Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องมือในการบำบัด ทางการพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
เครื่องมือในการบำบัด
ทางการพยาบาลจิตเวช
การตระหนักรู้ในตนเอง และการใช้ตนเองเพื่อการบำบัด
(Self-Awareness and Therapeutic Use of Self)
อัตตา หรือความเป็นตัวตนของตนเอง(Self)
ลักษณะประจำตัว (Character traits)
ทัศนคติ(Attitudes)
ความต้องการ (Needs)
แรงกระตุ้น (Motives)
พฤติกรรม
ความรู้สึกนึกคิด
ค่านิยม
อัตมโนทัศน์ (Self Concept)
การมองเห็นตนเองว่าเป็นอย่างไร
เป็นแนวคิดที่ตนเองมีต่ออัตตาหรือความเป็นตัวตนของตน
เป็นการรับรู้และการประเมินผลที่บุคคลมีต่อตนเองซึ่งเป็นผลทั้งจากประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบัน อาจจะตรงกับความเป็นจริงหรือผิด
จากความเป็นจริงก็ได้
อัตมโนทัศน์พัฒนามาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
ภาพลักษณ์ของเราในสายตาผู้อื่น สังเกตพฤติกรรมการตอบสนอง จากผู้อื่นหรือวิธีที่ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
เปรียบเทียบตัวเรากับผู้อื่น เช่นตัวเรากับเพื่อนในวัยเดียวกัน
การประเมินความคิดและพฤติกรรมของตัวเราเอง
การรู้ตนเองหรือการตระหนักในตนเอง
(Self-awareness)
การรับรู้รูปแบบของตน
แนวคิดของโรเจอร์ส
ตัวตนของบุคคล (Self)
ตนตามที่รับรู้ (Perceived Self)
ตนตามความเป็นจริง (Real Self)
ตนตามอุดมคติ (Ideal Self)
แนวคิดของโบลส์ และดาเวนพอร์ท
ตนตามที่คาดหวัง (Self-expectation)
คุณคิดว่าคุณควรเป็นอย่างไร
ตนตามการรับรู้ (Self-perception)
คุณคิดว่าคุณเป็นคนอย่างไร
ตนตามความเป็นจริง (Real-self)
จริงๆ แล้วคุณเป็นอย่างไร
ตนตามที่ผู้อื่นคาดหวัง (Other-expectation)
ผู้อื่นคิดว่าคุณควรเป็นอย่างไร
ตนตามที่ผู้อื่นรับรู้ (Other-perception)
ผู้อื่นคิดว่าคุณเป็นอย่างไร
การรู้จักตนในบริบทของสิ่งแวดล้อม
แนวคิดของโจเซฟ ลุฟท์ และแฮรี่ อิงแฮม
(Johari window)
บริเวณที่เปิดเผย(OpenArea)
เรารู้และคนอื่นก็รู้ด้วยตรงตามที่เราเป็นอยู่ ปราศจากการเสแสร้งปกปิด
บริเวณจุดบอด (Blind Area)
คนอื่นมองว่าเราเป็นคนอย่างไร แต่เราไม่รู้หรือไม่ได้ตระหนักว่าเราเป็นอย่างเช่นที่คนอื่นมอง
บริเวณความลับ (Hidden Area)
เราพยายามปกปิดไม่ให้คนอื่นรู้ เพราะความคิด ความรู้สึก หรือพฤติกรรมบางอย่างไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม
บริเวณอวิชชา (Unknown Area)
เป็นส่วนที่เราเองก็ไม่รู้ คนอื่นก็ไม่รู้ อาจเปิดเผยได้โดยใช้วิธีการทางจิตวิทยาในการวิเคราะห์เพื่อดึงขึ้นมาสู่ระดับจิตสำนึก
ขั้นตอนการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง
ขั้นที่ 1 ประเมินโดยตนเอง
ขั้นที่ 2 ประเมินจากผู้อื่น feedback
ขั้นที่ 3 คือ การศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้รับจากทั้งการประเมินโดยตนเองและการประเมินจากผู้อื่น
ปัจจัยที่มีอิทธิพล
ความต้องการขั้นพื้นฐานของพยาบาล
ประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้สึกที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และความรู้สึกที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
ค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติของพยาบาล
ประโยชน์
ทำให้ทราบถึงความเครียดที่ตนเองกำลังมีอยู่และสามารถควบคุมความเครียดได้ตลอดจนสามารถรักษาระดับความเครียดให้อยู่ในภาวะปกติ
ทำให้ติดต่อกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพยาบาลสามารถติดต่อกับผู้ป่วยด้วยความเข้าใจและเป็นไปในรูปแบบของการบำบัดได้
สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะรู้ตัวอยู่ทุกขณะในการทำงาน
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางจิต
(Therapeutic Relationship)
สัมพันธภาพ(relationship)
หมายความถึงกระบวนการนำสัมพันธภาพท่ีบคุคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปทำความรู้จักกัน ติดต่อสัมพันธ์ สร้างความคุ้นเคยสนิทสนมกัน
บุคคลท่ีสัมพันธ์กันจะได้รับผลกระทบจากกันและกัน
แนวคิดการสร้างสัมพันธภาพและ
การสื่อสารเพื่อการบำบัด
Sullivan เชื่อว่าปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์ของ
ผู้ป่วยจิตเวชที่แสดงออกมาเนื่องจากปัญหาของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
Peplau & Sulivan ให้ความสำคัญของการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อแก้ไขปัญหา
ให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีที่จะสร้างสัมพันธภาพได้อย่างเหมาะสมจากการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย
การปฏิบัติการพยาบาลเน้นสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัดระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยเป็นกระบวนการแรกที่พยาบาลจะสร้างความเข้าใจในตัวผู้ป่วย
พยาบาลต้องรักษาความลับของผู้ป่วย เพื่อที่ผู้ป่วยจะเกิดความไว้วางใจ
พยาบาลควรมีความมั่นคง มีขอบเขตที่ชัดเจน เพื่อความน่าเชื่อถือ
สัมพันธภาพแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one to one relationship)
การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและผู้ป่วย จึงเป็นสัมพันธภาพที่มีเป้าหมาย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถติดต่อสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้ตามปกติอีกครั้ง
ความแตกต่างระหว่างการสื่อสารเพื่อการบำบัด
และการสื่อสารเพื่อสังคม
การสื่อสารเพื่อการบำบัด
มีเป้าหมายชัดเจน
ผู้ป่วยบอกปัญหาและระบาย
ใช้เทคนิคการสื่อสาร
มีจุดมุ่งหมายการสื่อสาร
มีการวางแผน รวบรวมข้อมูล
สีสัมพันธภาพแบบวิชาชีพ
การสื่อสารเพื่อสังคม
ไม่มีเป้าหมายชัดเจน
ทั้ง 2 ฝ่ายบอกปัญหาและระบาย
ไม่มีการใช้เทคนิคเฉพาะ
จุดมุ่งหมายที่ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
เกิดเองไม่ต้องเตรียมตัว
สัมพันธภาพแบบเพื่อน
วัตถุประสงค์
พยาบาลสำรวจ ทำความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม ปัญหาของผู้ป่วย
พยาบาลให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่ผู้ป่วย
ผู้ป่วยตระหนักในความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม และปัญหาของตนเอง
ผู้ป่วยได้ใช้ศักยภาพของตน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
ผู้ป่วยระบายความไม่สบายใจต่างๆ ไปในแนวทางที่เหมาะสม
ผู้ป่วยพัฒนาทักษะในการสื่อสาร และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ผู้ป่วยเรียนรู้การควบคุมพฤติกรรม และอารมณ์ของตนเอง ได้ตามแนวทางที่สังคมยอมรับ
ผู้ป่วยมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ในด้านความเชื่อมั่น ความรู้สึกมีคุณค่า และความภาคภูมิใจ
คุณลักษณะที่จำเป็นที่พยาบาลต้องมี
การยอมรับ (Acceptance) คือการที่พยาบาลยอมรับความคิด ความรู้สึก
และพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของผู้ป่วยโดยไม่ตัดสินหรือตำหนิ
ความสม่ำเสมอ (Consistency) คือ ความสม่ำเสมอของพยาบาลที่ติดต่อ พูดคุย หรือพบกับผู้ป่วย
ความจริงใจ (Genuine)คือ ความจริงใจของพยาบาลที่จะให้การช่วยเหลือทั้งคำพูด
และการแสดงออก
องค์ประกอบ
การสร้างความไว้วางใจ (Trust)
แสดงความเป็นมิตร (Friendliness)
เอาใจใส่ดูแลผู้ป่วย (Caring)
สนใจในตัวผู้ป่วย (Interest)
เข้าใจในตัวผู้ป่วย (Understanding)
มีความสม่ำเสมอ (Consistency)
ยอมรับในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย (Treating the client as a human being)
ให้การแนะนำแก่ผู้ป่วย (Suggesting)
เข้าไปพูดคุยทักทาย ใกล้ชิดผู้ป่วย (Approachability)
รับฟังผู้ป่วย (Listening)
รักษาคำมั่นสัญญาที่ให้กับผู้ป่วย (Keeping promises)
แจ้งกำหนดการของกิจกรรมต่างๆในหอผู้ป่วยและที่เกี่ยวกับตัวผู้ป่วยให้ผู้ป่วยทราบ (Providing scheduled of activities)
มีความซื่อสัตย์ (Honestly)
ความจริงใจ (Genuineness
การเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย (Empathy)
การยอมรับ (Acceptance)
มีความรู้สึกในแง่ดี (Positive Regard)
การบำบัด (Self-Awareness and
Therapeutic Use of Self)
หลักการของการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ต้องกำหนดขอบเขตของ
การสร้างสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ
ระบุขอบเขตของสัมพันธภาพให้ชัดเจน
กระตุ้นให้ผู้ป่วยประเมินเป้าหมาย
อธิบายความคาดหวังให้ผู้ป่วยทราบ
ดำรงรักษาให้เป็นสัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อผู้ป่วยในการสืบค้นปัญหาของตน
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นผู้สนับสนุน ชี้แนะถึงการพูดคุยว่าการสนทนาจะสำเร็จตามเป้าหมาย
2.ต้องอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับในศักดิ์ศรี
และความมีคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย
มีปฏิสัมพันธ์ของระดับพัฒนาการ
การสื่อสารต้องเหมาะสม
ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมอย่างพอใจ
ให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างเหมาะสม
มีการยอมรับในพฤติกรรมต่างๆของผู้ป่วย
3.หัวใจของการสร้างสัมพันธภาพจะต้องอยู่ที่การสร้างความไว้วางใจ
พูดจริงทำจริง พูดในสิ่งที่ทำได้
คำพูดสอดคล้องกับการกระทำ
ช่วยในการปรับแนวทางการติดต่อกับผู้อื่น
ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เป็นจริง
4.การสร้างสัมพันธภาพในผู้ป่วยที่มีปัญหาจิตสังคม
ให้ผู้ป่วยสนทนาในเรื่องที่สนใจ
ให้ความสนใจในเนื้อหาและกระบวนการสื่อสาร
ใช้เทคนิคการสนทนาให้เหมาะสม
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้พูดและระบายความรู้สึก
5.ใช้เทคนิคการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพเน้นการเป็นผู้ฟังที่ดีและกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก
ใช้คำถามปลายเปิด
ช่วยให้กล่าวถึงความคิดและความรู้สึกอย่างชัดเจน
ใช้ความเงียบที่เหมาะสม
ไวต่อความรู้สึก
ชี้แนะเพื่อกระตุ้นการแสดงออก
6.การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดในระยะแรก เน้นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายอารมณ์และนำสู่การเข้าใจอารมณ์ของนเอง
กระตุ้นให้ใช้คำพูดเกี่ยวกับอารมณ์ได้ชัดเจน
ใช้คำถามสืบค้นความรู้สึก
ใช้เทคนิคในการกระตุ้นความรู้สึกและเข้าใจอารมณ์ของตนเอง
7.การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดด้วยการเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมในผู้รับบริการ เน้นที่การกระตุ้นด้วยการเรียนรู้ใหม่
อธิบายเหตุการณ์
หาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์กับสถานการณ์จริง
เลือกวิธีการปรับตัวที่เหมาะสม
ส่งเสริมวิธีการผสมผสาน วิธีการปรับตัวใหม่กับการดำรงชีวิตประจำวัน
รับรู้แบบแผนการปรับตัว
ขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพ
(Introduction or Orientation phase)
เพื่อสร้างความไว้วางใจในตัวพยาบาล
เพื่อกำหนดข้อตกลงใน
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
เพื่อลดปัญหาในการสร้างสัมพันธภาพ
เพื่อการบำบัด
เพื่อประเมินความคิด ความรู้สึก
และพฤติกรรมของผู้ป่วย
2.การแก้ไขปัญหา
(Working phase)
เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
3.การยุติการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
(Terminating phase)
เพื่อประเมินผลความสำเร็จของเป้าหมาย
เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจถึงการยุติการบำบัด