Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
Acute Respiratory Distress Syndrome : ARDS
เป็น Syndrome ที่ประกอบไปด้วย dyspnea, tachypnea, cyanosis ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการให้ออกซิเจน + low lung compliance + diffuse alveolar infiltrate
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ถุงลมลดลง และหลอดเลือดฝอยมีการซึมผ่านของของเหลวเพิ่มขึ้น
การพยาบาล
ประเมินและบันทึกรูปแบบ ลักษณะ อัตรา ความลึก และจังหวะ การหายใจ และเสียงการหายใจ
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน และ คั่งคาร์บอนไดออกไซด์
จัดท่านอนศีรษะสูง ไม่ให้นอนตะแคงทับข้างที่มีพยาธิสภาพ
กระตุ้นการไอ หายใจเข้าออกลึกๆ ยาวๆ ส่งเสริมการพักผ่อน ลดการใช้ออกซิเจน
ให้ยาตามแผนการรักษา
การช่วยเหลือและการพยาบาลผู้ได้รับการใช้ท่อทางเดินหายใจ
ข้อบ่งชี้ในการใช้ Endotracheal Tube
ผู้ป่วยมีภาวะหายใจล้มเหลว
Upper airway obstruction
Loss of protection airway reflex
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้อง hyperventilate เพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ
Apnea
Cardiac Arrest
การพยาบาล
ventilate ให้เพียงพอขณะ Intubate Endotracheal Tube
หลังใส่ Endotracheal Tube ตรวจดูว่า Pilot balloon โป่งพอดีหรือไม่
ตรวจดูตำแหน่งที่ท่ออยู่เสมอ ปลายท่อควรอยู่เหนือ Carina ประมาณ 1-2 นิ้ว (จาก X-RAY)
เมื่อผู้ป่วยหายใจได้เอง ควร Deflate Cuff เสมอ และ Inflate Cuff ก่อนให้ Tube Feeding และ 1 ชั่วโมงหลังให้ Tube Feeding แล้ว
ดูดเสมหะ สังเกตลักษณะสี และจํานวนของเสมหะที่ออก รักษาความสะอาดปากและฟันของผู้ป่วย
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว สัญญาณชีพ Sat O2 และ EKG
เปลี่ยนพลาสเตอร์ เชือกผูกท่อ Endotracheal Tube เมื่อสกปรก เพื่อให้สะอาดอยู่เสมอ
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะ Hypoxia จากใช้เวลาการ Intubation นานเกินไป
Infection
Paranasal Sinusitis จากการใส่ท่อทางจมูกหลายวัน
Tracheobronchitis และ Pneumonia จากการสำลักน้ำลาย, อาหาร
การติดเชื้อจากเครื่องมือที่ใช้ และบุคลากร การใช้เครื่องมือไม่ถูกวิธี ไม่เหมาะสม ขาดความระมัดระวัง
ท่อ Endotracheal Tube กระเปาะรั่วหรือโปร่งเกินไป ความดันในกระเปาะที่สูงเกินไป
Obstruction เกิดจากการเกาะแน่นของเสมหะภายในท่อ
การช่วยเหลือและการพยาบาลในการถอดท่อทางเดินหายใจ
Extubation
ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนถอดท่อช่วยหายใจ โดยประเมินจาก CALMS
CNS ศูนย์ควบคุมการหายใจปกติมี cough reflex, swallowing reflex, และ gag reflex
Airway clear Lung พยาธิสภาพที่ปอดดีขึ้น
Muscles กล้ามเนื้อหายใจมีแรงพอที่จะหายใจเอง ไอออกเองได้
Secretion สังเกตลักษณะเสมหะ, ปริมาณ, ความเหนียว
ดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจให้หมดร่วมกับการให้ 100 % Oxygen โดยการใช้ Ambu Bag Ventilate ประมาณ 1 - 2 นาที
แกะปลาสเตอร์และเชือกผูก Tube ออก แล้วดูดลมออกจาก Cuff ให้หมด
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า – ออกลึก ๆ และหายใจเข้าเต็มที่ แล้วดึงท่อช่วยหายใจออกอย่างรวดเร็ว
จดบันทึกใน Flow Chart และ Nurse Note
ตรวจวัดอัตราการหายใจทุก 15 นาที 4 ครั้ง 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชม. จน stable
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ และไอ เพื่อขับเสมหะออก ทำการดูดเสมหะได้เมื่อจำเป็น
สังเกตการหายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก มีผิวเปลี่ยน ความวิตกกังวล อาการกระสับกระส่าย และเสียงหายใจครืดคราด ถ้าเสียงหายใจครืดคราด ยังไม่ดีขึ้นภายหลังการดูดเสมหะ ให้วัดผู้ป่วยนอนศีรษะสูง รายงานแพทย์และเตรียมอุปกรณ์สำหรับการIntubation
ให้ Oxygen Mask ในระยะแรก ร่วมกับจัดท่าให้ผู้ป่วยแหงนหน้าขั้น ศีรษะสูง เพื่อให้หายใจสะดวก
เครื่องช่วยหายใจ
ส่วนประกอบ
ตัวควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ (Heated Humidifier) : T 32-32 องศา
ระบบเตือนสัญญาณอันตราย (Alarm setting) : RR, TV, MV, PIP
ส่วนที่ปรับตั้งค่า
waveform
กลไกการทำงาน
Trigger mechanism : กลไกการควบคุมการจ่ายแก๊ส ในระยะเริ่มการหายใจเข้า
Limit : การตั้งค่าที่กำหนดไว้ไม่ให้เกินค่าที่ตั้งไว้ในการหายใจเข้า
Cycling mechanism : กลไกที่ใช้ในการหยุดจ่ายแก๊ส ใช้ในการเปลี่ยนการหายใจเข้าเป็นหายใจออก
ชนิด
Volume cycle ventilator เครื่องช่วยหายใจชนิดนี้การหายใจเข้าจะสิ้นสุดลงเมื่อได้ปริมาตรตามที่ตั้งไว้ และจะเปลี่ยนเป็นการ
หายใจออกทันที ปริมาตรที่ได้จะไม่เปลี่ยนแปลงตามสภาพของปอด จึงให้เกิด volume trauma ได้
Pressure cycle ventilator เครื่องช่วยหายใจชนิดนี้การหายใจเข้าจะสิ้นสุดลงเมื่อได้ความดันตามที่ตั้งไว้
Time cycle ventilator เครื่องช่วยหายใจที่ใช้ระยะเวลาในการหายใจเข้าเป็นตัวสิ้นสุดระยะเวลาของการหายใจเข้า เมื่อครบ
เวลาตามที่ตั้งไว้แล้วจะเปลี่ยนเป็นการหายใจออกทันที
Dual control เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ประกอบด้วย pressure control และ volume control ร่วมกัน ความดันใน
การหายใจเข้าในช่วงการหายใจแต่ละครั้งจะปรับเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ tidal volume คงที่ทุกครั้งในการหายใจ