Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (Unintended pregnancy) - Coggle Diagram
การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (Unintended pregnancy)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสตรีไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้ต้องการให้เกิดขึ้น หรือไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
อุบัติการณ์
มีอุบัติการณ์ณ์ค่อนข้างสูง โดยพบว่าประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 45-51 ของการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และอุบัติการณ์จะยิ่งสูงขึ้นในสตรีวัยรุ่นที่อายุระหว่าง 15-19 ปี โดยพบอุบัติการณ์การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในสตรีกลุ่มนี้ร้อยละ 75
สาเหตุและปัจจัย
ปัจจัยด้านสังคมประชากร
พบว่าสตรีที่มีอายุน้อยมักขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาและการคุมกาเนิดมีความอยากรู้อยากลอง ขาดทักษะในการปฏิเสธเมื่อเพศชายขอมีเพศสัมพันธ์ด้วย รวมทั้งค่านิยมที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน จึงนาไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้
ปัจจัยด้านชีวภาพ
สตรีตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพหรือมีโรคประจำตัวรวมทั้งผลการตรววินิจฉัยทารกในครรภ์พบว่าทารกมีความผิดปกติทางโครโมโซมหรือมีความพิการที่รุนแรง
ปัจจัยด้านจิตสังคม
เช่น การตั้งครรภ์ในวัยเรียน การตั้งครรภ์ที่ไม่เป็นที่ยอมรับของบุคคลรอบข้างรวมทั้งการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในสายเลือดเดียวกัน (incest) หรือเกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา (rape)
ปัจจัยด้านพฤติกรรมการคุมกำเนิด
การขาดความรู้ในการวางแผนครอบครัว ขาดความรู้เกี่ยวกับการคุมกาเนิด ไม่ใช้วิธีการคุมกาเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ หรือใช้วิธีการคุมกาเนิดไม่สม่าเสมอ รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงวิธีการคุมกาเนิดได้
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
ผลกระทบด้านสุขภาพ
มักจะตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์โดยการทาแท้ง ซึ่งมักจะเป็นการลักลอบทาแท้งที่ไม่ถูกกฎหมายจนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของสตรีได้
ผลกระทบด้านจิตสังคม
สตรีที่ตัดสินใจทำแท้ง
รู้สึกผิดบาป ละอายใจ เสียใจ โทษตัวเองและเป็นตราบาปที่ทาร้ายทารกในครรภ์ของตนเอง จนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิตของตนเองในระยะยาวได้
สตรีตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อ
เกิดภาวะเครียด เสียใจ อับอาย ท้อแท้ สิ้นหวัง วิตกกังวลเกี่ยวกับการดูแลทารกเมื่อคลอดออกมา และอาจมีปัญหาในการปรับบทบาทการเป็นมารดาในระยะหลังคลอด ส่งผลให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงดูบุตรตามมาได้ นอกจากนี้ยังอาจทาให้เสียโอกาสทางการศึกษาได้ หากมีการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในวัยเรียน
ต่อทารกในครรภ์
ไม่ประสงค์ที่จะมีบุตร อาจตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์โดยการทาแท้ง จึงส่งผลให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้
สตรีตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อไปจนกระทั่งคลอด อาจเกิดปัญหาสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกได้จนอาจทาให้บุตรเหล่านี้มีปัญหาด้านสุขภาพจิตด้านพฤติกรรม รวมถึงด้านสติปัญญา ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมต่อไปในอนาคต
ต่อครอบครัว
ในสตรีที่แต่งงานแล้ว
อาจทาให้ครอบครัวเกิดความเครียดและเกิดภาระในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรเพิ่มมากขึ้น
ในสตรีที่ยังไม่ได้แต่งงาน
อาจสร้างความอับอายให้กับตนเองและครอบครัว ทาให้ตนเองและครอบครัวถูกนินทาจากบุคคลรอบข้าง รวมทั้งเป็นภาระของครอบครัวฝ่ายสตรีที่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูทารกที่คลอดออกมาแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยปราศจากการช่วยเหลือจากครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นที่ยอมรับจากฝ่ายชาย
ต่อเศรษฐกิจและสังคม
ส่วนใหญ่มักจะจบลงด้วยการทาแท้ง ซึ่งมักจะเป็นการ
ลักลอบทาแท้งที่ไม่ถูกกฎหมายจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของสตรีที่ทาได้ และยังก่อให้เกิดภาระเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล
ในกรณีที่สตรีตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อไป เมื่อคลอดทารกแล้ว อาจไม่ต้องการทารกและนาไปสู่การทอดทิ้งบุตรได้ในภายหลัง ซึ่งจะทาให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการเลี้ยงดูทารกที่ถูกทอดทิ้งเหล่านี้เป็นจานวนมาก
การพยาบาล
ให้ความรู้แก่สตรีเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
ให้คำปรึกษาและคำแนะนาแก่สตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ สามี และครอบครัวในการพิจารณาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
กรณีตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์
กรณีที่สตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการยุติการตั้งครรภ์ไม่ถูกกฎหมาย และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พยาบาลควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและให้การพยาบาลด้วยท่าทีนุ่มนวล มีทัศนคติที่ดี มีความเข้าใจ ไม่มีอคติ ไม่แสดงท่าทางรังเกียจ ไม่พูดจาดูหมิ่นเหน็บแนม หรือทาร้ายจิตใจ
กรณีตัดสินใจดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ
ให้ข้อมูลทางสุขภาพเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตรและค่าใช้จ่ายต่างๆ สิทธิประโยชน์ต่างๆระหว่างการตั้งครรภ์และภายหลังคลอดบุตร
ให้การดูแลสตรีตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิดด้วยท่าทางที่เป็นมิตรและกระตุ้นให้มาฝากครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครรภ์
ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยนาทารกวางบนอกมารดา ให้มารดาได้โอบกอดทารกทันทีภายใน 30 นาทีแรกหลังคลอด และกระตุ้นให้ทารกได้ดูดนมโดยเร็วในช่วง 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ชื่นชมแสดงความยินดีกับมารดาที่สามารถประคับประคองการตั้งครรภ์จนสามารถให้กาเนิดทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
ประเมินปัญหาทางด้านสังคมและจิตใจ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในระยะหลังคลอด และคาปรึกษาเกี่ยวกับการคุมกาเนิดและวางแผนครอบครัวอย่างเหมาะสม
กรณีตัดสินใจยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่บุคคลอื่น
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกฏหมายการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม ขั้นตอน ระยะเวลา รวมทั้งหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนที่เป็นตัวแทนในการจัดการเรื่องการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมที่ถูกต้องตามกฏหมาย
ทาหน้าที่คนกลางช่วยประสานงานระหว่างมารดา นักสังคมสงเคราะห์ และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในกรณที่ส่งต่อมารดาและทารกไปรับการช่วยเหลือยังหน่วยบริการอื่นๆ