Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system) - Coggle Diagram
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system)
ระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นระบบที่กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ในรูปแบบของของเหลว ที่เรียกว่าน้ำปัสสาวะ ประกอบไปด้วย ระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนบน(upper urinary tract) และระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนล่าง(lower urinary tract
โครงสร้างของไต
ไต มีลักษณะคล้ายรูปถั่ว ฝั่งขวาจะอยู่ต่ำกว่าฝั่งซ้ายเล็กน้อย เมื่อผ่าไตออกจะแบ่งเนื้อไตเป็น 2 ส่วน คือ
-เนื้อไตส่วนนอก(renal cortex) ประกอบด้วย หลอดไต(renal tubule) และ (glomerulus)
-เนื้อไตส่วนใน(renal medulla) ประกอบด้วย กรวยไต(renal pyramid)
1.renal corpuscle ทำหน้าที่กรองเลือดที่เข้ามาในไต ประกอบด้วย bowman’s capsule และ glomerulus
2.renal tubule (หลอดไต) ประกอบด้วย
-หลอดไตส่วนต้น(proximal tubule)
-หลอดไตรูปตัวยู(henle’s loop) -descending limb -ascending limb
-หลอดไตส่วนปลาย(distal tubule)
-ท่อรวม(collecting duct)
หน้าที่ของไต
1.กำจัดของเสีย จากการย่อยพวกเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นอาหารพวกโปรตีนซึ่งจะถูกย่อยสลายเป็นยูเรีย และแอมโมเนีย
2.ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้ เช่น น้ำ ฟอสเฟต โปรตีน แคลเซียม
3.รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
4.รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
5.ควบคุมความดันโลหิต
กระบวนการสร้างน้ำปัสสาวะ
ไตสร้างน้ำปัสสาวะโดยอาศัยกระบวนการสำคัญ 3 ขั้นตอน
1.กระบวนการกรองที่โกลเมอรูลัส (glomerular filtration)
เป็นกระบวนการแรกที่สร้างน้ำปัสสาวะ ในแต่ละวันจะมีอัตราการกรองในเพศชาย ประมาณ 180 ลิตร ส่วนเพศหญิง ประมาณ 150 แต่มีปัสสาวะออกมาเพียง 1.5 – 2 ลิตร ซึ่งเป็นของเสียเพียง 1% ที่ถูกขับออกมาและของเหลวที่มีประโยชน์ส่วนมากอีก 99% จะถูกดูดกลับหมด
2.กระบวนการดูดซึมกลับที่หลอดไต(tubular reabsorption)
หลอดไตส่วนต้น
(Proximal tubule) จะเกิดมากสุดประมาณ 70% มีการดูดกลับแบบใช้พลังงาน (Active transport) ได้แก่ กลูโคส โปรตีนโมเลกุลเล็ก กรดอะมิโน วิตามิน Na+ K+ และการดูดกลับแบบไม่ใช้พลังงาน (Passive transport) ได้แก่ ยูเรีย น้ำ Cl- HCO-3
หลอดไตส่วนปลาย
(Distal convoluted tubule) มีการดูดน้ำกลับแบบไม่ใช้พลังงาน ส่วนการดูดกลับของ NaCl และ HCO-3 กลับแบบใช้พลังงาน โดยการดูดกลับของน้ำและ Na+ อยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมน ADH (Antidiuretic hormone) และ Aldosterone ตามลำดับ
3.กระบวนการคัดหลั่งสารที่หลอดไต(tubular secretion)
เป็นการขนส่งสารจากเลือดเข้าไปยังท่อหน่วยไต โดยการขับสารบางตัวออกจากเลือด ที่ท่อขดส่วนต้น (Proximal tubule) มีการหลั่งสารหลายชนิด เช่น หลั่ง H+ K+ NH+3 และที่บริเวณท่อหน่วยไตส่วนท้าย (Distal convoluted tubule) มีการหลั่ง H+ K+ ยาและสารพิษบางชนิด
กระบวนการขนส่งในหลอดไต(tubular transportation)
มี 2 ทาง คือ
การดูดซึมกลับ(reabsorption)
การหลั่ง(secretion)
ฮอร์โมนที่ควบคุมการดูดกลับและการหลังสารที่หลอดไต
1.แองจิโอเทนซิน II
-เพิ่มการดูดซึมกลับของ(NaCl) และน้ำ
-เพิ่มความดันโลหิต
2.อัลโดสเตอโรน
-เพิ่มการดูดซึมกลับของ(NaCl) และน้ำ
-หลั่งโพแทสเซียมขับออกทางปัสสาวะ
3.Adrenomedullin
-ขับน้ำและเกลือออกทางปัสสาวะ
4.Dopamine
-ดูดซึมกลับน้ำและ NaCl ลดลงในหลอดไตส่วนต้น(proximal tubule)
5.ฮอร์โมนประหยัดน้ำ (ADH)
-ดูดน้ำกลับที่ท่อรวม
-ลดการขับปัสสาวะ
-ขับน้ำและ NaCl ออกทางปัสสาวะ จึงลดภาวะน้ำเกินของร่างกาย
การขับปัสสาวะ(micturation)
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นการรักษาความสมดุลของของเหลว เกลือแร่ และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบประสาทที่อยู่ ในอำนาจจิตใจ
ระบบประสาทที่ควบคุมการถ่ายปัสสาวะ
ถูกควบคุมด้วยระบบประสาทส่วนกลาง คือสมองและไขสันหลัง ส่วนที่คอยกระตุ้นการขับถ่ายปัสสาวะอยู่ที่พอนส์ส่วนหน้า และไฮโพทาลามัสส่วนหลัง
ระบบพาราซิมพาเทติกS -4 มาตาม pelvic nerve และร่วมไปกับ inferior hypogastric plexus ปะปนไปกับซิมพาเทติกมายังกล้ามเนื้อ depressor และหูรูดท่อปัสสาวะชั้นใน ทำให้กล้ามเนื้อ detrusor หดตัวและหูรูดท่อปัสสาวะชั้นในคลายตัวและรับความรู้สึกตึงตัว (proprio ceptive) จากตัวรับรีเฟลกซ์ยืด
ระบบประสาทซิมพาเทติก จากไขสันหลังระดับ 1, 2, มาเป็น (pre-sacral nerve) และแยกแขนงมาตาม hypogastric ซ้ายขวาแล้วแตกแขนงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะมายัง trigone และท่อปัสสาวะส่วนหลังช่วยทำให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัว ทำให้ปัสสาวะไหลเข้าได้ง่าย
ระบบประสาทร่างกายจาก S2- S4 มาตาม Pudendal nerve ไปบังคับกล้ามเนื้อหูรูดท่องปัสสาวะชั้นนอก ทำให้มีการหดตัวอย่างต่อเนื่อง (tonic Contraction) และแขนงที่ไปยังต่อมลูกหมากส่วนท่อปัสสาวะทำหน้าที่รับความรู้สึกเจ็บปวด อุณหภูมิและสัมผัส
ส่วนประกอบของน้ำปัสสาวะ
น้ำประมาณ 95% ของปริมาตรของน้ำปัสสาวะที่เราขับถ่ายออกมา ซึ่งปริมาณที่ขับถ่ายออกมาก็ขึ้นอยู่กับสภาพของของเหลวในร่างกายแต่ละคน
-เกลืออนินทรีย์ ได้แก่ เกลือของไอออนบวก และเกลือของไอออนลบ ปริมาณที่ขับถ่ายก็ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารที่มีปริมาณส่วนประกอบของเกลือในแต่ละวัน
-สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เกิดจากการเผาผลาญพลังงาน ยา สารพิษ หรือสารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วเพื่อขจัดสารพิษตกค้างที่สะสมอยู่ในเลือดออก (Detoxification) ได้แก่ ยูเรีย (Urea), กรดยูริก (Uricacid), ครีอะทีน (Creatine), กรดฮิปพูริก (Hippuric acid)
อาการแสดงของโรคระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ภาวะบวม
ถ่ายปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ
ถ่ายปัสสาวะมาก
ถ่ายปัสสาวะยาก
กลั้นปัสสาวะไม่ได้