Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3.1 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเ…
บทที่ 3.1 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง การตอบสนองของความวิตกกังวลและความเครียด
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด จะมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หน้าแดง
ระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการสะอีก หายใจเร็ว
หายใจลําบาก
ระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการกลืนลําบาก ปากแห้ง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อึดอัดแน่น ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องเดิน
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด มีการเปลี่ยนแปลงในรอบเดือน ความรู้สึกทางเพศลดลง
ระบบประสาท จะมีอาการปวดศีรษะจากความเครียด ตาพร่า หูอื้อ ปากแห้ง เหงื่อออก มือสั่น รูม่านตาขยาย
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย มือสั่น
2) การเบลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์บุคคลจะมีความรู้สึกหวาดหวั่น กลัว ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มองตนเองไร้ค่า
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม บุคคลจะขาดความสนใจ ขาดความคิดริเริ่ม รู้สึกว่าช่วยเหลือตนเองไม่ได้
4) การเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา ความคิด ความจําลดลง คิดไม่ออก ครุ่นคิด หมกมุ่นไม่ค่อยมีสมาธิ
การพูดติดขัด
ความเครียด หมายถึง ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายและจิตใจที่มีต่อสิ่งกระตุ้น (stressor)และบุคคลนั้นได้ประเมินแล้วว่าสิ่งกระตุ้นนั้นคุกคามหรือทําให้ตนเองรู้สึกไม่มั่นคง ปลอดภัย
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ มีเสียงด้งในหู ปวดตามกล้ามเนื้อ อ่อนแรงไม่อยากทําอะไร
2) การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ สังคม ได้แก่ วิตกกังวล โกรธง่าย หงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ การตัดสินใจไม่ดี สมาธิสั้น ขี้ลืม
3) การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรม ได้แก่ ร้องไห้ กัดเล็บ ดึงผมตัวเอง รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่ สุรา ก้าวร้าว
การตอบสนองของบุคคลต่อความเครียด
1) การตอบสนองด้านร่างกาย
ระยะเตือน (alarm reaction)
• ระยะช็อก (shock phase)
ระยะอาจใช้เวลาประมาณตั้งแต่ 1 นาที ถึง 24 ชั่วโมง
• ระยะตอบสนองการช็อก (counter shock phase shock phase)
ระยะการต่อต้าน (stage of resistance) บุคคลจะปรับตัวต่อต้านความเครียดเต็มที่
ระยะหมดกําลัง (stage of exhaustion) เมื่อบุคคลมีการปรับตัวในระยะการต่อต้านไม่สําเร็จร่างกายจะหมดแรงที่จะต่อสู้กับความครียด เกิดภาวะอ่อนล้า เหนื่อยและหมดแรง
2) การตอบสนองด้านจิตใจ
หนี หรือเลี่ย (flight) เป็นกลไกของจิตใจอย่างหนึ่งที่บุคคลเลือกใช้อาจทําได้ด้วยการปฏิเสธว่าตนกําล้มีความเครียด หรืออาจหันไปทํากิจกรรมอื่นๆทดแทนทั้งทางบวกและทางลบ
ยอมรับและเผชิญกับความครียด (fight) คือการต่อสู้กับความเครียดที่มีอยู่โดยการแก้ไขเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความครียดหรือแก้ไขปรับเปลี่ยนตนเอง
ชนิด ระดับของความวิตกกังวลและความเครียด
1) ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่พบได้ทั่วไปเป็นแรงผลักดันให้ชีวิตประสบความสําเร็จ มีผลให้บุคคลตื่นตัว กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา
2) ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์เข้ามากระทบหรือคุกคาม ทําให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล อาจเรียกว่า ภาวะวิตกกังวล (anxiety stage)
3) ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety) เป็นความรู้สึกหวาดหวั่นไม่เป็นสุขขาดความมั่นคงปลอดภัยที่แฝงอยู่ในตัวของบุคคลตลอดเวลา จึงอาจเรียกว่าอุปนิสัยวิตกกังวล (trait anxiety)
ระดับของความวิตกกังวล (level of anxiety)
1) ความวิตกกังวลต่ํา (mild anxiety) +1
เป็นความวิตกกังวลระดับเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในบุคคลทั่วไป จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลตื่นตัว และพยายามแก้ปัญหาในการทํากิจกรรมต่งๆ ได้สําเร็จ
2) ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2
เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล บุคคลจะมีความตื่นตัวมากขึ้น พยายามควบคุมตนเองมากขึ้น และใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาสูงขึ้น
3) ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3
บุคคลจะมีระดับสติสัมปชัญญะลดลง สมาธิในการรับฟังปัญหาและข้อมูลต่าง ๆลดลงหมกมุ่นครุ่นคิดในรายละเอียดปลีกย่อย
4) ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4
เมื่อความวิตกกังวลที่มีไม่ได้รับการระบายออกหรือแก้ไขให้ลดลง จะมีการสะสมความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนบุคคลไม่สามารถจะทนต่อไปได้มีความผิดปกติของความคิด อารมณ์
ชนิดของความเครียด
1) ความเครียดฉับพลัน (acute stress)
ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที่
2) ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress)
ความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อความครียดนั้น ซึ่งบุคคลมักมีความเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง
ระดับของความเครียด
1) ความเครียดระดับต่ำ (mild stress)
เป็นความเครียดในระดับน้อยและหายไปได้ในระยะเวลาสั้น ไม่คุกคามต่อการดําเนินชีวิต เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจําวันและสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ต่างได้อย่างเหมาะสม
2) ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress)
เป็นความเครียดในระดับปกติเกิดขี้นได้ในชีวิตประจําวัน เนื่องจากมีสิ่งคุกคามหรือเหตุการณ์ที่ทําให้เครียด
3) ความเครียดระดับสูง (high stress)
เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรงสิ่งต่าง ๆ สถานการณ์หรือเหตุการณ์รอบตัวที่แก้ใขจัดการปัญหานั้นไม่ได้รู้สึกขัดแย้ง ปรับความรู้สึกด้วยความลําบากส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจําวัน
4) ความเครียดระดับรุนแรง (severe stress)
เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องหรือกําลังเผชิญกับวิกฤตของชีวิต
สาเหตุของบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
1) สาเหตุทางด้านชีวภาพ
ด้านกายภาพของระบบประสาท (neuroanatomical factors)
ด้านชีวเคมี (biochemical factors)
ด้านการเจ็บป่วย (medical factors)
2) สาเหตุทางด้านจิตสังคม
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
แนวคิดของฟรอยด์
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)
3) สาเหตุทางด้านสังคม
1) สาเหตุจากภายนอก
ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
2) สาเหตุภายในตัวบุคคล
ได้แก่ ภาวะสุขภาพของตนเอง
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวล
1) การประเมินสภาวะความวิตกกังวล
การประเมินความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
การประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวล
การประเมินสาเหตุของความวิตกกังวลและวิธีการผชิญกับภาวะวิตกกังวล
2) การวินิจฉัยการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยให้กลับปกติ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจถึงเหตุและผลของความวิตกกังวล
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยเพื่อปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่สบายใจความทุกข์ใจ
และปัญหาต่าง ๆ ออกมาโดยที่พยาบาลรับฟังอย่างตั้งใจ
ใช้คําพูดง่าย ๆ ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความตรงไปตรงมา
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ปวยรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถแยกแยะและประเมินระดับ
ความวิตกกังวลของตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถบอกถึงความรู้สึก
วิตกกังวลที่มีต่อตนเองและผู้อื่นได้