Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างสัมพันธภาพและ การสื่อสารเพื่อการบำบัด •เทคนิคการสื่อสารที่ไม่ใ…
การสร้างสัมพันธภาพและ
การสื่อสารเพื่อการบำบัด
•เทคนิคการสื่อสารที่ไม่ใช่การบำบัด•
ปัญหาและอุปสรรคในการสื่สารเพื่อการบำบัด
ความล้มเหลวจากการไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อการบำบัด
ความล้มเหลวในการวิเคราะห์หรือแปลความข้อมูลจากการสื่อสารเพื่อการบำบัด
ความล้มเหลวในการฟัง
การสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพ
การให้กำลังใจโดยใช้คำพูดทั่วไปที่เป็นความเคยชิน
(using reassuring)
เป็นการให้ความมั่นใจหรือให้กำลังใจแบบอัตโนมัติ แบบที่คนส่วนใหญ่ใช้และคุ้นเคย โดยไม่เข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่ประทับใจ
ตัวอย่าง
“คุณอย่ากังวลไปเลย”
“ทุกอย่างคงจะดีขึ้นเองในไม่ช้า”
“อย่าคิดมากซิคะ คุณทำดีที่สุดแล้ว”
การให้ความเห็นดีด้วยหรือการเห็นพร้องกับผู้ป่วย (giving approval)
เป็นการส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจผู้ป่วยในการคิดและตัดสินใจของผู้ป่วย ด้วยการแสดงความเห็นชอบ ยอมรับความคิดเห็น การกระทำของผู้ป่วย โดยไม่พิจารณาข้อมูลให้รอบคอบว่าความคิดหรือพฤติกรรมของผู้ป่วยเหมาะสมหรือไม่
ตัวอย่าง
“เป็นความคิดที่ดีมาก ดิฉันเห็นด้วยกับคุณค่ะ”
“เป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุด สำหรับคุณค่ะ”
การแสดงความไม่เห็นด้วยกับความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วย
(disapproving)
เป็นการแสดงความไม่เห็นด้วย ไม่ยอมรับความคิดเห็น การกระทำของผู้ป่วย โดยใช้มาตรฐานของพยาบาลตัดสินผู้ป่วย มีผลให้ผู้ป่วยหยุดชะงักการสนทนา หรือยุติการสนทนาเพราะไม่พอใจพยาบาล
ตัวอย่าง
“คุณกังวลมกไป ควรจะเลิกคิดเรื่อง...ได้แล้ว”
“เป็นไปไม่ได้เลย คุณเข้าใจคุณแม่ผิดแล้วค่ะ”
“คุณไม่ควรทำอย่างนั้น”
การร่วมเห็นด้วยกับผู้ป่วย
(Agreeing)
เป็นการพยายามเอาใจผู้ป่วยโดยการแสดงการเห็นด้วยกับผู้ป่วย ซึ่งเป็นการจำกัดไม่ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นภายหลังเมื่อพูดไปแล้ว
ตัวอย่าง
“ฉันเห็นด้วยกับคุณ ที่คุณจะ...”
“ดีค่ะ ดิฉันเห็นด้วยกับคุณ”
“สิ่งที่คุณทำถูกต้องแล้ว”
“คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว เป็นอย่างนั้นจริงๆ”
การคัดค้านความคิดเห็นของผู้ป่วย
(Disagreeing)
เป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยในการกระทำหรือความคิดของผู้ป่วย โดยการนำความคิดหรือคำนิยมของพยาบาลไปตัดสิน ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าไม่ได้รับการยอมรับจากพยาบาล
ตัวอย่าง
“ไม่ใช่อย่างที่คุณคิดนะคะ”
“ฉันไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น”
“คุณทำอย่างนั้นไม่ถูกนะคะ”/“ฉันไม่เห็นด้วยที่คุณจะ..”
“คุณเข้าใจผิดแล้วนะ”
การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยด้วยความคิดและวิธีการของพยาบาลเอง
(Giving advice)
เป็นการแนะนำให้ผู้ป่วยทำสิ่งต่างๆ ตามความคิดของพยาบาล ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยอาจจะทำไม่ได้
ตัวอย่าง
“ดิฉันคิดว่าคุณควรจะบอกสามีว่า...”
“ทำไมคุณไม่ทำแบบนี้ล่ะคะ เริ่มต้นจาก...”
“คุณควรจะทำอย่างที่คุณแม่บอกนะคะ”
การเรียกร้องการพิสูจน์จากผู้ป่วยหรือการท้าทาย
(Challenging)
เป็นการใช้คำพูดที่ท้าทายผู้ป่วย โดยพยาบาลพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าความคิดของผู้ป่วยเป็นไปไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยยืนยันความคิดของตนและพยายามหาสิ่งสนับสนุนความคิดนั้นให้ได้
ตัวอย่าง
“คุณบอกว่าคุณระลึกชาติได้ คุณช่วยเล่าเรื่องชาติก่อนให้ฟังหน่อยสิ”
“คุณเป็นลูกนายกหรือคะ หน้าตาคุณไม่เห็นเหมือนนายกเลย คุณมีหลักฐานอะไรไหมคะ”
“คุณจะทำได้อย่างที่พูดหรือ ฉันว่าคงจะล้มเหลวอีกนั่นแหล่ะ”
การพูดซ้ำๆ ที่เป็นแบบเดียวกัน
(Making stereotyped comments)
การสนทนาซ้ำๆ จะทำให้การสนทนาน่าเบื่อ ไม่มีจุดหมายในการพูด ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดจากการสนทนากับพยาบาล
ตัวอย่าง
การใช้เทคนิคการทวนซ้ำบ่อยๆ เพราะไม่รู้จะพูดว่าอะไร
การแก้ตัว
(Defending)
เป็นการพูดเพื่อปกป้องตนเองและผู้อื่นที่มีผลทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงของตน
ตัวอย่าง
“โรงพยาบาลนี้เป็นโรงพยาบาลที่ดีมากแล้วนะคะ”
“คุณพยาบาล ก เป็นพยาบาลที่มีความสามารถนะคะ”
“เจ้าหน้าที่ทุกคนไม่โกหกผู้ป่วยหรอกค่ะ”
“ลูกชายคุณคงงานยุ่งเลยมาเยี่ยมคุณไม่ได้”
การเปลี่ยนหัวข้อการสนทนา
(Introducing an unrelated topic)
พยาบาลไม่ต้องการข้อมูลในหัวข้อที่ผู้ป่วยกำลังพูด หรือรู้สึกกังวลและอึดอัดใจที่จะดำเนินการสนทนาในหัวข้อนั้นต่อ พยาบาลจึงยุติการสนทนาในเรื่องนั้น แล้วเปลี่ยนไปสนทนาเรื่องอื่นแทน การกระทำดังกล่าวทำให้พยาบาลพลาดโอกาสที่จะทราบถึงความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของผู้ป่วยในขณะนั้น
ตัวอย่าง
“เมื่อไหร่ผมจะได้กลับบ้าน ผมหายดีแล้ว”
“ที่บ้านคุณมีสมาชิกกี่คนคะ”
“ฉันทำให้แม่เดือดร้อน แม่คงไม่รักฉันอีกแล้ว”
“ได้เวลาอาหารพอดี คุณไปรับประทานอาหารก่อนแล้วค่อยคุยกันนะคะ”