่อนโดยเฉพาะบริเวณศีรษะ
มองเห็นแสงภายนอกถึงแม้ว่าเปลือกตายังปิดอยู่
ผิวหนังบางสามารถมองเห็นเส้นเลือดได้ชัดเจน
มีการเคลื่อนไหวของระบบหายใจ
สามารถกลืนน้ำหล่อทารกได้
ลำไส้เริ่มมีขี้เทา(meconium)
มีการเคลื่อนไหวจนมารดาอาจรู้สึกได้ครั้งแรก(quickening)
สามารถแยกเพศได้ชัดเจน
สัปดาห์ที่ 17-20
มีขนอ่อนทั่วตัว
เริ่มสร้างไขมันสีน้ำตาล(brown fat)
เริ่มมีไข(vernix caseosa) คลุงผิวหนัง
มีผมบริเวณศีรษะ ขนคิ้ว ขนตา หัวนม
เล็บยาวขึ้น
ดิ้นหรือเคลื่อนไหวจนมารดารู้สึกได้ชัดเจน
จังหวะแห่งชีวิตเริ่มลงตัวและเริ่มมีพัฒนาการของนิสัยการนอน
ฟังเสียงหัวใจผ่านทางหน้าท้องมารดาได้ด้วยหูฟังตอนอายุ 20 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 21-24
ร่างกายจะเริ่มได้สัดส่วน
ผิวหนังเหี่ยว
เริ่มมีรีเฟลกซ์ของการกำมือ ลืม-หลับตาได้
ถุงลมในปอด(alveoli) เริ่มทำงาน ถ้าการตั้งครรภ์สิ้นสุด อยู่ได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงเนื่องจากระบบหายใจยังไม่เจริญเต็มที่(unviable immature fetus)
สัปดาห์ที่ 25-28
เริ่มมีการสร้างชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
ผิวหนังย่นน้อยลงยังคงมีสีแดง
ปกคลุมด้วยไขระบบไหลเวียนเลือดพัฒนามากขึ้น
ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเริ่มลงถุง
เริ่มมีการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ ถ้าการตั้งครรภ์สิ้นสุดลงทารกมีโอกาสรอดชีวิตได้ โดยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด(viable premature fetus)
สัปดาห์ที่ 29-32
การเพิ่มน้ำหนักของกล้ามเนื้อและไขมัน ผิวหนังตึงมาก
ขนอ่อนตามลำตัวน้อยลง
กระดูกเจริญได้เต็มที่ แต่อ่อนและงอ
ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะลงถุงเรียบร้อยแล้ว
ระบบประสาทส่วนกลางเจริญเต็มที่ ถ้าการตั้งครรภ์สิ้นสุดลงในระยะนี้ทารกจะมีโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น ถ้าได้รับการดูแลอย่างดี
สัปดาห์ที่ 32-36
ร่างกายและแขนขาของทารกเจริญเต็มที่
ผิวหนังตึงมากขึ้น ขนอ่อนค่อยหาย
ใบหูมีกระดูกอ่อน
อัณฑะมีรอยย่น
ตอบสนองต่อแสง เสียง และความเจ็บปวดได้
ภายในลำไส้ของลูกจะเต็มไปด้วยของเหลวสีเขียวเข้มที่เรียกว่า Meconium
ปริมาณของน้ำคร่ำในครรภ์ก็จะลดลง อาจกลับหัวลงเรียบร้อยแล้ว
ถ้าคลอดในระยะนี้มีโอกาสรอดชีวิตมากแต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลพิเศษ
สัปดาห์ที่ 37-40
พิจารณาว่าเป็นทารกที่ครบกำหนด
กะโหลกศีรษะเจริญเติบโตมีเส้นรอบวงศีรษะโตกว่ารอบอก
ผิวหนังเป็นสีชมพูและตึง
มีขนอ่อนบริเวณแขน
เล็บยาวพ้นปลายมือ
ทารกเพศชายลูกอัณฑะจะลงถุงอัณฑะ ทารกเพศหญิงแคมใหญ่จะมาแนบชิดกันทั้งสองข้าง
ทารกจะร้องทันทีเมื่อคลอด และลืมตา มีการเคลื่อนไหวของแขน ขา เท้า
สรีรวิทยาของทารกในครรภ์
ระบบโลหิต
การสร้างเม็ดเลือดใน yolk sac จากนั้นเปลี่ยนมาที่ ตับ,ไขกระดูก
erytropoietin ควบคุมการสร้างเม็ดเลือด ซึ่งสร้างจากตับ และเปลี่ยนมาที่ไต
มี hemoglobin F --> hemoglobin A
ระดับของ hemoglobin 12 กรัม/ดล(สัปดาห์ที่ 20) , 18 กรัม/ดล (สัปดาห์ที่ 40)
ปริมาตรของเลือดทารกครบกำหนดมี 78 มล./นน. 1 กก.
ปริมาตรของเลือดในรกมี 45 มล./นน. 1 กก.
ต้องรับวิตามิน K เพื่อช่วยในการแข็งตัวของเลือด
ระบบภูมิคุ้มกัน
เริ่มทำงานเมื่ออายุครรภ์ 13 wks
IgG
-สร้างโดยมารดาส่งผ่านรก 16 wks
-สูงสุด 4 wks สุดท้าย
-สร้างโดยทารกจะเท่าวัยผู้ใหญ่เมื่อมีอายุ 3 ปี
IgM
ไม่ผ่านรก เกิดจากการติดเชื้อในครรภ์(การดูดนม,กลืนน้ำคล่ำ)
B lymphocyte
-สร้างจากตับ เมื่ออายุครรภ์ 9ิ wks
-ตรวจพบในเลือดและม้ามเมื่ออายุครรภ์ 12 wks
-เริ่มสร้างและส่งออกมาจากต่อม thymus เมื่ออายุครรภ์ 14 wks
ระบบประสาท
เริ่มทำงานตั้งแต่อายุครรภ์ 3 wks
3 wks ปรากฏบริเวณที่จะพัฒนาเป็นสมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาท
7 wks มีตุ่มรับรสที่ลิ้น
8 wks มีการงอกของคอและลำตัว
10 wks เริ่มกลืนได้ ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นโดยการกรอกตา อ้าปาก และขยับนิ้ว
12 wks receptor ที่ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน
12-16 wks กำมือได้เต็มที่
24-26 wks เริ่มดูดปาก เริ่มได้ยิน
28 wks สามารถมองเห็นแสงจากภายนอกได้
ระบบทางเดินอาหาร
จะพัฒนามีลำไส้ในสัปดาห์ที่ 4
9-10 wks ตับอ่อนสร้าง insulin
12-13 สามารถดูดกลืนน้ำคล่ำ(amniotic fluid) พร้อมทั้งดูดซึมกลูโคส
20 wks พัฒนาทั้งรูปร่าง และขนาดลำไส้คล้ายปกติ
40 wks จะดูดกลืนน้ำคร่ำ 450-500 ซีซี/วัน ทำให้สะสมเป็นขี้เทาในลำไส้ หากทารกในครรภ์ได้ออกซิเจนไม่เพียงพอ จะทำให้กล้ามเนื้อ sphincter หย่อนตัว และมีขี้เทาออกมาปนในน้ำคล่ำ
ระบบปัสสาวะ
9-12 wksไตของทารกเริ่มสร้าง
14 wks loop of Henle เริ่มทำงาน
36 wks หน่วยไตมีการสร้างขึ้นเรื่อยๆ
40 wks หน่วยไตสร้างครบ
- ไต มีหน้าที่สำคัญคือ ควบคุมปริมาณน้ำคร่ำ
- ปัสสาวะ มีความเข้มข้นต่ำ เนื่องจากมีอิเล็กโทรไลต์ น้อยแต่มีปริมาณ urea,creatinin และ uric acid สูง
- ปริมาตรปัสสาวะ เมื่ออายุครรภ์ครบ 18 สัปดาห์ เท่ากับ7-14 มล/วัน เมื่อครรภ์ครบกำหนด 650มล/วัน
ระบบทางเดินหายใจ
5-17 wks จะมีการเจริญของหลอดลม
16-25 wks จะมีการเจริญของหลอดลมฝอย
25 wks จะมีการสร้างถุงลม(alveoli) เส้นเลือดในปอด และ surfactant ซึ่งสารชนิดนี้จะสามารถใช้ในการบอกการเจริญเติบโตของปอดได้
35 wks ตรวจพบอัตราส่วนของ licithin ต่อ sphingomyelin มากกว่า 2 แสดงว่าปอดเจริญเติบโตเต็มที่
11 wks กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจเริ่มทำงาน
12 wks จะสามารถเคลื่อนไหวทรวงอกจนทำให้เกิดการไหลของน้ำคร่ำเข้าและออกจากปอด
ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมหมวกไต
เมื่อสิ้นสุดไตรมาสแรก สามารถสังเคราะห์เก็บสะสมฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองได้ คือ Growth hormone,ACTH,Prolactin,TSH,LH,FSH
7 wks ตรวจพบ ACTH
17 wks สร้างได้ครบ
Pituitary-thyroid system
ทำงานตั้งแต่สิ้นสุดไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
หลั่ง TSH และ Thyroxine ยังต่ำอยู่ตลอดครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นจึงเพิ่มระดับสูงขึ้นเพราะ Thyroid Stimulating Hormone จากแม่ผ่านรกไปยังลูก
Parathyroid
หลั่ง parathyroid hormone ตั้งแต่สิ้นสุดไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ระบบกล้ามเนื้อ
พัฒนาจากmesoderm
ปลายเดือนแรก มีปุ่มของแขนและขา
จากสัปดาห์ที่ 8 จนถึงหลังคลอด จะมีการสะสมแคลเซียมในกระดูก เพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตของกระดูก
ทารกจะเคลื่อนไหวแรงขึ้นจนมารดารู้สึกได้
ครรภ์แรก สัปดาห์ที่ 18-20
ครรภ์หลัง สัปดาห์ที่ 16-18