Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
B23 มภร 10/2 Dx.SLE with LN - Coggle Diagram
B23 มภร 10/2
Dx.SLE with LN
ยา
PREDNISOLONE 5 mg.tab.
รับประทานครั้งละ 12 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตรียรอยด์ ใช้ในการรักษาโรคหลายอย่าง เช่น โรคทางภูมิคุ้มกัน โรคหอบหืด โรคลำไส้อักเสบ หรือโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ผลข้างเคียง
มีอาการนอนไม่หลับ
มีสิวขึ้น ผิวแห้ง มีรอยช้ำที่ผิว บาดแผลหายช้า
มีเหงื่อออกมาก
ปวดหัว เวียนหัว
มีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องอืด
CO-TRIMOXAZOLE (80+400) MG.TAB.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันจันทร์ พุธ ศุกร์
ข้อบ่งใช้
ยานี้ใช้เพื่อรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง
หายใจลำบาก
รู้สึกง่วง
มีเหงื่อออกมาก
ไม่สบาย
ไม่มีสมาธิ
ท้องเสียและมีของเหลวหรือเลือดปน
CALTAB-1.25 TAB
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น
ข้อบ่งใช้
ยานี้ใช้เพื่อรักษาภาวะขาดแคลเซียม เป็นยาเสริมในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน เป็นอาหารเสริมเมื่อได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เหมาะสม
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้
ท้องอืด
ท้องผูก
ท้องเสีย
ปวดท้อง
CALCIFEROL CAP.
รับประทาน 2 เม็ดต่อสัปดาห์ วันศุกร์
ข้อบ่งใช้
ช่วยลดภาวะโรคกระดูกพรุน ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมเพื่อไปใช้ในกระบวนการสร้างกระดูกและฟัน
ผลข้างเคียง
คันตามผิวหนัง
ทำให้คอเสลเตอรอลสูง
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ
FOLIC ACID 5 MG.TAB
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้
ช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ตั้งครรภ์ อาจช่วยป้องกันการแท้งบุตร ในบางครั้งใช้รักษาโรคโลหิตจางชนิดที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิค
ผลข้างเคียง
เวียนศีรษะ
ไม่อยากกอาหาร
เรอ ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
รู้สึกขมปาก
มีภาวะซึมเศร้า
FERMASIAN 200 MG.TAB
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น
ข้อบ่งใช้
ใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ผลข้างเคียง
ท้องผูก ท้องร่วง ระคายเคืองทางเดินอาหาร
อุจจาระมีสีดำหรือคล้ำขึ้น
MADIPLOT 20 MG.TAB.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้
ใช้ลดความดันโลหิตในโรคความดันโลหิตในผู้ใหญ่ ใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีอาการแน่นอกเรื้อรัง
ผลข้างเคียง
ปวดศรีษะ
หน้าแดง
ใจสั่น
อาการบวม
CAZOCIN 2 MG.TAB
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เย็น
ข้อบ่งใช้
รักษาภาวะความดันโลหิตสูง รักษาอาการปัสสาวะขัดจากภาวะต่อมลูกหมากโต
ผลข้างเคียง
วิงเวัยนศีรษะ
ปวดท้องต่อเนื่องอย่างรุนแรงหรือท้องอืด
มีอาการเจ็บหน้าอกโดยไม่เคยเป็นมาก่อน
CARDELOC 100 MG.TAB
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้
นำมาใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคหรืออาการ เช่น ภาวะเจ็บหน้าอกเฉียบพลันจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลวและโรคหัวใจ
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นช้ามาก
รู้สึกหวิว คล้ายจะเป็นลม
หายใจตื้น
รู้สึกเย็นที่มือและเท้า
OMEPRAZOLE 20 MG.CAP.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้
เป็นยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ใช้รักษาอาการกรดไหลย้อน
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
QUINNEL 200 MG.TAB.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้
รักษาโรคข้อเสบรูมาตอยด์และโรคลูปัส
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงทางสายตาหรือทำให้เกิดความผิดปกติของลานสายตา แบบ central visual field scotoma
LORAZEPAM 1 MG.TAB
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
ข้อบ่งใช้
เป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวลหรือผู้ที่มีความวิตกกังวลจากระดับสารเคมีในสมองไม่สมดุลกัน
ผลข้างเคียง
เวียนหัว ง่วงซึม รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
MAG CHLORIDE 10%(PGH) SYR 180
รับประทานครั้งละ 4 ช้อนชา (20ซีซี) วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เย็น x 3 day
ข้อบ่งใช้
รักษาและป้องกันภาวะขาดแมกนีเซียม ภาวะแมกนีเซียมในร่างกายต่ำ
ผลข้างเคียง
ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ลิ้นบวม และคอบวม
FUROSEMIDE 20 MG.INJ.2 ML.
160 mg IV in hr stat
ข้อบ่งใช้
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะเพื่อรักษาอาการบวมและคั่งของน้ำซึ่งเป็นผลบวกมาจากโรคหัวใจ โรคตับ หรือใช้เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ผลข้างเคียง
ความดันเลือดต่ำอย่างรุนแรง
หลอดเลือดหัวใจอักเสบ
หัวใจเต้นช้า
General Appearance (31/1/64)
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยสูงอายุ รูปร่างสมส่วน รู้สึกตัวดี ทำตามสั่งได้ neurosign = E4M6V5 ประเมิน motor power แขนขาทั้งสองข้าง grade 5 รับประทานอาหารเองได้ ทานอาหารธรรมดา ลดหวาน ลดเค็ม on temporary catheter แบบ double lumen ที่บริเวณคอด้านขวา on injection plug ที่แขนซ้าย ไม่มี phlebitis ขาบวมทั้งสองข้าง pitting edema grade 2+ ผิวชุ่มชื้น ขับถ่ายเองได้
ข้อมูลพื้นฐาน
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 60 ปี
อาการสำคัญ (Chief complaint)
มีอาการขาบวมทั้งสองข้าง และปัสสาวะออกน้อยลง 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน (present illness)
2 วันก่อนมาโรงพยาบาล ปัสสาวะออกน้อยลง ขาบวมทั้ง 2 ข้าง กดบุ๋ม เดินลำบาก เหนื่อยเวลาทำกิจกรรม วันนี้มาพบแพทย์ตามนัด แพทย์จึงให้ admit
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
U/D
Diabetes Mellitus 5 ปี
Hypertension 5 ปี
Chronic kidney disease stage 5 5 ปี
Systemic Lupus Erythematosus 5 ปี
ประวัติการเจ็บป่วยครอบครัว
-
Lab
Complete Blood Count
29/1/2564
Hemoglobin (Hb) 8.6 g/dL
ต่ำกว่าปกติ : ภาวะโลหิตจางจากพยาธิสภาพของโรค SLE
Hematocrit (Hct) 25.8 %
RBC 3.31 10^6/dL
MCV 77.8 fL
RDW 17.7 %
สูงกว่าปกติ
Neutrophil 90.4 %
สูงกว่าปกติ : เกิดโรคจากการติดเชื้อ
Lymphocyte 3.2 %
ต่ำกว่าปกติ : เป็นอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไต หรือภาวะพิษจากการติดเชื้อ
Eosinophil 0.0 %
ต่ำกว่าปกติ : อาจตกอยู่ในภาวะเครียดจนทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอรอยด์ซึ่งอาจสร้างความเสียหายไปทั่วร่างกาย
1/2/2564
Hemoglobin (Hb) 10.2 g/dL
ต่ำกว่าปกติ : ภาวะโลหิตจางจากพยาธิสภาพของโรค SLE
Hematocrit (Hct) 31.0 %
RBC 3.95 %
MCV 78.4 fL
MCH 25.8 pg
Neutrophil 91.0 %
สูงกว่าปกติ : เกิดโรคจากการติดเชื้อ
Lymphocyte 2.5 %
ต่ำกว่าปกติ : เป็นอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไต หรือภาวะพิษจากการติดเชื้อ
Eosinophil 0.0 %
ต่ำกว่าปกติ : อาจตกอยู่ในภาวะเครียดจนทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอรอยด์ซึ่งอาจสร้างความเสียหายไปทั่วร่างกาย
Coagulation test
29/1/2564
Pt 9.8
ต่ำกว่าปกติ
INR 0.84
APTT 21.0
Chemical clinic
29/1/2564
Bun 65.8 mg/dL
สูงกว่าปกติ : ไตเสียหน้าที่ ทำให้การขับโปรตีนในเลือดไม่มีประสิทธิภาพ
Creatinine 2.82 mg/dL
Total protein 4.9 g/dL
ต่ำกว่าปกติ
Albumin 2.9 mg/dL
ต่ำกว่าปกติ : การกรองของไตลดลงทำให้ขับ albumin ไปกับปัสสาวะ
Globulin 2 g/dL
ต่ำกว่าปกติ : ไตเสียหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถดูดซึม globulin กลับได้
Calcium 7.9 mg/dL
ต่ำกว่าปกติ : ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง
Phosphorus 1.5 mg/dL
Sodium(Na) 130 mmol/L
ต่ำกว่าปกติ : ประสิทธิภาพการดูดกลับโซเดียมที่ไตลดลงจากโรคไตเรื้อรัง
CO2 20.8 mmol/L
ต่ำกว่าปกติ : อาจเกิดจากสภาวะความเป็นกรดจากโรคเบาหวาน (Diabetic ketoacidosis) ซึ่งทำให้ร่างกายต้องใช้ไบคาร์บอเนตไปอย่างสิ้นเปลืองเพื่อรักษาสมดุล คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารประกอบตั้งต้นของไบคาร์บอเนตจึงพลอยลดระดับลงตามไปด้วย
eGFR 17.53 mL/min
ต่ำกว่าปกติ : ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพที่ไตจากการเป็นเบาหวาน ทำให้ไตทำงานหนักจนสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ปัญหาที่ 5 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการมีระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (Hypokalemia)
ข้อมูลสนับสนุน
ระดับ K = 3.32 (ค่าปกติ 3.5-5.1 mEq/L^9.17) ล02/02/2564
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดอันตรายจากภาวะ Hypokalemia
เกณฑ์ประเมินผล
ไม่มีอาการของภาวะ hypokalemia ได้แก่ กล้ามเนื้อต่างๆจะเริ่มอ่อนแรงโดยเริ่มที่ขา เกิดอัมพาตแบบเปลี้ย (Flaccid paralysis) เป็นต้น
ระดับ K ปกติ ระหว่าง 3.5-5.1 mEq/L^9.17
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการของภาวะ Hypokalemia อย่างใกล้ชิด
2.ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความผิดปกติของร่างกาย
3.ดูแลให้ผู้ป่วยให้ได้รับE.KCl ตามแผนการรักษา
4.แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ Hypokalemia เช่น แขน ขา อ่อนแรง ท้องอืด หายใจตื้นๆ เป็นต้น หากพบอาการให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาล
5.ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ค่า Potassium
การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีอาการของภาวะ hypokalemia ได้แก่ กล้ามเนื้อต่างๆจะเริ่มอ่อนแรงโดยเริ่มที่ขา เกิดอัมพาตแบบเปลี้ย (flaccid paralysis) เป็นต้น
ไม่สามารถประเมินค่า K ของผู้ป่วยได้เนื่องจากไม่มีการติดตามซ้ำของผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ปัญหาที่ 3 ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
ข้อมูลสนับสนุน
1.ระดับน้ำตาลของผู้ป่วยอยู่ที่ 165 mg% (02/02/2564)
2.ได้รับยา Prednisolone 5 mg.tab. ครั้งละ 12 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่แพทย์สามารถยอมรับได้
เกณฑ์ประเมินผล
ระดับน้ำตาลอยู่ในระดับ 80-180 mg%
กิจกรรมพยาบาล
1.ติดตามวัด และบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความผิดปกติของร่างกาย
2.แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน อาหารทอด อาหารมัน เช่น เนยสด มาการีน แกงกะทิ กล้วยทอด น้ำอัดลม เป็นต้น
3.ติดตามอาการ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยให้อยู่ในระดับ 80-180 mg% ตามที่แพทย์กำหนด
4.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับ NPH 4 unit sc. ac. เช้า ตามแผนการรักษา
5.หากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 mg% ให้ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับ RI ตามแผนการรักษาคือ
-ระดับน้ำตาลอยู่ที่ 181-250 mg% ให้ RI 2 unit sc.
-ระดับน้ำตาลอยู่ที่ 251-300 mg% ให้ RI 4 unit sc.
การประเมินผล
1.ระดับน้ำตาลของผู้ป่วยอยู่ที่ 152 mg% (3/2/64)
ปัญหาที่ 1 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อไตเสียหน้าที่มากขึ้นเนื่องจากพยาธิสภาพของโรค
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยเป็นโรค SLE
ผู้ป่วยปัสสาวะออกน้อย
ผู้ป่วยมีอาการบวมที่ขาทั้งสองข้าง กดบุ๋มระดับ 4+ (1/2/2564)
ค่า eGFR 22.54 mL/min CKD stage 4 (2/2/2564)
ค่า Bun 57.3 mg/dL (2/2/2564)
ค่า Creatinine 2.29 mg/dL (2/2/2564)
วัตถุประสงค์
ประสิทธิภาพการทำงานของไตในผู้ป่วยดีขึ้น
เกณฑ์ประเมินผล
ค่า eGFR มากขึ้น มีค่าปกติ = มากกว่า 90 mL/min และแพทย์ยอมรับได้
ระดับ pitting edema ลดลง
ปัสสาวะออกเพิ่มมากขึ้น และ intake output มีความ balance กัน
ค่า Bun น้อยลง มีค่าปกติ = 7.0-18.7 mg/dl และแพทย์ยอมรับได้
ค่า Creatinine น้อยลง มีค่าปกติ = 0.55-1.02 mg/dl และแพทย์ยอมรับได้
กิจกรรมการพยาบาล
1.วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความผิดปกติของร่างกาย
2.ประเมินอาการผิดปกติในภาวะน้ำเกิน เช่น บวมที่หลังมือ หลังเท้า และขา ฟังปอดได้เสียง crepitation และอาการผิดปกติในภาวะขาดน้ำ เช่น กระหายน้ำมาก ผิวหนังแห้งแตก ความตึงตัวของผิวลดลง เป็นต้น
3.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาคือ
Cyclophosphamide 200 mg inj.
Mesna 400 mg.inj.
NSS 0.9% INJ. 250 ml
Quinnel 200 mg.tab 1x1 po. pc.
Predisolone 5 mg.tab 12x1 po. pc.
Furosemide 500 mg.tab 1x2 po. pc.
4.ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ แนะนำให้ผู้ป่วยหลักเลี่ยงอาหารรสเค็ม ลดหวาน และงดผัก ผลไม้สดเพราะผู้ป่วยอาจเกิดการติดเชื้อได้
5.ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ bun, creatinine และ eGFR
6.บันทึกสารน้ำเข้า-ออก
ปัญหาที่ 4 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมีบำบัด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดคือ cyclophosphamide 200 mg. inj.
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมีบำบัด เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำ เลือดจาง เกล็ดเลือดต่ำ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น
เกณฑ์การประเมินผล
ค่า WBC อยู่ในเกณฑ์ปกติ = 4000-10000 cells/uL
ค่า Hb อยู่ในเกณฑ์ปกติ = 12-15 g/dL
ค่า Hct อยู่ในเกณฑ์ปกติ = 36-45 %
ค่า RBC อยู่ในเกณฑ์ปกติ = 3.9-5.0 10^6/uL
ค่า platelets อยู่ในเกณฑ์ปกติ = 100000 /mm^3
ผู้ป่วยไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังได้รับยาเคมีบำบัด
ผู้ป่วยไม่มีอาการเบื่ออาหาร
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพเพื่อดูความผิดปกของร่างกาย
สังเกตอาการแสดงของภาวะเลือดออกผิดปกติเนื่องจากเกร็ดเลือดต่ำ เช่น มีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง จ้ำเลือด เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
สังเกตอาการแสดงของภาวะซีด คือประเมินสีของเยื่อบุตา ริมฝีปาก และอาการหน้ามืด ใจสั่น เหนื่อยง่าย
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางการสำผัสระหว่าบุคคล เนื่องจากผู้ป่วยอาจอยู่ในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากการรับยาเคมีบำบัด
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา คือ measna 400 mg. inj. ควบคู่ไปกับการได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ และอาจทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดได้
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ Hb Hct platelets WBC RBC
ปัญหาที่ 2 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
Quinnel 200 ml.tab
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
Prednisolone 5 mg.tab
รับประทานครั้งละ 12 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
Cyclophosphamide 200 mg.inj
800 mg+mesna+NSS 200 ml.IV Drip in 2 hrs.(01/02/2564)
วัตถุประสงค์
ป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อในผู้ป่วย
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีไข้อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ = 36.5- 37.4 องศาเซลเซียส
ค่า WBC อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่าระหว่าง 4.24-10.18 10^3/3uL
ค่า neutrophil อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่าระหว่าง 48.1-71.2 %
ค่า lymphocyte อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่าระหว่าง 21.1-42.7 %
ค่า monocyte อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่าระหว่าง 3.3-10.2 %
ค่า eosinophil อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่าระหว่าง 0.4-7.2 %
ค่า basophil อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่าระหว่าง 0.1-1.2 %
กิจกรรมการพยาบาล
1.วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความผิดปกติของร่างกาย
2.แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า ของใช้ และสิ่งแวดล้อม
3.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา CO-TRIMOXAZOLE TAB. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันจันทร์ พุธ ศุกร์ ตามแผนการรักษา
4.ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อย วันละ 8 ชั่วโมง
5.ล้างมือก่อนและหลังการพยาบาล เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย
6.ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ WBC ,Lymphocyte,Neutrophil,Monocyte,Eosinophil,Basophil
การประเมินผล
อุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยคือ 36.2 องศาเซลเซียส (3/2/64)
ค่า WBC ของผู้ป่วยอยู่ที่ 6.59 10^3/uL
ค่าneutrophil ของผู้ป่วยอยู่ที่ 91.0 %
ค่า lymphocyte ของผู้ป่วยอยู่ที่ 2.5 %
ค่า monocyte ของผู้ป่วยอยู่ที่ 6.4 %
ค่า eosinophil ของผู้ป่วยอยู่ที่ 0.0 %
ค่า basophil ของผู้ป่วยอยู่ที่ 0.1 %
General Appearance (1/2/64)
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยสูงอายุ รูปร่างสมส่วน รู้สึกตัวดี ทำตามสั่งได้ neurosign = E4M6V5 ประเมิน motor power แขนขาทั้งสองข้าง grade 5 รับประทานอาหารเองได้ ทานอาหารธรรมดา ลดหวาน ลดเค็ม on temporary catheter แบบ double lumen ที่บริเวณคอด้านขวา on injection plug ที่แขนขวา ไม่มี phlebitis ขาบวมทั้งสองข้าง pitting edema grade 4+ ผิวชุ่มชื้น ขับถ่ายเองได้
General Appearance (2/2/64)
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยสูงอายุ รูปร่างสมส่วน รู้สึกตัวดี ทำตามสั่งได้ neurosign = E4M6V5 ประเมิน motor power แขนขาทั้งสองข้าง grade 5 รับประทานอาหารเองได้ ทานอาหารธรรมดา ลดหวาน ลดเค็ม มีแผลจากการ off temporary catheter แบบ double lumen ที่บริเวณคอด้านขวา on injection plug ที่แขนขวา ไม่มี phlebitis ขาบวมทั้งสองข้าง pitting edema grade 3+ ผิวชุ่มชื้น ขับถ่ายเองได้
General Appearance (3/2/64)
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยสูงอายุ รูปร่างสมส่วน รู้สึกตัวดี ทำตามสั่งได้ neurosign = E4M6V5 ประเมิน motor power แขนขาทั้งสองข้าง grade 5 รับประทานอาหารเองได้ ทานอาหารธรรมดา ลดหวาน ลดเค็ม มีแผลจากการ off temporary catheter แบบ double lumen ที่บริเวณคอด้านขวา on injection plug ที่แขนขวา ไม่มี phlebitis ขาบวมทั้งสองข้าง pitting edema grade 3+ ผิวชุ่มชื้น ขับถ่ายเองได้
การวางแผนจำหน่าย
(Discharge Planning)
D-METHOD
D Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ถึงสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
-ให้ความรู้เรื่องโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) สาเหตุเกิดจากมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยร่างกายให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านหรือทำลายเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆในระบบอวัยวะต่างๆ อาจเกิดจากพันธุกรรม และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด ยาหรือสารเคมี ฮอร์โมนเพศหญิง เป็นต้น อาการที่พบ เช่น ไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว มักมีผื่นแดงบริเวณใบหน้า สันจมูก และโหนกแก้ม 2 ข้าง เป็นรูคล้ายผีเสื้อ เป็นต้น
การปฏิบัติตัว
1.ผู้ป่วยจะได้รับยากดภูมิเป็นเวลานานดังนั้นผู้ป่วยจะต้องมีวินัยในการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และยากดภูมิที่ผู้ป่วยได้รับ คือ Prednisolone 5 mg.tab รับประทานครั้งละ 12 เม็ด หลังออาหารเช้า ซึ่งยาตัวนี้ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน คือ โรคเบาหวาน
2.หลีกเลี่ยงแสงแดด ถ้าจำเป็นให้กางร่มหรือใส่หมวก สวมใส่เสื้อแขนยาวและใช้ครีมกันแดด
3.หลีกเลี่ยงความตึงเครียด ให้ผู้ป่วยทำใจยอมรับกับโรคและปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้น
M Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน สรรพคุณของยา ขนาด วิธีใช้ ข้อระวังในการใช้ยา ตลอดจนการสังเกตภาวะแทรกซ้อนการใช้ยาด้วย
-รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และสังเกตดูอาการผิดปกติของตนเองเมื่อได้รับยาเข้าไปหากมีอาการ เช่น หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก ไข้สูง เป็นต้น ให้รีบมาพบแพทย์
E Environment การจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
-แนะนำผู้ป่วยให้จัดสิ่งของหรือของใช้ในที่ที่สามารถหยิบได้ง่ายเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน
-แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า ของใช้ และสิ่งแวดล้อม
T Treatment ทักษะที่เป็นตามแผนการรักษา
-แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง เช่น มีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ปัสสาวะออกน้อย เป็นต้น ให้รีบมาโรงพยาบาล
H Health การส่งเสริม ฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ
-แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย วันละ 8 ชั่วโมง
O Out patient การมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน
-แนะนำให้ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดทุกครั้ง เพื่อแพทย์จะได้ตรวจและปรับการรักษาที่เหมาะสม
-ถ้าผู้ป่วยต้องการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ให้แจ้งแพทย์เมื่อมารับยาครั้งต่อไป
D Diet การเลือกรับประทานอาหารเหมาะสมกับโรค
-แนะนำให้ผู้ป่วยงดรับประทานอาหารที่มีรสหวาน เค็มจัด ของมันและของทอด เช่น ขนมหวาน แกงกะทิ กาแฟ ปาท่องโก๋ น้ำปลา เป็นต้น เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลและค่า BUN สูงขึ้น
-แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ ไม่ควรอดอาหาร เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้