Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค(The Theory of Consumer Behavior) - Coggle Diagram
ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค(The Theory of Consumer Behavior)
ความหมาย
-การแสดงกริยาอาการที่เกี่ยวกบการซื้อการใช้ การประเมินผล
การค้นหาข้อมูลสินค้าหรือบริการตามความต้องการหรือตามการคาดหวังของผู้บริโภค
-การแสดงปฏิกิริยาของบุคคลที่เป็นกระบวนการ เพื่อให้ได้รับสินค้าหรือบริการตามความต้องการของตน
-พฤติกรรมของผู้บริโภคในการค้นหา ซื้อใช้ประเมิน และกำจัดสินค้าและบริการ ซึ่งผู้บริโภคคาดวาจะสามารถสนองความต้องการของเขาได้
ประเภทของผ้บริโภค
กลุ่มที่1
-บุคคล คือ ซื้อสินค้าไปใช้ในครัวเรือนของเขา เช่น ซื้อแป้ง สบู่นี้ต้องเป็นบุคคลสุดท้าย ไม่ได้นําไปผลิตหรือขายต่อ
-องค์กร คือ นิติบุคคลที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์มุ่งแสวงหากำไร หรือไม่แสวงหากำไร จัดซื้อค้าหรือบริ การไว้ใช้ในกิจการของตนเอง เช่น ซื้อเครื่องใช้สํานักงานหรือซื้อเครื่องจักรไว้ผลิตสินค้า ซื้อวัตถุดิบไว้ผลิตสินค้าให้เป็นสินค้าสําเร็จรูป
กลุ่มที่2
-ผู้บริโภคที่เป็นบุคคลที่แท้จริง คือ บุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งเป็นประจําสมํ่าเสมอ
-ผู้บริโภคมีศักยภาพในการซื้อ คือ บุคคลที่พร้อมจะซื้อสินค้าหรือบริการแต่ยังได้รับการจูงใจหรือข้อมูลในสินค้าหรือบริการยังไม่เพียงพอ
-ผู้บริโภคไม่แท้จริง คือ บุคคลที่ไม่มีความต้องการในสินค้าหรือบริการทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
กลุ่มที่3
-ผู้บริโภคที่เป็นอุตสาหกรรม หมายถึง ธุรกิจที่ซื้อสินค้าหรือบริการไปขาย ต่อหรือผลิตต่ออีกทอดหนึ่ง
-ผู้บริโภคที่เป็นครัวเรือนหมายถึง บุคคลที่มีอํานาจซื้อสินค้าหรือบริการ ไว้ให้สมาชิกในครอบครัวใช้ เช่น แม่บ้าน
กลุ่มที่4
-ผู้บริโภคที่เป็นผู้คาดหวัง คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่นักการตลาดต้อง การจะเข้าถึง ทั้งนี้
เพราะมีปัจจัยหลายประการที่สอดคล้องกับสินค้าของเขา เช่น ผลิตภัณฑ์ของขบ เคี้ยว ขนมอบกรอบ เด็กมักชอบรับประทาน นักการตลาดจึงมุ่งโฆษณาไปยังกลุ่มเด็กเพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการซื้อ
ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค
-ทฤษฎีอรรถประโยชน์แบบเรียงลําดับ หรือการวิเคราะห์ด้วยเส้นความพอใจเท่ากัน
-ทฤษฎีอรรถประโยชน์แบบหน่วยนับ
อรรถประโยชน์
หมายถึง
ความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการได้บริโภค สินค้า
และบริการอรรถประโยชน์ที่ผู้บริโภคแต่ละคนได้รับ
การวิเคราะห์ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคโดยใช้ทฤษฎีอรรถประโยชน์แบบหน่วยนับ
อรรถประโยชน์รวม (Total Utility: TU)
อรรถประโยชน์รวมที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการในแต่ละหน่วยหรือความพอใจทั้งหมดที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้า หรือบริการในจํานวนต่าง ๆ ในเวลาใดเวลาหนึ่ง
อรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย หรืออรรถประโยชน์เพิ่ม (Marginal Utility: MU)
อรรถประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับเพิ่มขึ้นจากการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 1 หน่วยหรือความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าในหน่วย ที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มหรือ ลดการบริโภคก็ตาม
ความสัมพันธ์ระหว่างอรรถประโยชน์รวมและอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย
-ค่าอรรถประโยชน์รวม และ อรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คือ
MUn = อรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย หรือ อรรถประโยชน์ที่ได้รับจากการบริโภคสินค้า หน่วยที่n
TUn = อรรถประโยชน์รวมที่ได้รับจากการบริโภคสินค้า n หน่วย
-MUn = TUn- TUn-1
TUn-1 = อรรถประโยชน์รวมที่ได้รับจากการบริโภคสินค้า n-1 หน่วย
กฏการลดลงของอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย(Law of diminishing marginal utility)
-เมื่อผู้บริโภคสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อรรถประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากสินค้า แต่ละหน่วยที่บริโภคเพิ่มขึ้นจะลดลงตามลำดับจนมีค่าเป็นศูนย์ และติดลบในที่สุด
ดุลยภาพของผู้บริโภค
หมายถึง สถานการณ์ซึ่งผู้บริโภคไม่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงจํานวนการซื้อสินค้า และบริการอีกต่อไป
-จํานวนสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคทําการบริโภคอยู่นั้นก่อให้เกิดความพอใจสูงสุด แก่ผู้บริโภค
แบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 กรณี คือ
-ซื้อสินค้าเพียงชนิดเดียว
ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละหน่วย เมื่ออรรถประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้ามากกวาอรรถประโยชน์ของเงินที่จ่ายออกไป
-ซื้อสินค้ามากกวา 1 ชนิด
ผู้บริโภคซื้อสินค้าหลายชนิดจากเงินที่มีอยูจํานวนหนึ่ง ผู้บริโภคจะแบ่งเงินไปซื้อสินค้าแต่ละชนิดจนกระทังอรรถประโยชน์ของเงินหน่วยสุดท้าย หรือ เงินบาทสุดท้ายที่ใช้ซื้อสินค้าแต่ละชนิดมีค่าเท่ากัน
ปัญหาของผู้บริโภคคือ ควรจัดสรรงบประมาณที่มีอยูอย่างจํากัดนั้นไปซื้อสินค้าชนิดใดบ้าง และจํานวนเท่าใดเพื่อให้ได้รับอรรถประโยชน์รวมสูงสุด
แบ่งการพิจารณาออกเป็น
ราคาสินค้าเท่ากัน
ราคาสินค้าไม่เท่ากัน
การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคโดยใช้ ทฤษฎีอรรถประโยชน์แบบเรียงลําดับ หรือการวิเคราะห์ด้วยเส้นความพอใจเท่ากัน
ทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference Curve Theory)
เป็นเส้นที่แสดงจํานวนต่างๆ ของสินค้าตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปที่ทําให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจเท่ากับ ภายใต้งบประมาณจํากดจํานวนหนึ่ง
ลักษณะของเส้น Indifference Curve
เส้นความพอใจเท่ากันตัดกันเองไม่ได้
MRS มีอัตราลดลง เรียกว่า“ หลักการลดน้อยถอยลงของอัตราการทดแทนระหว่างสินค้าx เพื่อสินค้า y” (Law of Diminishing Marginal Rate of Substitution : MRS x for y )
เป็นเส้นโค้งเว้าเข้าหาจุดกําเนิด (convex to the origin) เนื่องจากอัตราการทดแทนของสินค้าทั้งสองชนิดไม่สมบูรณ์ โดยอัตราทดแทนหน่วยสุดท้ายของการบริโภค (Marginal Rate of Substitution : MRS) มีอัตราลดลง
เป็นเส้นที่ทอดลงจากซ้ายไปขวามีความชันเป็นลบ (negative slope) แสดงว่าเมื่อผู้บริโภคได้รับสินค้าอย่างหนึ่งลดลง เขาจะต้องเพิ่มการบริโภคสินค้าอีกอย่างหนึ่ง จึงจะชดเชยความพอใจเท่าเดิม
เส้นงบประมาณ หรือเส้นราคา(Budget Line or Price Line : BL)เส้นที่แสดงส่วนประกอบของสินค้า 2 ชนิด ที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้ด้วยเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดจํานวนหนึ่ง ั ทุกจุดบนเส้นงบประมาณจะใช้เงินหมดพอดี
การเปลี่ยนแปลงของเส้นงบประมาณ
รายได้ของผู้บริโภคเปลี่ยน โดยราคาสินค้าทั้งสองชนิดคงที่
ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง โดยที่รายได้คงที่
ดุลยภาพของผู้บริโภค(Consumer Equilibrium)
-การที่ผู้บริโภคจัดสรรเงินที่มีอยู่ไปซื้อสินค้าในสัดส่วนให้ได้รับความพอใจ
สูงสุด