Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการ วัสดุครุภัณฑ์ ของโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การจัดการ
วัสดุครุภัณฑ์
ของโรงพยาบาล
วัสดุครุภัณฑ์ คือ สินทรัพย์ที่ส่วนงานมีไว้
เพื่อใช้ในการดำเนินงาน
• ความสำคัญต่อ รพ. > การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุคุณภาพดี ราคาเหมาะสม ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า
• ความสำคัญต่อผู้ใช้ > การจัดการวัสดุมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทำให้ได้วัสดุที่มีคุณภาพไม่มีความเสี่ยงต่อผู้ป่วย
• ความสำคัญต่อผู้ป่วย > รพ. จะใช้จัดหายา เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีคุณภาพมาตรฐาน
• วัสดุ มีมูลค่าไม่สูง ไม่มีความคงทนถาวร
• ครุภัณฑ์ มีมูลค่าค่อนข้างสูง มีความคงทน มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี
• พัสดุ เป็นวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างที่กําหนดไว้ในหนังสือการจําแนกประเภทรายจ่าย
กระบวนการจัดการ
การวางแผน
แผนการจัดหา > งบประมาณในการจัดหา , วิธีการในการได้มา , คุณลักษณะ , ช่วงเวลาที่ต้องการใช้ , ผู้รับผิดชอบ , แหล่ง/ผู้จำหน่าย
แผนการจัดเก็บ > เก็บอะไรบ้าง ในช่วงเวลาใด อย่างไร จะต้องวางแผนในการเก็บและการนำอออกมาใช้อย่างเป็นระบบ
แผนการจำหน่าย > การวางแผนการจำหน่ายวัสดุครุภัณฑ์ที่ไม่มีความจำเป็นการใช้งานในแต่ละปี
วิธีการได้มา
โรงพยาบาลรัฐจะใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ตาม พรบ.งบประมาณประจำปี
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560 > มีผลบังคับใช้ 23 สิงหาคม 2560 > ใช้บังคับ “หน่วยงานของรัฐ” > ให้ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง / การบริหารพัสดุในกฎหมาย
วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ
วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
(e – bidding)
ภาพรวมของการจัดซื้อจัดจ้าง > แผนการจัดซื้อจัดจ้าง > จัดซื้อจัดจ้าง > สัญญา > บริหารสัญญา > เบิกจ่ายเงิน
เมื่อต้องจัดซื้อจัดจ้าง > งบประมาณ > รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ > คณะกรรมการจัดซื้อ/จัดจ้าง
โรงพยาบาลเอกชน งบจะมาจากผู้อำนวยการ ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า โรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลรัฐและเอกชน จะมีข้อบังคับเป็นการเฉพาะที่แตกต่างกัน
การควบคุม
การตรวจสอบเอกสารก่อนการอนุมัติ
การยืม
การจัดทำทะเบียนคุมการเบิก-จ่ายพัสดุ
รายงานการเบิก-จ่ายพัสดุ
รายงานการตรวจนับพัสดุคงเหลือประจำปี
การบำรุงรักษา
และการซ่อมแซม
โรงพยาบาลต้องมีระบบการบำรุงรักษาและซ่อมแซมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ เช่น เครื่องมือและอุปกรณ์ทั่วไป
เชิงป้องกัน (preventive maintenance)
เชิงซ่อมแซมแก้ไข (corrective maintenance) เมื่อเกิดเหตุขัดข้อง (breakdown)
การตรวจสอบสภาพของวัสดุ ครุภัณฑ์ จะต้องคำนึงถึงสภาพที่พร้อมใช้งานได้ดีมีคุณภาพอยู่เสมอ
การตรวจสอบสภาพของวัสดุ (ตั้งแต่การจัดซื้อ และตรวจรับ)
การตรวจสอบสภาพเครื่องมืออุปกรณ์ (plan do check action) เช่น หากเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ จะมีราคาแพงและมีผลต่อชีวิตผู้ป่วย จึงต้องปลอดความเสี่ยง
ระบบสาธารณูปโภค เป็นการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบประปา และระบบโทรศัพท์ให้สามารถใช้ได้ดีเสมอ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เป็นองค์การของรัฐ
การจำหน่าย
ขั้นตอนการจำหน่าย
รายงานวัสดุครุภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้งานได้
ประเมินราคากลางของวัสดุครุภัณฑ์ที่พร้อมจำหน่าย
ดำเนินการจำหน่ายวัสดุครุภัณฑ์
ตัดรายการที่จำหน่ายออกจากทะเบียนควบคุม
ลงบัญชีเมื่อมีการจำหน่ายพัสดุ โดยเจ้าหน้าที่บัญชี
แนวทางการพัฒนาระบบวัสดุครุภัณฑ์ของโรงพยาบาล
• โรงพยาบาลรัฐ
พัฒนาเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
เลือกผู้บริหารที่มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ให้กำกับดูแลงาน
ให้หน่วยงานด้านพัสดุเสนอแผนการจัดการด้านพัสดุที่สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับแต่ละปี
ให้หน่วยงานด้านพัสดุเสนอรายงานการจัดซื้อ/จ้าง การรับ-จ่ายวัสดุ การตรวจสอบประจำปี การจำหน่ายประจำงวด/ปี อย่างต่อเนื่องตามที่ รพ. กำหนด
ให้มีการกำหนดช่วงเวลาในการดำเนินงานอย่างชัดเจน
เชื่อมโยงข้อมูลตามระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากงบประมาณที่ได้รับ
ระบบการจัดหาแบบส่งมอบให้ใช้ทันเวลาพอดี
จัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และวัสดุจำนวนมากๆ ใน รพ. ที่ใกล้เคียงกัน / เครือเดียวกัน โดยจัดซื้อรวมกันเพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองกับผู้ขายมากขึ้น
พัฒนาระบบพัสดุในลักษณะของการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
• โรงพยาบาลองค์การมหาชน
ให้มีการมอบอำนาจในการอนุมัติและดำเนินการ เพื่อลดขั้นตอน
ให้มีผู้ตรวจสอบก่อนการอนุมัติโดยผู้มีอำนาจ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการดำเนินการผิดระเบียบ
กรณีพบว่าข้อกำหนดใดเป็นปัญหา ให้ผู้เกี่ยวข้องเสนอผู้อำนวยการพิจารณาเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร รพ. เพื่อขออนุมัติปรับปรุง และแก้ไขข้อบังคับให้เหมาะสม
• โรงพยาบาลในกำกับของรัฐ
การพัฒนาระบบงบประมาณและบัญชีต่อการพัฒนาระบบพัสดุ
การดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการดำเนินงานอย่างไร รพ. ในกำกับของรัฐก็ต้องปฏิบัติตาม
การติดตาม ตรวจสอบ
• การติดตามการดำเนินการตามแผน
• การติดตามการจัดการตามกฎระเบียบ
• การรายงานผลการติดตามและตรวจสอบ
การประเมินผล
• การประเมินผลการจัดการตามแผนการจัดหา
• การประเมินผลการจัดการที่มีต่อเป้าหมายของโรงพยาบาล
• การรายงานการประเมินผล