Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy หรือ Hydatidiform mole) - Coggle…
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
(Molar pregnancy หรือ Hydatidiform mole)
ความหมาย
การตั้งครรภที่เซลล์ของรกมีการแบ่งตัวผิดปกติและเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำขนาดต่าง ๆ มีลักษณะคล้ายพวงองุ่นและไม่มีเส้นเลือดของทารกอยู่ใน villi
พยาธิสภาพ
เซลล์ trophoblasts ที่แบ่งตัวผิดปกติจะมีลักษณะของถุงน้ำที่รวมตัวกันเป็นพวงคล้ายพวงองุ่น และไม่มีเส้นเลือดของทารกอยู่ใน villi ถุงน้ำเหล่านี้แต่ละถุงคือ Chorionic villi ที่เสื่อมสภาพลงและมี
น้ำบรรจุอยู่ภายใน ซึ่งถุงน้ำเหล่านี้จะอยู่แทนที่บริเวณของรกทั้งหมดหรือบางส่วน
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่ 1 ถึง 2
ขนาดของมดลูกใหญ่กว่าอายุครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก ประมาณร้อยละ 50 จะพบเศษชิ้นส่วนของการตั้งครรภ์ มีลักษณะเป็นเม็ด mole คล้ายเม็ดสาคูหลุดออกมาทางช่องคลอด
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก แพ้ท้องรุนแรง
อาจมีอาการของฮอร์โมนไทรอยด์สูง และมีอาการ tachycardia, warm skin, tremor
ครรภ์เป็นพิษ
มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจเร็ว จนกระทั่งมีภาวะ
หายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
พบถุงน้ำรังไข่ได้ประมาณร้อยละ 50 และพบถุงน้ำรังใหญ่ขนาดใหญ่ มากกว่า 6 cm
จากการตรวจฟังไม่พบเสียงหัวใจของทารก
กรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีถุงน้ำรังไข่ สามารถตรวจภายในและคลำได้ก้อน
ปัจจัยเสี่ยง
มีความสัมพันธ์กับหญิงตั้งครรภ์ที่มีเศรษฐานะยากจน
ภาวะทุพพลภาพ และบางปัจจัยภายในของผู้ป่วย
มีประวัติแท้งเองมากกว่าสองครั้ง
มีปัญหามีบุตรยาก
หญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสเกิดครรภ์ไข่ปลาอุกชนิด complete moleมากกว่าสตรีทั่วไป ส่วนการตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี มีความเสี่ยงต่อครรภ์ไข่ปลาอุกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
มีประวัติการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
มีภาวะโภชนาการไม่ดี
มีประวัติประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอและมีประวัติใช้ยาคุมกำเนิด
ประเภท
Complete mole
Partial mole
การวินิจฉัย
ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
complete mole
snow storm pattern เห็นเป็น numerous cystic echo densities กระจายทั่วไปในโพรงมดลูก
ตรวจพบ echogenic uterine mass with numerous anechoic cystic spaces without a fetus or amniotic sac
ไม่พบถุงการตั้งครรภ์หรือทารก
ไม่มีน้ำคร่ำ
พบถุงน้ำรังไข่ (theca lutein cyst) มักเป็น 2 ข้าง
การตรวจพบเนื้อเยื่อทารกใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาแยก complete mole ออกจาก partial mole
partial mole
ตรวจพบ cystic spaces เฉพาะที่ในเนื้อรกและ/หรือมีการเพิ่มขึ้นของ echogenicity ของchorionic villi (swiss cheese pattern)
ตรวจพบ thickened multicystic placenta along with a fetus or at least fetal tissue
พบส่วนของทารก
พบมีน้ำคร่ำแต่อาจมีปริมาณลดลง
มีอัตราส่วนความยาวของถุงน้ำการตั้งครรภ์ด้าน transverse ต่อ anteroposterior มากกว่า 1.5
ไม่พบถุงน้ำรังไข่ (theca lutein cyst)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
urine pregnancy test
เจาะน้ำคร่ำเพื่อส่งตรวจโครโมโซม
มีค่า β-hCG ในเลือดสูงกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์
การรักษา
การประเมินผู้ป่วยก่อนการรักษา
ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจสัญญาณชีพ ระบบประสาท และจอประสาทตา
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, Electrolyte, Urine analysis, Liver function test,Coagulation, Thyroid function test ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้
ตรวจระดับ β-hCG ก่อนทำหัตถการดูดชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูกและหลังจากดูดชิ้นเนื้อ
ประเมินการแพร่กระจายไปที่ปอด ด้วยการตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว หรือทำการตรวจ lung scan
การยุติการตั้งครรภ์
Suction curettage
การตัดมดลูกออก
หญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 40 ปี การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกจะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า
กรณีที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว
หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการตกเลือดรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อมดลูก
การให้ยาเคมีบำบัดป้องกัน
Actinomycin D ขนาด 13 ไมโครกรัม /กก./วัน นาน 5 วัน
Methotrexate ขนาด 1มก./ กก. วันที่ 1, 3, 5, 7 ร่วมกับ folinic acid ขนาด 0.1 มก./ กก. วันที่ 2, 4, 6, 8
การติดตามเพื่อควบคุมและรักษาการเกิดมะเร็ง
ตรวจหาระดับ β -hCG ภายใน 48 ชั่วโมงหลังยุติการตั้งครรภ์ และตรวจระดับ beta-hCG ซ้ำทุก1 สัปดาห์ จนกระทั่งผลตรวจเป็นปกติอย่างน้อย 3 ครั้ง
หลังจากนั้นตรวจหาระดับ β -hCG ทุก 1 เดือน จนครบ 6 เดือน และตรวจทุก 3 เดือน จนครบ 1 ปี
วินิจฉัยการเกิดมะเร็งเนื้อรก (gestational trophoblastic hyperplasia) ในกรณีที่มีการลดของระดับ β-hCG น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อสัปดาห์ เป็นจำนวน 3 ครั้ง ใน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน หรือมีการเพิ่มขึ้นของระดับ β-hCG มากกว่าร้อยละ 10 ต่อสัปดาห์ เป็นจำนวน 2 ครั้ง ใน 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
แนะนำให้สตรีคุมกำเนิดในช่วงที่ติดตามการรักษาอย่างน้อย 6 เดือน - 1 ปี โดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม
สามารถเลิกคุมกำเนิดได้หลังจากที่ตรวจไม่พบ β-hCG ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน
การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปภายหลังคลอดต้องส่งรกตรวจทางพยาธิวิทยาทุกครั้ง และวัดระดับ β-hCGภายหลังคลอด 6 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มี trophoblastic neoplasia หลงเหลืออยู่
รติดตามระดับ β-hCG จนครบ 1 ปี หากไม่มีความผิดปกติสามารถให้ตั้งครรภ์ได้
พิจารณาให้ยาเคมีบำบัด โดยขึ้นกับความรุนแรงของโรค และได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเนื้อรกและกระจายไปที่อวัยวะอื่น หรือตรวจชิ้นรกทางพยาธิวิทยาเป็น choricarcinoma หรือ ระดับ β-hCG ยังสูงกว่าระดับปกติคงที่อยู่มากกว่า 6 เดือน หลังยุติการตั้งครรภ์ หรือมีระดับสูงขึ้นอีกหลังจากที่ลดลงจนปกติแล้ว หรือมีระดับ β-hCG สูงมากกว่า 20,000 mIU/mL มากกว่า 4 สัปดาห์
หากมีการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปเกิดขึ้นแนะนำให้เริ่มฝากครรภ์ทันทีตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ และตรวจยืนยันด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้เป็นครรภ์ไข่ปลาอุกซ้ำอีก
การพยาบาล
การรวบรวมข้อมูลสุขภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ข้อมูลของมารดา
ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ต้องยุติการตั้งครรภ์หรือรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ควรประเมินความรู้เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ การผ่าตัดมดลูก การรักษาด้วยเคมีบำบัด ระดับ β-hCG ผลการตรวจพยาธิวิทยาของเนื้อรก ประเมินภาวะแทรกซ้อนระหว่างการทำหัตถการยุติการตั้งครรภ์
ประเมินภาวะจิตใจและอารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ความวิตกกังวลเกี่ยวกับแผนการรักษา การยอมรับการสูญเสียบุตร
การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
โดยการนำข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้จากการประเมินมาตั้งเป็นข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อให้การดูแลต่อไป
การวางแผนและปฏิบัติการการพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาลที่ให้การพยาบาลแก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ต้องมีความสอดคล้องกับข้อมูล ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล บริบทของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว และสอดคล้องกับแผนการรักษาของหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย
การประเมินผลการพยาบาล
หลังให้การพยาบาลแล้วควรมีการประเมินผล