Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบประสาทระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง,…
บทที่ 8 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบประสาทระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
การประเมินอาการทางระบบประสาท
วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายวิธีการประเมินทางระบบประสาทได้ 2. จำแนกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะได้ 3. บันทึกการประเมินระดับความรู้สึกตัว (Glasgow Coma Scale) ได้อย่างถูกต้อง 4. ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติทางระบบประสาทในระยะเริ่มแรกได้
การซักประวัติประวัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคิดรู้และการรู้สติในการประเมินควรซักถามข้อมูลจากผู้ป่วยโดยตรง แต่ในบางครั้งผู้ป่วยอาจสูญเสียความจำหรือขาดความสามารถในการติดต่อสื่อสารหรืออาจอยู่ในภาวะหมดสติจึงต้องซักถามจากญาติเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง occer Wir การประเมินทางระบบประสาท-ประวัติเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่พบบ่อยเช่น•อาการปวดศีรษะตามัวอาเจียนอาการของการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ•อาการชักอาการซึมลงความผิดปกติในการพูดเช่นพูดลำบากพูดตะกุกตะกักพูดไม่ชัดซึ่งในการซักถามนี้ควรครอบคลุมถึงความถี่ช่วงเวลาในการเกิดอาการต่าง ๆ ปัจจัยส่งเสริมและการจัดการกับอาการต่าง ๆ ดังกล่าวการประเมินทางระบบประสาท "ประวัติเกี่ยวกับพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นอาการหลงลืมสติปัญญา" ประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทซึ่งมีผลต่อกระบวนการคิดและระดับความรู้สึกทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่นโรคเนื้องอกในสมอง "ประวัติเกี่ยวกับแบบแผนการดำเนินชีวิตพฤติกรรมบางอย่างส่งผลต่อภาวะความเจ็บป่วยได้เช่นการใช้สารเสพติด
2.การประเมินทางระบบประสาท 1. การประเมินเกี่ยวกับการรู้สติการประเมินเกี่ยวกับการรู้สติมักหมายถึงการประเมินเพื่อดูระดับการรู้สติ (Level of Conslousness) หรือระดับความรู้สึกตัวของบุคคลนั้นระดับความรู้สึกตัว (Level of Consiousness)
Full or Alert เป็นภาวะที่มีระดับการรู้สติเป็นปกติ Confusion เป็นภาวะที่สูญเสียความสามารถในการคิดมีความสับสน Stupor เป็นระยะที่ซึมมากหลับมากกว่าตื่นต้องกระตุ้นด้วยความเจ็บจึงจะลืมตาหรือปักป้อง Semlcom อเป็นอาการกึ่งหมคสติหลับตลอดเวลาตอบสนองต่อความเจ็บแรง ๆ อาจมีการขยับแขนขาหนีอย่างไร้ทิศทางและมีรูม่านตายังมีปฏิกริยาต่อแสงอยู่ Coma เป็นภาวะที่หมดสติไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ นอกจากความเจ็บปวดอย่างรุนแรงในลักษณะเกร็ง reflex ต่าง ๆ อาจมีอยู่หรือหายไปก็ได้
Olfactory nerve รับความรู้สึกด้านกลิ่นโดยมีเซลล์รับกลิ่นอยู่เยื่อบุของโพรงจมูกส่วนบน 2. Optic nerve รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็นมีเซลล์รับภาพอยู่ที่ retina ของนัยน์ตา 3. Oculomotor nerve ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อภายนอกลูกตาทั้งหมดยกเว้น Superior oblique และ lateral nerve เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตาชนิดใต้อำนาจจิตใจ 4. Trochlear nerve ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ Superior oblique ของลูกตาทำให้มีการเคลื่อนไหว 5. Trigeminal nerve รับความรู้สึกจากบริเวณหน้าศีรษะฟันเกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บปวดสัมผัสร้อนเย็นและไปสู่เนื้อเยื่อตั้งแต่ศีรษะลงไปถึงในปากฟันขากรรไกรและลิ้นส่วนหน้าเพื่อควบคุมการเคี้ยว 6. Abducens nerve ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ lateral rectus ของลูกตาทำให้ลูกตาเคลื่อนไหว 7. Facial nerve ไปเลี้ยงที่ลิ้นส่วนหน้าประมาณ 2/3 ทำให้รู้รสและควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าและศีรษะทำให้มีการเคลื่อนไหวแสดงสีหน้าต่างๆ 8.Acoustic หรือ Auditory หรือ vestibulocochlear nerve มี 2 แขนงคือ vestibular ควบคุมการทรงตัวและ Cochlear ทำให้ได้ยินเสียง 9. Glossopharyngeal nerve ไปเลี้ยงที่ลิ้นส่วนหลังประมาณ / 3 รับความรู้สึกจากลิ้นทำให้หลั่งน้ำลายและทำให้กล้ามเนื้อของหลอดคอเคลื่อนไหวเกิดการกลืน 10. Vagus nerve ประกอบด้วยเส้นประสาทหลายเส้นไปสู่อวัยวะต่างๆเช่นฟาริงซ์ลาริงซ์หลอดคอหลอดลมอวัยวะในช่องอกและช่องท้องและทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ 11. Accessory nerve เลี้ยงกล้ามเนื้อ trapezius และ sternocleidimaltoid ทำให้ศีรษะและไหล่มีการเคลื่อนไหว 12. Hypoglossal nerve ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อของลิ้นทั้งหมดช่วยให้มีการเคลื่อนไหวของลิ้น
2.4 การประเมินการเคลื่อนไหวและกำลังของแขนขาประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Motor power)“ เกรด / ระดับ 0 = กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต / แขนหรือขาไม่มีการเคลื่อนไหวเลย“ เกรด / ระดับ 1 = กล้ามเนื้อไม่มีแรงหดตัว แต่ใยกล้ามเนื้อหดตัวได้ / มีการเคลื่อนไหวปลายนิ้วมือ-เท้าได้เล็กน้อย "เกรด / ระดับ 2 = กล้ามเนื้อมีแรงที่จะเคลื่อนไหวข้อตามแรงโน้มถ่วงได้เกรด / ระดับ 3 = แขนหรือขาสามารถยกได้ แต่ต้านแรงที่กคไว้ไม่ได้" เกรดประดับ 4 = แขนหรือขาสามารถยกได้ แต่ต้านแรงที่กดได้น้อยกว่าปกติ•เกรด / ระดับ 5 = แขนหรือขามีกำลังปกติ
การประเมินระบบประสาท
การตรวจการทำงานของการรับความรู้สึก (Sensory Function) เป็นการตรวจการรับความรู้สึกสัมผัสเจ็บปวดอุณหภูมิการตรวจรีเฟล็กซ์ (Reflex function) ประเมิน deep tendon reflexes โดยใช้ไม้เคาะ reflexes ที่ตรวจได้จะแบ่งเป็น 4 เกรด 4+ มีปฏิกิริยาอย่างมาก (Hyperactive) 3+ มีปฏิกิริยามากกว่าปกติ 2+ ปกติ 1+ มีปฏิกิริยาน้อยกว่าปกติ o ไม่มีปฏิกิริยา
การตรวจอาการของการระคายเยื่อหุ้มสมอง (Signs of meningeal Irritation) 1. คอแข็ง (Stiff neck) 2. Brudzinkl's slgn จะให้ผลบวกเมื่องอศีรษะและคอให้คางชิคอกแล้วมีการตอบสนองโดยการงอต้นขาและขาทั้งสองขาง 3. Kernlg slgn ให้ผู้ป่วยนอนหงายราบหนุนหมอนใช้มือข้างหนึ่งประคองจับข้อเท้าอีกข้างวางบริเวณข้อเข่าผู้ป่วยจากนั้นงอข้อสะโพกและเข่าเป็นมุมฉากแล้วค่อยๆเหยียดเข่าออกถ้าผู้ป่วยปวดและมีอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ hamstrings แสดงว่า Kernig sign ให้ผลบวก
. การวัดสัญญาณชีพ (Vital signs) การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพสัมพันธ์โดยตรงกับพยาธิสภาพของสมองการสังเกตและบันทึกความดันโลหิตชีพจรการหายใจและอุณหภูมิร่างกายเป็นระยะจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเพราะสมองบางส่วนเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการหายใจการไหลเวียนและความดันโลหิตรวมทั้งอุณหภูมิของร่างกายเช่นผู้ป่วยมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นจะทำให้มีปฏิกิริยาโต้ตอบ (Cushing response) คือตรวจพบว่าชีพจรช้าลงความดันซิสโตลิกสูงขึ้นความค้นชีพจรกว้างขึ้นจังหวะและลักษณะการหายใจอาจผิดปกติเป็นต้น
การประเมินการหายใจจะสังเกตอัตราการหายใจจังหวะและความลึกหากพบความผิดปกติเช่น 1. การหายใจแบบ Cheyne-Stoke respiration คือการหายใจเร็วสลับกับหยุดหายใจเป็นระยะแสดงว่ามีการเสียหน้าที่ของสมอง dlencephalons 2. การหายใจแบบ Central neurogenic hyperventilation คือหายใจหอบลึกสม่ำเสมอมากกว่า 40 ครั้ง / นาทีพบในผู้ป่วยที่มีการกดเบียด mld brain จากการยื่นของสมองผ่าน tentorial
. การวัดส่วนที่มีพยาธิสภาพของสมอง (focal neurologlcal signs) จะช่วยในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บซึ่งต้องสังเกตจาก 3.1 ลักษณะของรูม่านตา (puplls) ตรวจดูลักษณะรูปร่างของรูม่านตาว่ากลมเท่ากันทั้งสองข้างหรือไม่เท่ากันจากนั้นตรวจดูขนาดและปฏิกิริยาตอบสนองของรูม่านตาต่อแสงโดยใช้ไฟฉายโดยบันทึกเส้นผ่าศูนย์กลางของรูม่านตาแต่ละข้างเป็นมิลลิเมตร (mm.)
Glasgow Coma Scale
.1 ความสามารถในการลืมตา (Eye opening-E) เพื่อดูกลไกการทำงานของศูนย์ควบคุมความรู้สึกตัวว่ามีการเสียหน้าที่จากพยาธิสภาพของสมองหรือไม่โดยแบ่งออกเป็น 4 คะแนนก. ลืมตาได้เอง (Spontaneous opening) ในรายที่ผู้ป่วยลืมตาได้เองให้ 4 ลืมตาเมื่อเรียก (To speech) ให้ 3 คะแนนค. ลืมตาเมื่อเจ็บ (To pain) ให้ 2 คะแนนง. ไม่ลืมตาเลย (None) ให้ 1 คะแนนข.
ความสามารถในการสื่อภาษาที่ดีที่สุด (Best verbal response = V ก. พูดคุยได้ไม่สับสน (Oriented) ให้ 5 คะแนนข. พูดคุยได้ แต่สับสน (Confused) ให้ 4 คะแนนค. พูดเป็นคำ ๆ (Inappropriate Words) ให้ 3 คะแนนง. ส่งเสียงไม่เป็นคำพูด (Incomprehensible sounds) ให้ 2 คะแนนจ. ไม่ออกเสียงเลย (None) ให้ 1 คะแนนในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมหากไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าสื่อสารได้ให้บันทึก T ในช่อง 1 คะแนน **
ความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ดีที่สุด (Best motor response-M) ก. ทำตามคำสั่ง (Obeys commands) ผู้ป่วยสามารถตามคำสั่งได้ให้ 6 คะแนนข. ทราบตำแหน่งที่เจ็บ (Purposeful movement or localizes pain) ให้ 5 คะแนนถ้าผู้ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกควรกระตุ้นซีกที่เป็นอัมพาตเพื่อจะได้สังเกตดูการเคลื่อนไหวของแขนขาข้างที่ดีได้ชัดเจนค. ชักแขนขาหนีเมื่อเจ็บ (Withdraws to pain / non-purposeful) ให้ 4 คะแนน ง. แขนงอเข้าหาตัวเมื่อเจ็บ (Flexion to pain / decortlcate response) ให้ 3 คะแนนแสดงว่ารอยโร 29-30/154 stem เหนือ midbrain จ. แขนเหยียดเกร็งเมื่อเจ็บ (Extension to pain / decerebrate response) ให้ 2 คะแนนแสดงว่ารอยโรคอยู่ในระดับ brain stem ใต้ midbran ฉ. ไม่มีการเคลื่อนไหว (No response) ผู้ป่วยจะไม่สนองตอบต่อความเจ็บปวดเลยอาจมีหรือไม่มีการกระตุกของนิ้วมือนิ้วเท้าซึ่งเป็นการตอบสนองโดย reflex เท่านั้นให้ 1 คะแนน
. การตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัย
การถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะ 2. และกระดูกสันหลัง (Skull and spine radiographic) 2. การถ่ายภาพสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography: CT) เช่น Computed tomography anglography (CTA) 3. การถ่ายภาพโดยใช้คลื่นเสี่ยง (Magnetic Resonance Imaging: MRI) เช่น Magnetic resonance angiography (MRA) 4. การเจาะหลัง (Lumbar puncture) 5. การตรวจคลื่นสมอง (Electroencephalogram: EEG) 6. การฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือดสมอง (Cerebral anglography) 7. การวัดความดันในกะโหลกศีรษะอย่างต่อเนื่อง (Continuous Intracranial Pressure Monitoring)
ปัญหาที่พบบ่อยของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาท
ภาวะความรู้สึกตัวลดลง (Alteration of consciousness): เป็นความผิดปกติของระดับความรู้สึกตัวที่ทำให้ความตื่นตัวลคลงมีความรุนแรงของอาการต่างๆกันเช่นDrowsy ผู้ป่วยนอนหลับตลอด แต่ปลุกตื่นและโต้ตอบได้ดี Stupor ผู้ป่วยนอนนิ่งปลุกไม่ค่อยตื่นต้องกระตุ้นด้วยตัวกระตุ้นที่ค่อนข้างรุนแรงจึงจะตื่นและตอบสนองเช่นทำให้เจ็บ Coma ผู้ป่วยหลับตลอดไม่ตอบสนองไม่ว่าจะกระตุ้นด้วยตัวกระตุ้นที่รุนแรงเท่าใดก็ตาม
พยาธิสรีรวิทยา Ascending reticular activating system หรือ ARAS เป็นระบบการทำงานที่ทำให้เกิดการตื่นตัว ARAS เป็นระบบที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกับสมองส่วนต่างๆทางเดินประสาทจะเริ่มต้นที่ก้านสมองส่วนล่างบริเวณ medulla ผ่านไปยัง pons และ midbrain ไปยัง thalamus แล้วกระจายไปทั่ว cerebral cortex ข้อมูลเกี่ยวกับการรับความรู้สึกจะถูกส่งผ่านไปยัง cerebral cortex การตื่นตัวจะกระตุ้นเซลล์ประสาทที่สมองใหญ่ทำให้เกิดการตื่นตัวหรือตระหนักรู้ของสมองใหญ่เป็นการทำงานย้อนกลับซึ่งกันและกันการรู้สึกตัวจะเปลี่ยนแปลงเมื่อวงจรดังกล่าวมีปัญหามีระดับความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยถึงมาก
การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง (Infection)
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) :check:
เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองชั้น leptomenlnges (plamater และ arachnold) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังโดยมีน้ำหล่อสมองและไขสันหลังไหลเวียนอยู่เยื่อหุ้มสมองชั้นนี้จะติดต่อกันตลอดดังนั้นเมื่อมีการติดเชื้อในส่วนใดของ leptomeninges การติดเชื้อนั้นก็จะลุกลามไปทั่วสมองไขสันหลังและอาจลุกลามเข้าไปในโพรงสมองได้การเกิคเยื่อหุ้มสมองอักเสบพบมากในบุคคลที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงและพบในคนผิวดำมากกว่าผิวขาว
การติดเชื้อโดยตรงจากภายนอกเข้าสู่ subarachnold space เช่นการติดเชื้อที่เข้าทางกะโหลกศีรษะที่แตกหรือเป็นการติดเชื้อจากการที่แพทย์เจาะหลังการผ่าตัดเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะเป็นต้น 2. การติดเชื้อที่ลุกลามไปจากแหล่งติดเชื้อที่อยู่ใกล้สมองและไขสันหลังเช่นการติดเชื้อในหูหรือ sinus ต่างๆและมีการแตกทะลุเข้าสมอง 3. การแพร่กระจายทางละอองอากาศจากการไอจามเข้าสู่ mucosa ของรูจมูกแพร่ไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 เข้าสู่สมอง
เกิดการอุดตันทางเดินของ CSF จากเยื่อพังผืดทำให้ CSF ไหลผ่านไม่ได้หรือได้น้อยทำให้เกิด hydrocephalus เส้นประสาทสมองเสียหน้าที่เนื่องจากถูกบีบรัดด้วยเยื่อพังผืดที่บริเวณฐานกะโหลกเส้นประสาทสมองที่ถูกบีบรัดและเสียหน้าที่ที่พบบ่อย ได้แก่ เส้นประสาทคู่ที่ 2 3 4 6 7 8 ไขสันหลังเสียหน้าที่เนื่องจากถูกบีบรัดด้วยเยื่อพังผืดทำให้เกิดอาการเช่น Spastic paraparesis หรือ Quadripararesis เป็นต้น 0
อาการและอาการแสดงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) ภาวะ Syndrome of Inappropriate Antidiuretic Hormone: SIADH ที่เกิดจากการอักเสบของสมองทำให้รบกวนการทำงานของ Hypothalamus ทำให้หลั่ง ADH ออกมามากพบว่าผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกินและมักมีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเพราะน้ำที่ถูกดูดซึมกลับเข้ามามากจะเจือจางปริมาณโซเดียมในร่างกายให้ต่ำลง• Waterhouse-Friderichsen syndrome búsภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อ Nameningitis มีอาการคือมีจำเลือกตามาผิวหนังเกิดภาวะ disseminated intravaScular coagulopathy (DIC) ทำให้มีการตกเลือดในต่อมหมวกไต (Adrenal hemorrhage) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
สมองอักเสบ ([Encephalitis]
สมองอักเสบ (Encephalitis) เป็นการติดเชื้ออย่างเฉียบพลันของเนื้อเยื่อสมองและไขสันหลังส่วน parenchymal โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน barsal gangla ในการติดเชื้อนี้อาจรวมไปถึงชั้นเยื่อหุ้มสมองด้วยจะพบการตายและการอักเสบของเนื้อสมองเกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อการทำลายเนื้อสมองอย่างถาวรสมองอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายชนิคส่วนใหญ่มาจากยุงสมองอักเสบเป็นโรคที่รุนแรงถึงตายได้ถ้ารอดก็มักจะมีปัญหาพิการถึงขั้นประสาทเสื่อมสมองพิการ
ไวรัสจะเข้าสู่สมองและไขสันหลังได้ 3 ทางคือ 1. แพร่กระจายมาตามกระแสเลือด 2. เข้ามาตามเส้นประสามและเข้าสู่สมองหรือไขสันหลังเช่นเชื้อ rables virus 3. เข้ามาทางเยื่อบุโพรงจมูกผ่าน Crlbrfform plate เข้าสู่ olfactory bulb และ temporal lobe
อาการและอาการแสดงสมองอักเสบ (Encephalitis)ระยะแรกผู้ป่วยมักมีอาการนำ ได้แก่ อาการไข้ปวดศีรษะครั่นเนื้อครั่นตัวก่อนเกิดอาการทางสมองบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ จากเชื้อที่เป็นสาเรคนำมาก่อนเช่นคางทูม (mumps) ทำให้เกิดต่อม parotic อักเสบหัด (measles) หรืองูสวัดจากเชื้อ herpes Zoster ทำให้เกิดพื้นที่ผิวหนังระยะต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการทางสมองซึ่งจะพบความผิดปกติของระดับความรู้สึกตัวบางราย-มีอาการสับสนวุ่นวายหรือเพ้อคลั่ง-มีอาการซึมไม่รู้สึกตัวจนถึงหมดสติได้มีอาการชักซึ่งพบทั้งชนิดชักทั้งตัวและชักเฉพาะที่อาจมีอัมพาตรายที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วยตรวจพบว่ามีคอแข็งและหลังแข็ง
LUMBAR PUNCTURE: LP Encephalitis การเจาะหลังจะพบ ๕ok-sert% ความดันของน้ำไขสันหลังปกติหรือสูงเพียงเล็กน้อย•น้ำไขสันหลังส่วนมากจะใสไม่มีสีพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงส่วนใหญ่เป็น lymphocyte ถ้าการอักเสบของเนื้อสมองรุนแรงจนมีเลือดออกหรือมีการตายเฉพาะส่วนก็มักจะพบเม็ดเลือดแดงปนได้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติส่วนระดับโปรตีนสูงเล็กน้อย•ในรายที่มีการติดเชื้อจากเชื้อ herpes simplex virus สามารถตรวจพบเชื้อใน CSF ได้.
ฝีในสมอง (Brain abscess)
ฝีในสมอง (Brain abscess) เป็นการอักเสบมีหนองและมีการสะสมของหนองอยู่เป็นที่ภายในเนื้อเยื่อสมอง "ขนาดและจำนวนของฝีมีความแตกต่างกันอาจจะเกิดขึ้นแบบเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด" อาจพบฝีในสมองมองมากกว่าหนึ่งที่บริเวณที่พบฝีในสมองบ่อยเรียงลำดับ ได้แก่ frontal, parietal, temporal, occipital, cerebellum และ basal ganlia
มีในสมองอาจเกิดจากสมองติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราประหลาทำให้เกิดเป็นก้อนฝีหนองขึ้นมาเชื้อโรคเข้าสมองได้หลายรูปแบบคือ 1. ลุกลามจากอวัยวะใกล้เคียงที่มีการอักเสบติดเชื้ออยู่ที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ การอักเสบเรื้อรังของหูชั้นกลางโพรงจมูกอักเสบ Osteomyelitis ของกะโหลกศีรษะ 2. ทางกระแสเลือดพบบ่อย ได้แก่ โรคของปอดและเยื่อหุ้มปอดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด 3. ได้รับเชื้อโดยตรงจากการผ่าตัดสมองหรือจากการได้รับอุบัติเหตุหรือบริเวณใบหน้าหรือกะโหลกศีรษะ 4. การบาดเจ็บที่เนื้อสมองและจากการแทงทะลุผ่านเนื้อสมอง
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือแบคทีเรียกลุ่ม Aeroble streptococcus และ Anaeroblc streptococcus ถัดมา ได้แก่ Bacteroides fragilis และแบคทีเรียในกลุ่ม enterobacteriaceae เชื้อราที่พบบ่อย ได้แก่ Actiomycosis, Nocardia, Aspergilus และ Candida albican ร้อยละ 25 ของฝีหนองในสมองมีเชื้อโรคมากกว่าหนึ่งชนิด Cerebral abscess
อาการและอาการแสดงฝีในสมอง (Brain abscess) อาการผิดปกติทางระบบประสาทอาการและอาการแสดงของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงปวดศีรษะและคลื่นไส้อาเจียนมีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัวตั้งแต่ซึมเล็กน้อยจนถึงหมดสติมากกว่าร้อยละ 50 ตรวจพบเส้นประสาทตาบวม (papilledema ได้ประมาณร้อยละ 25
ฝีในระยะเริ่มแรกและมีขนาดเล็กกว่า 2 cm. ใการรักษาโดยให้ยา ATB ที่ผ่าน blood brain barrier ได้จะช่วยทำให้มีฝ่อลงหากไม่ได้ผลให้การรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อระบายหนองออกและให้ยา ATB เพื่อฆ่าเชื้อโรคควบคู่กันไปอาจให้ยาเพื่อลดอาการสมองบวม•ในรายที่มีอาการชักอาจให้ยากันชักจนกว่าผู้ป่วยจะไม่พบอาการชัก O 2. การผ่าตัดพิจารณาะตาแหน่ง, ขนาด> 3 ซม., จำนวนระยะของ 1. ) เจาะดูดหนอง (Stereotactic aspiration) ใช้ในกรณีฝ่อยู่ในตำแหน่งที่สำคัญซึ่งการผ่าตัดอาจก่อให้เกิดความพิการหรือฝีมีขนาดเล็ก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง
•การกำซาบเลือคของเนื้อเยื่อสมองลดลงเนื่องจากการกระบวนการอักเสบติดเชื้อในสมอง / สมองบวมภาวะ Hydrocephalus / ความดันภายในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นกระบวนการของความคิดเปลี่ยนแปลงเนื่องจากช่วงความสนใจสั้นลง / ความจำบกพร่องจากสมองถูกทำลายหรือสมองขาดออกซิเจนจากภาวะการกำซาบเลือคลคลง•แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ / การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเนื่องจากศูนย์ควบคุมการหายใจถูกกดจากความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นประสิทธิภาพในการทำทางเดินหายใจให้โล่งลดลงเนื่องจากระดับความรู้สึกตัวลดลง / อ่อนเพลีย / อ่อนแรง / มีเสมหะมากเสมหะเหนียวข้น•ไม่สุขสบาย: ปวดศีรษะ / ปวดหลังปวดเมื่อยตามตัว / คอแข็ง / กล้วแสง / เนื่องจากมีการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมองอุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลง: มีไข้เนื่องจากกระบวนการติดเชื้อ / การทำลายกลไกควบคุมของสมองเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหรือบาดเจ็บเนื่องจากการชัก / ระดับความรู้สึกตัวลดลง / มีความบกพร่องของความคิด
การกำซาบในสมองลดลงเนื่องจากขาดประสิทธิภาพการทำทางเดินหายใจให้โล่งเนื่องจากระดับความรู้สึกตัวลดลงเสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนแบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเสี่ยงต่อการสำลักเนื่องจากระดับความรู้สึกตัวลดลงญาติและผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากภาวะรู้สติลดลง / ระดับความรู้สึกตัวลดลง
หลักการพยาบาลของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลางไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตามการพยาบาลจะรวมถึง "การให้การดูแลขณะที่มีอาการ" การติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ จนผู้ป่วยเข้าสู่ระยะพักฟื้น "การพยาบาลในระยะเฉียบพลันจะเป็นการดูแลแบบประคับประคองเพื่อเฝ้าระวังอันตรายจากการเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง" การคงไว้ซึ่งการระบายอากาศที่เพียงพอ osuere บ "การคงไว้ซึ่งความสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรลัยท์การควบคุมอาการไข้อาการชักและอาการปวดศีรษะการลดความเครียดที่เกิดจากภายในและภายนอกร่างกาย" การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ "การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนาน ๆ การเข้าสู่ระยะพักฟื้นเน้นการฟื้นฟูสภาพและการป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนและความพิการหลงเหลืออยู่
Non Infection: ไม่ใช่การติดเชื้อ
การชัก (Selzure) หมายถึงการเกิดกระแสไฟฟ้าในเซลล์ประสาทขึ้นพร้อมกันและควบคุมไม่ได้เป็นผลทำให้อาการเกิดขึ้นทันทีทันใดและมักเป็นซ้ำ ๆ กันอาการที่พบอาจเป็น 1 อย่างหรือหลายอย่าง ได้แก่ 1. ไม่รู้สึกตัว 2. มีการเกร็งหรือกระตุกเฉพาะที่หรือทั่วตัวหรือทั้ง 2 อย่าง 3. มีความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก 4. มีความเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
สาเหตุของการชักอาจมาจาก•พันธุกรรม "ความไม่สมดุลของเมตาโบลิกหรืออิเล็กโทรลัยยท์“ การติดเชื้อการบาดเจ็บที่ศีรษะโรคหลอดเลือดสมอง" ความผิดปกติของสมอง แต่กำเนิดเนื้องอก "ความเสื่อมและช่วงของการเลิกแอลกอฮอล์หรือ barbiturate ราเทเ Es สนอง
พยาธิสรีรวิทยาการชัก (seizure)
ระยะที่ 1 อาการนำก่อนการชัก "อาการนำเช่นเศร้าอารมณ์เปลี่ยนแปลงเกิดก่อนชักหลายวันหรือชม." อาการเตือน (Aur อ) เกิดก่อนชักเป็นวินาทีหรือนาที ได้แก่ ประสาทหลอนกลิ่นรสทางตาทางหูเห็นแสงได้ยินคนพูด "อาการร่วมทางความรู้สึกเช่นชาเจ็บ" อาการทางกล้ามเนื้อเช่นกระตุกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย“ อาการเตือนจะช่วยนอกตำแหน่งที่ทำให้เกิคอาการชักได้
ระยะที่ 2 ระยะเกร็ง (Tonic seizure) มีอาการเกร็งแข็งของกล้ามเนื้อทั่วๆไปเหมือนไม่กระคานทำให้ล้มลง•อาจมีน้ำลายมากอาจมีการกัดฟันหยุดหายใจจากกล้ามเนื้อเกร็ง•เกิดอาการเขียวได้. •กินเวลา 20-60 วินาที
ระยะที่ 3 ระยะกระตุก (Clonic phase) มีอาการกระตุกของแขนขาระยะแรกจะถี่ต่อไปค่อยๆลดลงอาจกัดลิ้นมีเสมหะมีฟองน้ำลายในปากอาจมีปัสสาวะราดรูม่านตาขยายใหญ่กว้างไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง
ระยะที่ 4 ระยะหลังชัก (Postical phase) เป็นระยะที่กล้ามเนื้อคลายตัว-อาจหมดสติต่อไปประมาณ 2-3 นาทีอาจหลับต่อเมื่อตื่นจากชักอาจมีอาการมึนงงศีรษะและคลื่นไส้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเสี่ยงต่อภาวะพร่อง
ออกซิเจน / แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากการชักประสิทธิภาพในการทำทางเดินหายใจให้โล่งลดลงเนื่องจากระดับความรู้สึกตัวลดลง / ภาวะชักเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหรือบาดเจ็บเนื่องจากการชัก / ระดับความรู้สึกตัวลดลงเสี่ยงต่อการสำลักเนื่องจากระดับความรู้สึกตัวลดลง / การชักขนาด lastery Var
หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการชัก
กำจัดสาเหตุและลดปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอาการชัก 2. ควบคุมอาการชักด้วยยา 3. การดูแลเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีอาการชักหรืออยู่ในภาวะชักอย่างต่อเนื่อง 4. การรักษาด้วยการผ่าตัดหรือการใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้น 5. การคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต 6. ส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการที่เกิดจากโรคและการรักษา
กิจกรรมการพยาบาลเมื่อผู้ป่วยมีอาการชัก 1. คงไว้ซึ่งการได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอในขณะชักและหลังชักเกร็งดูแลทางเดินหายใจให้โล่งระวังสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจและการสำลักเศษอาหารและน้ำลายดูแลให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ 2. คงไว้ซึ่งการป้องกันอันตรายจากการเกิดภาวะชักเกร็งดูแลระวังอุบัติเหตุขณะชักเกร็งไม่ผูกยึดผู้ป่วยขณะ 3. คงไว้ซึ่งการได้รับน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอชัก 4. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในที่สงบปลอดภัยและยกราวกั้นเตียงขึ้นตลอดเวลา 5. ติดตามประเมินสัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัวอาการหลังชักเป็นระยะ ๆ 6. เฝ้าระวังการชักซ้ำ 7. ดูแลให้รับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่งแนะนำห้ามหยุดยารับประทานเอง 8. แนะนำให้มาพบแพทย์ตามนัด
:
:
: : :
:
:
:
:
: