Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน - Coggle Diagram
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
6.บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานครูผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน คอย ให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้เรียนเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้และเกิดการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม ส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งเป็นผู้ประเมินทักษะของผู้เรียนและกลุ่ม
2.จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบให้แก่นักเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล กระบวนการกลุ่ม การบันทึกและการอภิปราย
3.ลักษณะของปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
1.เกิดขึ้นในชีวิตจริงและเกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียน
2.เป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน
3.เป็นปัญหาที่พบบ่อยมีความสำคัยมีข้อมูลเพียงพอ
4.ปัญหาที่มีประเด็นขัดแย้งข้อถกเถียงในสังคม
5.ปัญหาที่สร้างความเดือดร้อน เสียหาย เกิดโทษภัย และเป็นสิ่งไม่ดี
4.ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้น
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจกับปัญหา
ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้
ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินค่าของคำตอบ
ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน
5.การประเมินผลการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
1) การประเมินตามสภาพจริง
2 ) การสังเกตอย่างเป็นระบบ
1.แนวคิดพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน :
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นจัดการเรียนรู้ที่เน้นในสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้ โดยสิ่งที่อยากเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องเริ่มมาจากปัญหาที่เด็กสนใจหรือพบในชีวิตประจำวันที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียน อาจเป็นปัญหาของตนเองหรือปัญหาของกลุ่ม ซึ่งครูจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กตามความเหมาะสม