Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.1 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชเด็กที่มีภาวะบกพ…
บทที่ 4.1 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
บอกและอธิบายความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disability)
หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในระยะพัฒนาการจากการที่สมองของเด็กหยุดพัฒนาหรือมีการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์
เป็นความบกพร่องของการทําหน้าที่ของสติปัญญาและการปรับตัวส่งผลให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา สติปัญญา
ลักษณะอาการและอาการแสดงเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กจะมีลักษณะอาการและอาการแสดงที่สําคัญ
1) มีพัฒนาการล่าซ้ํา สามารถพบพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเกณฑ์ในทุกด้าน
2) มีความบกพร่องด้านเชาว์ปัญญา
3) มีปัญหาด้านพฤติกรรม เด็กบางรายอาจพบว่ามีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ และพฤติกรรมก้าวร้าว
4) มีลักษณะผิดปกติของรูปร่างอวัยวะต่ง ๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม
สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะ
บกพร่องทางสติปัญญาเป็น 4 ระดับความรุนแรง
1) บกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (mild intellectual disability) ระดับ IQ 50-69
เด็กจะมีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อยในเด็กวัยก่อนเรียนอาจจะไม่เห็นความผิดปกติที่ชัดเจน
ด้านความคิด เด็กจะมีความยากลําบากในการเรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน การคิดคํานวณและความบกพร่องของความคิดเชิงนามธรรม
ด้านสังคม เด็กจะไม่มีวุฒิภาวะ มีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ด้านทางสังคมกับบุคลอื่น
ด้านการปฏิบัติ สามารถดูแลตนเองได้เหมาะสมตามวัย อาจต้องการความช่วยหลือในการทํากิจกรรมที่มีความซับซ้อน
2) บกพร่องทางสติปัญญาปานกลาง (moderate intellectual disability) ระดับ IQ 35-49
ด้านความคิด ทักษะการสื่อสารการพูดการอ่าน การเขียน ทักษะความคิดการคํานวณ การเข้าใจเวลา
ด้านสังคม จะรับรู้ระเบียบทางสังคมได้ไม่ถูกต้อง มีข้อจํากัดในการตัดสินใจทางสังคม และการสื่อสาร
ด้านการปฏิบัติ สามารถดูแลตนเองในการรับประทานอาหาร แต่งกาย ขับถ่ายสุขอนามัยและการทํางานบ้าน โดยต้องใช้เวลาในการฝึกมากกว่าเด็กที่มีพัฒนาการปกติ
3) บกพร่องทางสติปัญญารุนแรง (severe intellectual disability) ระดับ IQ 20-34
ด้านความคิด มีข้อจํากัด ด้านการคิด การใช้ภาษา ต้องช่วยเหลือในการแก้ปัญหาตลอดชีวิต
ด้านสังคม มีข้อจํากัดใการพูด อาจพูดได้เป็นคํา ๆ หรือวลี จะมีสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวและผู้คุ้นเคย
ด้านกาปฏิบัติต้องการความช่วยเหลือทุกอย่างในการทํากิจวัตรประจําวัน
4) บกพร่องทางสติปัญญารุนแรงมาก (profound intellectual disability) ระดับ IQ < 20
จะพบความบกพร่องทางสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิด อาจมีความ
พิการทางหน้าตาและร่างกายร่วมด้วย
ด้นความคิด และด้านสังคม มีข้อจํากัดในการเข้าใจสัญลักษณ์ของการสื่อสารด้วยคําพูดหรือท่าทาง อาจเข้าใจคําหรือท่าทางง่าย ๆ
ด้านการปฏิบัติ ต้องพึ่พาผู้อื่นในทุกด้านของการทํากิจวัตรประจําวัน
สาเหตุการบําบัดรักษาเด็dที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
2.1 สาเหตุของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีนที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมทําให้เกิดความผิดพลาดของการรวมตัวของยีน (genes combine)
ดาวน์ซินโดรม (down syndrome)
เฟนิลคีโตนยูเรีย (phenylketonuria)
กลุ่มอาการฟลาจิลเอกซ์ (flaggy X syndrome)
2) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์ จากการศึกษาพบว่า ในระหว่างการตั้งครรภ์ถ้ามารดามีการใช้แอลกอฮอล์ยาหรือสารเคมีอื่น ๆ อาจส่ผลต่อพัฒนาการของสมองทารกในครรภ์ได้
ระยะคลอด พบว่า การคลอดก่อนกําหนด เด็กทารกจะมีน้ําหนักตัวแรกคลอดต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐาน กระบวนการคลอดนานผิดปกติ สมองได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
ระยะหลังคลอด พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคที่เกิดในวัยเด็ก เช่น โรคไอกรน โรค
อีสุกอีใส โรคหัด อาจนําไปสภาวะเยื่อทหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) และสมองอักเสบ (encephalitis)
3) ปัจจัยทางจิตสังคม
เด็กที่เติบโตมาท่ามกลางความยากจน ครอบครัวแตกแยกและผู้เลี้ยงดูมีความผิดปกติทางจิต เช่น ซึมเศร้า หรือติดสารเสพติด ส่งผลให้ด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
2.2 การบําบัดรักษาเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การรักษาโรคทางกาย ที่เป็นสาเหตุและความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย
กายภาพบําบัด เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จําเป็นในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในทุก ๆด้าน
กิจกรรมบําบัด เป็นการบําบัดที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นองค์ประกอบสําคัญในดําเนินชีวิต
อรรถบําบัด เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสาร
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
การพื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ เป็นการฝึกอาชีพให้กับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การให้คําแนะนําครอบครัว เน้นการให้ข้อมูลในเรื่อง สาเหตุ แนวทางการรักษา และการพยากรณ์โรค
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัติ
การประเมินด้านร่างกาย (physical assessment)
การประเมินพัฒนาการ (developmental assessment)
ใช้แบบคัดกรองพัฒนาการ
การประเมินด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
เป็นขั้นตอนการนําความต้องการหรือ
ปัญหาทางสุขภพของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
3) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
กิจกรรมการพยาบาลต่อตัวเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ลักษณะที่ 1 การส่งเสริมพัฒนาการตามความสามารถของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้หลักพัฒนาการตามวัยปกติ
ลักษณะที่ 2 การช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาที่มีปัญหาทางจิตเวช
ลักษณะที่ 3 ด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาควรได้รับการศึกษตามความสามารถอย่างเหมาะสมตมวัย
การช่วยเหลือครอบครัว ในระยะที่พ่อแม่มีความรู้สึกสูญเสีย เศร้าโศก ในการมีลูกที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ช่วยประคับประคองจิตใจของพ่อแม่ พยาบาลแสดงความเข้าใจและยอมรับปฏิกิริยาความสูญเสียของพ่อแม่ ไม่ตําหหรือต่อต้าน รับฟังความรู้สึกของพ่อแม่
ช่วยให้พ่อแม่ยอมรับลูกและมีความหวัง
ให้คําปรึกษาพ่อแม่
การป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ระยะก่อนตั้งครรภ์ วัยเจริญพันธุ์โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ควรได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ
ระยะตั้งครรภ์ หญิงมีครรภ์ควรฝากครรภ์ตั้งแต่แรกและได้รับการตรวจครรภ์สม่ําเสมอ ได้รับความรู้ในการปฏิบัติตัวในระหว่างตั้งครรภ์
ระยะคลอด หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการทําคลอดในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
ระหลังคลอด เด็กจําป็นต้องได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัว
4) การประเมินผล (evaluation)
ภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้หรือไม่