Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.2 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคพฤติกรรมเกเร…
บทที่ 4.2 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคพฤติกรรมเกเร
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคพฤติกรรมเกเร
1.1 ความหมายโรคพฤติกรรมเกเร
โรคพฤติกรรมเกเร (conduct disorder หรือ CD) อยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพฤติกรรม
โดยจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น
ด้วยการมีพฤติกรรมกรรม ก่อกวน เป็นปัญหา และไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรมของตนเองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคพฤติกรรมเกเร
อาการและอาการแสดงมักเกิดกับเด็กโตหรือวัยรุ่นตอนต้น โดยเด็กผู้ชายจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 10-12 ปี ส่วนเด็กผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 14-16 ปี
โดยมีอาการสําคัญ คือ มีการล่วงละเมิด
สิทธิของผู้อื่น หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคมในช่วง12 เดือนที่ผ่านมา
สาเหตุ การบําบัดรักษาโรคพฤติกรรมเกเร
ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factor)
ยีนที่ทําให้เกิดอาการโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD)
มีการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) น้อย
สมองส่วน paralimbic system ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมเรื่องของแรงจูงใจและอารมณ์มีความผิดปกติ
สารสื่อประสาท (neurotransmitters) พบว่าเด็กที่มีพฤติกรรมเกเรจะมีระดับของ dopamine และ serotonin สูง
ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone hormone) ระดับสูงมีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมก้าวร้าว
สติปัญญาในระดับต่ําและมีผลการเรียนไม่ดี
การมีโรคความผิดปกติของการเรียนรู้ (learning disorders หรือ LD)
ปัจจัยด้านจิตสังคม (psychosocial factors)
ลักษณะพื้นอารมณ์ (temperament) ตั้งแต่เกิดเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก มีลักษณะซนมากกว่าปกติ มีอารมณ์รุนแรง รับประทานอาหารยาก นอนหลับยาก
ลักษณะพื้นอารมณ์ (temperament) ตั้งแต่เกิดเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก มีลักษณะซนมากกว่าปกติ มีอารมณ์รุนแรง รับประทานอาหารยาก นอนหลับยาก
ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ
การไม่รับการยอมรับจากเพื่อนก็มีอิทธิพลอย่างมาก การมีความขัดแย้งกับเพื่อน เพื่อนที่ไม่มีปัญหาพฤติกรรมมักจะไม่ยอมรับเด็กกลุ่มนี้
การรักษาทางยา
• พิจารณาใช้ยาประเภท antipsychotics
haloperidol (haldol), risperidone(risperdal) และ olanzapine (zyprexa) ในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
• เด็กมีอาการหุนหันพลันแล่น หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายอารมณ์ขึ้นๆลงๆ จะรักษาโดยให้ยาพวก selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
• เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีโรคร่วมพวก โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorders)จะรักษาโดยให้ยา lithium
• เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือมีปัญหาทางสมอง(organic brain)จะรักษาโดยให้ยา propranolol
การบําบัดรักษาโรคพฤติกรรมเกเร
เน้นการรักษาแบบองค์รวมทั้งทางกาย-จิตสังคม-อารมณ์ที่มีลักษณะที่ให้เด็กสามารถดําเนินชีวิตไปตามปกติและควรใช้หลายวิธีร่วมกันและต้องตอบสนองต่อความต้องการของเด็กและครอบครัว
การรักษาทางจิต
• การให้คําปรึกษารายบุคคล
• ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้และทักษะการเข้าสังคม (social and learning skills)
• การบําบัดเพื่อเพิ่ม self-esteem
การรักษาทางสังคม
• การบําบัดครอบครัว
• การอบรมพ่อแม่ (parenting program)
การพยาบาลโรคพฤติกรรมเกเร
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
ก่อนที่จะมีการสัมภาษณ์พ่อแม่และ/หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องควรมีการแจ้งให้เด็กทราบด้วย
การประเมินเด็กต้องเป็นไปในลักษณะของการที่ไม่ตัดสินเด็ก
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
เด็กกลุ่มนี้มีวิธีการเผชิญแก้ไขปัญหาในลักษณะของการต่อต้าน ปกป้อง (defensive coping)และการที่เด็กมีพฤติกรรมที่ก่อความวุ่นวาย หรือก้าวร้าว และไม่เป็นมิตร
3) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดกับเด็กและครอบครัวให้เกิดความไว้วางใจและให้ความร่วมมือในการรักษา
สื่อสารกับเด็กและครอบครัวให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทีมสหสาขาวิชาชีพ
ฝึกสอนทักษะทางสังคม (social skills training) ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา (problem solving skills training)
ฝึกทักษะการควบคุมความโกรธ (anger management)
4) การประเมินผล (evaluation)
ภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีโรคพฤติกรรมเกเร จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้หรือไม่ พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม่
รวมทั้งเด็กมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่ พ่อแม่สามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด