Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน - Coggle Diagram
การหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
หลักกฎหมายคุ้มครองโรงงาน
1.พระราชบัญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 เป็นบัญญัติการคุ้มครองแรงงานเพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปอย่างเป็นธรรม จึงได้ปรับปรุงบัญญัติต่างๆ เกี๋ยวกับการใช้แรงงาน
2.พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 2)พ.ศ 2551 โดยแก้ไขบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือความเสียหายในการทำงาน
3.พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 โดยแก้ไขบัญญัติเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างโดยเพิ่มอำนาจในการกำหนดอัตรค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแฟละอำนาจในการแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการค่าจ้าง
4.พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2553 เนื่องจากได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อกำหนดการดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชิวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
5.พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2560 บัญญัติเพื่อป้องกัน ยับยั้งและขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานโดยเฉพาะอัตราโทษในความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก
6.พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภท
7.พระราขบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 บัญญัติแก้ไขกำหนดให้การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อธุรกิจอันจำเป็น ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน
สัญญาจ้างแรงงาน
นายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึง
1.ผู้ซึ่งได้รับมิบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง
2.ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล
ลูกจ้าง หมายความว่าผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง แต่ลูกจ้างหมายถึงบุคคลธรรมดาเท่านั้น มิใช่นิติบุคคลที่เข้ามาตกลงทำงานให้นายจ้าง
ขอบเขตการลำดับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ขอบเขตให้ใช้บังคับแก่นายจ้างที่ประกอบกิจการธุรกิจ จะไม่ใช้แก่นายจ้างที่มีลูกจ้างดังต่อไปนี้
1.ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
2.รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายแรงงาน ว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
3.นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน
4.นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน
5.นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม
6.นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่รับไปทำที่บ้าน
ข้อห้ามและข้อปฏิบัติของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง
1.ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน
2.กรณีเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างดวย
3.ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างให้ถูกต้องสิทธิและหน้าที่
4.สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับสภาพการทำงาน ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง
5.ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างทั้งชายและหญิงให้เท่าเทียมกัน
การใช้แรงงานทั่วไป
การทำงานปกติ
1.ทำงานต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง
2.งานที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกจ้าง ต้องไม่เกิน 7 ชั่วโมง
3.ในกรณีลูกจ้างตกลงกันให้นำเวลาทำงานที่เหลือไปรวมกับเวลาทำงานปกติอื่นเกินกว่าวันละ 8ชั่วโมง ให้นายจ้างจ่ายค่าแรงไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งตามอัตราค่าจ้าง
4.ในกรณีนายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันเนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันไม่เกิน 8 ชั่วโมง
เวลาพักระหว่างทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
การทำงานล่วงเวลา ต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆไป ในกรณีที่การทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
ทำงานในวันหยุดได้ ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนได้เท่าที่จำเป็น
สวัสดิการแรงงาน
1.ระดับชาติ เป็นกรรมการสวัสดิการแรงงาน ระบบไตรภาคี เพื่อกำหนดนโยบายสวัสดิการแรงงานระดับชาติและเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี
2.ระดับสถานประกอบกิจการ ซึ่งมีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไปให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
การคุ้มครองแรงงานหญิงและเด็ก
แรงงานหญิง
การคุ้มครองจากการทำงานที่อันตราย
การคุ้มครองการทำงานในยามวิกาล
การคุ้มครองหญิงมีครรภ์
แรงงานเด็ก
สามารถจ้างแรงงานได้เมื่อลูกจ้างนั้นมีอายุเกิน 18 ปี การจ้างแรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นการต้องตามกฎหมาย ข้อห้ามบางประการสำหรับการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีดังนี้
1.ห้ามมิให้ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
2.ห้ามมิให้ทำงานประเภทของงาน
-เกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียง และแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติ
-ด้านสถานที่ ได้แก่โรงฆ่าสัตว์ สถานที่เล่นการพนัน สถานที่เต้นรำ และสถานที่มีอาหาร สุรา น้ำชา เป็นต้น
วันหยุดของลูกจ้าง
วันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า 1 วัน
วันหยุดตามประเพณี คือวันหยุดทางราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนรบมประเพณีท้องถิ่น
วันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นวันหยุดพักผ่อนหลังจากทำงานมาครบ 1 ปี
วันลาของลูกจ้าง
ลาป่วย เท่าที่ป่วยจริง เมื่อลาถูกต้องตามระเบียบก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างรวมกันแล้วปีหนึ่งจะได้รับไม่เกิน 30 วัน
ลาทำหมัน ระยะเวลาตามที่แพทย์กำหนด
ลาเพื่อธุรกิจอันจำเป็น
ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพล
ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถ
ลาคลอดบุตรของหญิงมีครรภ์
ค่าจ้างทำงานวันหยุด
สำหรับลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้เพิ่มขึ้นจากปกติอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในการทำงาน
สำหรับลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
ค่าจ้างทำงานล่วงเวลา
ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติ ให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 1 เท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ