Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3.3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศ…
บทที่ 3.3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
ความหมายของภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
1) การสูญเสีย (loss)
เป็นการที่บุคคลพลัดพรากจากบุคคล สัตว์เลี้ยง สิ่งของ อวัยวะ หรือความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งบุคคลให้คุณค่าและให้ความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีความสําคัญกับชีวิต
2) ภาวะเศร้าโศก (grief)
เป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นภายหลังจากบุคคลเผชิญกับการสูญเสียหรือคาดว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ประเภทและลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
บุคคลจะมีปฏิกิริยาต่อการสูญเสียแบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะช็อค (shock and disbelief)
เป็นระยะแรกที่รับรู้ถึงการสูญเสีย บุคคลจะตกใจ ไม่เชื่อ ปฏิเสธ อาจเกิดความรู้สึกมีนชาใน 2 -3 ชั่วโมงถึง 2 -3 สัปดาห์
ระยะพัฒนาการตระหนักรู้ถึงการสูญเสีย (developing awareness)
เป็นระยะที่บุคลเริ่มมีสติรับรู้มากขึ้นและตระหนักรู้ได้ถึงการสูญเสีย อาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือเป็นชั่วโมง
ใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์แล้วจะดีขึ้นเองใน 2 – 4 เดือนโดยส่วนใหญ่จะไม่เกิน 6 เดือนภายหลังจากมีการสูญเสียเกิดขึ้น
อาการที่เด่นชัดในระยะนี้คือ การร้องไห้คร่ําครวญถึงการสูญเสียนั้น ความอยากอาหารลดลง นอนไม่เหลับ
ระยะพักฟื้น (restitution)
เป็นระยะที่บุคคลจะมีการปรับตัวเพื่อฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ เริ่ม
ยอมรับความจริง การหมกมุ่นคิดถึงสิ่งที่สูญเสียน้อยลง มองหาสิ่งใหม่ทดแทน
1) ประเภทและลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะสูญเสีย (loss)
การสูญเสียสิ่งของภายนอก (loss of external object)
การสูญเสียตามช่วงวัย (maturational loss)
การสูญเสียภาพลักษณ์หรือ อัตมโนทัศน์(loss of body image or some aspect ofself)
การสูญเสียความรักหรือบุคคลสําคัญในชีวิต(loss of a love or a significant other)
2) ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะเศร้าโศก (grief)
การเศร้าโศกแบบปกติ (normal grief)
ระยะเฉียบพลัน ระยะนี้เกิดขึ้นในช่วง 4 – 8 สัปดาห์แรก บุคคลจะช็อค ไม่เชื่อและไม่ยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น
ระยะเผชิญกับการสูญเสีย
หลังจากที่บุคคลผ่านช่วงวิกฤตในระยะเฉียบพลันแล้ว ภาวะของการเศร้าโศกจะยังมีอยู่ในจิตใจและอาจจะมีอาการและอาการทางร่างกายและจิตใจ
การเศร้าโศกแบบผิดปกติ (maladaptive grief)
• chronic grief reaction เป็นปฏิกิริยาความเศร้าโศกเรื้อรัง ยาวนาน โดยบุคคลจะมีภาวะเศร้าโศก อยู่เป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีท่าทีว่าความรู้สึกน้ันจะลดลง
• delayed grief reaction เป็นปฏิกิริยาเศร้าโศกที่ล่าช้า บุคคลไม่สามารถแสดงความเศร้าโศกออกมาได้
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
1) การประเมินภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
ประเมินระดับความรุนแรงของอาการและอาการแสดงที่เป็นผลจากความสูญเสียแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ประเมินระดับการให้คุณค่า และความหมายของสิ่งสูญเสียในมุมมองของผู้ป่วย
ประเมินลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะซึมเศร้าหรืออาการแสดงที่เป็นภาวะเศร้าโศรกแบบผิดปกติให้กลับสู่ภาวะปกติ
เพื่อให้การรักษาพยาบาลเรื่องอาการและอาการแสดงทางกายให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวและแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการยอมรับความจริงของชีวิตโดยเฉพาะในเรื่องการสูญเสีย
เพื่อฝึกการใช้วิธีในการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัว ให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
พยายามรับฟังอย่างเข้าใจ ยอมรับในพฤติกรรม และมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียนั้น
ใช้เทคนิคการสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น
ส่งเสริมกิจกรรมที่จะนําไปสู่การสร้างความหวัง
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยมีภาวะเศร้าโศกลดลง
สามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น
ผู้ป่วยมีการตระหนักรู้ตนเอง
ถึงระดับความรุนแรงของ
ภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสีย
ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้มากขึ้น
และแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่