Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3.2 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้…
บทที่ 3.2 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้าว
ความหมายความโกรธ
ความโกรธ (anger) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคล
เป็นประสบการณ์ของความรู้สึกทางอารมณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
อารมณ์โกรธเป็นอารมณ์ที่ต่อเนื่องกันจากความรู้สึกขุ่นเคืองใจ ไปจนถึงความรู้สึกไม่พอใจที่รุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของความความโกรธ
1) ด้านร่างกาย ระบบประสาทซิมพาทิติก (sympathetic) จะได้รับการกระตุ้นทําให้อัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น หน้าแดง มือสั่น หายใจเร็วแรง
2) ด้านจิตใจและอารมณ์เกิดความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ สูญเสียคุณค่า และศักดิ์ศรีในตนเอง คับข้องใจ วิตกกังวล
ความไม่เป็นมิตร (hostility)
ความก้าวร้าว (aggression)
ความก้าวร้าว (aggression)
แยกตัว (withdrawal)
ซึมเศร้า (depression)
สาเหตุการเกิดของความความโกรธ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
สารสื่อประสารในสมอง
การได้รับบาดเจ็บหรือความกระทบกระเทือนที่สมอง
การเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ
2) ปัจจัยด้านจิตใจ (psychological factors)
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้อธิบาย
ถึงสัญชาติญาณของมนุษย์ ได้แก่ สัญชาติญาณแห่งการมีชีวิตและสัญชาติญาณแห่งการตายหรือความก้าวร้าวซึ่งการแสดงความโกรธถือว่าเป็นสัญชาติญาณแห่งการตายของมนุษย์
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)
3) ปัจจัยด้านสังคม (psychosocial factors)
แนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (sociocultural theory)
เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมรุนแรง ก็มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของบิดา มารดา ผู้เลี้ยงดู หรือบุคคลใกล้ชิดได้
การพยาบาลบุคคลที่มีความโกรธ
1)การประเมินบุคคลที่มีภาวะโกรธ
ประเมินความเสี่ยงในการทําร้ายตนเอง และผู้อื่นเมื่อบุคคลมีอารมณ์โกรธ
ประเมินบุคคลดังกล่าวว่ามีความขัดแย้งในจิตใจว่ามีสูงมาก หรือน้อยเพียงใด
ประเมินอาการทางร่างกาย ที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความโกรธ
ประเมินการใช้กลไกทางจิต ที่อาจจะเป็นผลเสียต่อการดําเนินชีวิต
ประเมินพื้นฐานอารมณ์ดั้งเดิมของผู้ป่วยและระดับความอดทนของผู้ป่วยแต่ละคน
ประเมินความเข้าใจตนเองของผู้ป่วย โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับบุคลิกภาพและอารมณ์โกรธของตนที่เกิดขึ้น
ประเมินระดับความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ความสามารถในการปรับตัวเมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธต่อ
ประเมินสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ หรือมีความเชื่อ หรือปรัชญาของชีวิตที่ยึดถืออย่างไร
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
เพื่อให้ระบายอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์
เพื่อป้องกันอันตรายจากโรคทางร่างกายที่มีความเชื่อมโยงจากอารมณ์โกรธ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อมีความโกรธ
เพื่อพัฒนาทักษะในการปรับตัวและสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นเมื่อมีความโกรธ
3) กิจกรรมทางการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก เรื่องราวต่างๆ หรือพฤติกรรมและการสื่อสารต่อบุคคลอื่น เมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเรียนรู้และเข้าใจบุคลิกภาพและอารมณ์โกรธของตนเมื่อความโกรธของผู้ป่วยลดลง
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยสามารถอธิบายวิธีการเผชิญความโกรธที่สร้างสรรค์ได้มากกว่าเดิม
ผู้ป่วยมีวิธีการระบายความรู้สึกโกรธที่สร้างสรรค์มากขึ้น โดยไม่ใช้วิธีการที่รุนแรงในการเผชิญความโกรธ