Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ธรรมนูญสุขภาพและระบบสุขภาพ - Coggle Diagram
ธรรมนูญสุขภาพและระบบสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
รัฐ เอกชน ประชาชนมีระบบสุขภาพที่ต่างกันอาจทำให้เกิดภาพอนาคตได้หลายรูปแบบ ดังนี้
ภาพที่1 “ประชาชนและรัฐร่วมคิดและสร้างสรรค์เพื่อผลักดันสุขภาพ” จะเกิดอะไรขึ้นถ้ารัฐให้ความต่อระบบสุขภาพของทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยและสนับสนุนให้เอกชนและชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพของประเทศ และระบบนี้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจำนวนมากทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและความพร้อมในการจัดการสุขภาพชุมชน
ข้อดี
ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางนโยบายสุขภาพของชุมชนเองได้
ทั้งคนไทยและต่างชาติสามารถเข้าบริการสุขภาพที่เท่าเทียมกันได้ทั้งรพ.ระบบรัฐ ต้องปรับให้ทัดเทียมเท่ากับรพ.เอกชน
เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ
นโยบาย “ไทยเป็นแหล่งอาหารโลกทำให้ธุรกิจส่งออกอาหารและเกษตรเติบโต
ข้อเสีย
บริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ที่เข้ามาแข่งขันในไทยมีความได้เปรียบจนทำให้ยาแพง
การรวมระบบประกันสุขภาพเป็นระบบเดียวต้องทำความเข้าใจกับหน่วยงาน ดูแลระบบบริการสุขภาพและหน่วยงานดูแลงบประมาณค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน
เนืองจากเปิดให้คนต่างชาติมารับบริการมากขึ้นรัฐต้องใช้งบประมาณสูงขึ้น
รัฐต้องใช้งบประมาณสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพ
ภาพที่ 2 "ระบบสุขภาพของใครของมัน" ภาครัฐมุ่งเน้นทางเศรษฐกิจมาก แต่ไม่มองปัญหาสุขภาพส่วนบุคคล รัฐจะไม่คุมค่าใช้จ่ายของกองรับบประกันสุขภาพ ไม่ควบคุมการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้กองทุนทั้งหลายมีความแยกส่วน แต่ประชาชนมีความอิสระการเข้าถึงและเลือกใช้รับบริการสุขภาพ ที่ตนเองต้องการได้ ในขณะที่ภาพเอกชนจะมุ่งเน้นผู้ที่มีกำลังจ่ายเองและชาวต่างชาติเป็นหลัก
ข้อดี
1.มีการนำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้
2.มีอิสระมุ่งพัฒนาบริการสุขภาพเพื่อชาวต่างชาติและคนไทยที่ไม่มีกำลังจ่าย
3.ประชาชนเลือกใช้บริการได้ตามต้องการ
4.ภาคอุตสาหกรรมและเกษตรเติบโตมาก
ข้อเสีย
1.เกิดความแตกต่าง เหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและรับบริการสุขภาพอย่างมาก
2.เกิดภาวะยา เทคโนโลยีมีราคาแพง
3.มีแนวโน้มเกิดโรคใหม่ที่ไม่เคยพบจากชาวต่างชาติ
4.พื้อนที่การเกษตรจะถูกครอบงำผูกขาดด้วยนายทุนใหญ่และชาวต่างชาติ
ภาพที่3 "ระบบสุขภาพยังมีความสำคัญ แต่รัฐและประชาชนต้องร่วมกันประคับประคอง" แต่รัฐยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นหลัก แต่ก็ยังมีการให้ความสำคัญต่อระบบสุขภาพ มีการกระจายอำนวยให้กับประชาชนและท้องถิ่น เข้ามามีบทบาทในการกำหนดทิศทาง และตัดสินด้านสุขภาพตามตามความต้องการของตัวเอง
ข้อดี
1.ชุมชนท้องถิ่นสามาถจัดระบบสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการได้
มีการกำกับงบประมาณค่าใช้จ่ายในกองทุนหลัก
3.มีการใช้เทคโนโลยีมาใช้
4.รัฐสนับสนุนการสร้างแหล่งอาหาร
ข้อเสีย
1.มุ่งเศรษฐกิจไม่ได้มุ่งเน้นสุขภาพ
2.ค่าใช้จ่ายสูงเกินควาามจำเป็น
3.สินค้าที่ปนเปื้อนเข้ามาในประเทศได้ง่ายขึ้น
4การเกษตรกรรมที่ผูกขาดทำให้.อาหารมีราคาแพง
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
นิยาม ’สุขภาพ’ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ครอบคลุมภาวะทั้งทางกายมนุษย์ที่สมบูรณ์
2.จิต
3.สังคม
1.กาย
4.ปัญญา
ระบบย่อยของสุขภาพที่สัมพันธ์กับสุขภาพ
บุคคล
ชุมชน
สังคม
มาตรา ๒๕(๑) ของ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติกำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเป็นร่มใหญ่ของระบบสุขภาพไทยในอนาคต
ธรรมนูญสุขภาพ ฉบับแรก ประกาศใช้เมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒
คณะกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒
ภาครัฐ
ภาควิชาการ
ภาคเอกชน
ภาคประชาสังคม
ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ ๒ มีความสอดคล้องกับนโยบายระดับชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗
ร่างกรอบแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒
นโยบาย ‘กลไกประชารัฐ’
ส่งเสริมบทบาทและการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย
ภาครัฐ
เอกชน
ชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วิชาชีพ
วิชาการ
ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ ๒ มีหลักการสำคัญของระบบสุขภาพรวมไว้ใน ๓ สาระแรก
ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมและความมั่นคงของประเทศ ทุกนโนบายห่วงใยสุขภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ การกำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพเสมอ
2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
การสร้างเสริมสุขภาพ
การป้องกันควบคุมโรค
การจัดการกับปัจจัยสังคมที่กำหนดสุขภาพ
การมีหลักประกันและการคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
การจัดให้มีหลักประกันและการคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
หลักประกันและการคุ้มครองให้เกิดสุขภาพต้องควบคุมทุกคนอย่างเสมอภาค เท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ
สาระสำคัญอื่นๆ
การสร้างเสริมสุขภาพให้ชุมชนเป็นฐานในการพึ่งตนเอง
ป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
การบริการสาธารณสุขและการสร้างหลักประกันคุณภาพ
ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ
สถานการณ์ด้านระบบสุขภาพ
ความสัมพันธ์ของระบบสุขภาพส่งผลต่อ
กาย
จิต
ปัญญา
สังคม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพ
สถานการณ์การเมืองการปกครอง เช่น ควาขัดแย้งทางการเมือง ความไม่สงบของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คอร์รัปชั่น ทำให้คนเกิดความเครียด วิตกกังวลมากขึ้น
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น มีความเลื่อมล้ำในเรื่องการกระจายรายได้สูง ทำให้เกิดการเข้าถึง การใช้บริการสุขภาพ การเจรจาการค้าเสรีเอฟทีเอ ก่อให้เกิดการผูกขาดตลาดยา การนำเข้ายามีราคาแพง รวมทั้งการกำหนดนโยบายศูนย์กลางบริการสุขภาพในเอเชีย
สถานการณ์ทางประชากรและสังคม เมื่อชุมชนเขตเมืองขยาย ผู้คนมีวิถีเขตเมืองเร่งรีบ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาอาชญากรรม คนไทยมีการศึกษาสูงขึ้น สนใจสิทธิมนุษยชนและสิทธิของตน คอยตรวจสอบสังคมมากขึ้น ในปี 2573 มีคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โรคแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว
สถานการณ์ทางเกษตรและอาหาร องค์กรอาหารและการเกษตรแห่งประชาชาติ (FAO) รายงานว่า เด็กไทยมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ถึงร้อยละ 7 เกษตรกรมีผลการตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเกิดพิษ ถึงร้อยละ 39 มีการผูกขาดราคาสินค้าทำให้ราคาสินค้าอาหารและการเกษตรสูงขึ้น
สถานการณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการขยายเขตเมืองและอุตสาหกรรมไปยังพื้นที่เพาะปลูก ทำให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าในปี 2572 ประเทศไทยอาจขาดแคลนน้ำได้ ส่วนปัญหาด้านมลพิษประเทศไทยถูกจัดอันดับที่ 7 ของเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นลพิษทางอากาศ และมีของเสียอันตราย และขยะชุมชนเพิ่มขึ้น
สถานการณืด้านเทคโนโลยี มีการนำเข้าอุปกรณ์และเทคโนโลยีมาใช้รักษาโรคมากขึ้น มูลค่าการนำเข้าเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประเทศไทยไม่มีกฎหมายควบคุมที่เหมาะสม ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สถานการณ์ด้านระบบบริการสาธารณสุข จากการสำรวจในปี 2557 พบสาเหตุการตาย 3 อันดับแรก มาจากหลอดเลือดสมอง ติดเชื้อเอชไอวี อุบัติเหตุทางถนน ปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มสูงขึ้น ระบบบริการสาธารณสุข ภาครัฐสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และมีระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐที่ดีขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการราชการ สุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม รายจ่ายบริการด้านสุขภาพสุขยังคงเพิ่มขึ้น ปละพบปัญหาการผลิตและกระจายบุคลากรทางการแพทย์ รัฐยังมีข้อจำกัดและขาดการทำงานร่วมกัน ทำให้คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเรื่องผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพได้ไม่เต็มที่ ประชาชนได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง ครบถ้วน