Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System) - Coggle Diagram
ระบบสืบพันธุ์
(Reproductive System)
โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศประกอบด้วย
อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
สมองส่วนที่มาควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์
ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า(Anterior pituitary gland)
พัฒนาการแยกเพศ
มนุษย์ มีจำนวนโครโมโซม46แท่ง หรือ23คู่ ซึ่งจะมี22คู่ที่เหมือนกันในเพศชายและเพศหญิงเราจะเรียกคู่โครโมโซมเหล่านี้ว่า โครโมโซมร่างกาย (autosome)
โครโมโซมที่เหลือ1คู่จากทั้งหมด23คู่จะเป็นโครโมโซมที่ทำหน้าที่ กำหนดเพศเรียกว่าโครโมโซมเพศ (Sex chromosome)
โครโมโซมจะเป็น การจับคู่กันของโครโมโซม 2 ตัวที่มีลักษณะต่างกัน
โครโมโซม X เป็น ตัวกำหนดเพศหญิงและโครโมโซมYเป็นตัวกำหนดเพศชาย
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเพศหญิง
Mons pubis
เป็นส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ตั้งอยู่หน้ากระดูกหัวเหน่าใต้บริเวณท้องน้อย
ผิวหนังภายในเป็นไขมันมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยมีฐานอยู่บนและยอดอยู่ข้างล่าง ในเด็กหญิงเมื่อเข้าสู่วัยสาว จะมีขนขึ้นบริเวณนี้
Labia majora
แคมใหญ่ ปกคลุมด้วยผิวหนังมีขน เป็นส่วนของผิวหนังที่มีก้อนไขมัน
มีลักษณะนูนแยกเป็น 2 กลีบลงไปบรรจบกันทางด้านหลังที่บริเวณผีเย็บ ปิดช่องคลอดและอวัยวะภายใน
Labia minora
แคมเล็ก เป็นกลีบเล็กๆ ที่อ่อนนุ่ม ไม่มีขนปกคลุม อยู่ด้านในของแคมใหญ่
มีหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกเข้าสู่ช่องคลอด
Urethral opening
clitoris
คลิตอริส เป็นอวัยวะที่เทียบกับอวัยวะเพศชาย คือ องคชาต
ตั้งอยู่เหนือรูเปิดท่อปัสสาวะ มีลักษณะเป็นตุ่มเนื้อขนาดเล็ก
มีปลายประสาทมาสิ้นสุดมากจึงรับความรู้สึกต่างๆได้เร็ว
ไวต่อการสัมผัส และทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ
อวัยวะสืบพันธุ์ภายในเพศหญิง
Vagina
เป็นช่องอวัยวะภายในที่ตั้งอยู่ระหว่างช่องปัสสาวะกับช่องทวารหนัก
เป็นช่องสำหรับผ่านของตัวอสุจิเพื่อเข้าไปปฏิสนธิกับไข่บริเวณปีกมดลูกหรือท่อนำไข่
เป็นทางออกของทารกในขณะคลอด
Cervix
ปากมดลูกเป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของมดลูก ระยะทางจากปากมดลูกจนถึงปลายสุดของช่องคลอดที่เปิดออกสู่ภายนอกร่างกายยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร
ปากมดลูกและช่องคลอดทำหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
เป็นทางผ่านของเลือดประจำเดือนและเป็นทางที่ทารกคลอดออกมา
Uterus
มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะซึ่งอยู่ด้านหน้า และทวารหนักซึ่งอยู่ด้านหลัง มีความแข็งแรง
มีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทุก รอบเดือนจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจน และโปรเจสเตอร์ โรน
Uterine tube
เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก
ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
ท่อนำไข่เป็น บริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่
Ovary
เป็นอวัยวะขนาดเล็ก มีรูปร่างรีแบน มี 2 ข้าง อยู่บริเวณปีกมดลูกซ้าย-ขวา ทั้งสองข้าง
รังไข่อยู่บริเวณปีกมดลูกทั้งสองข้างมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศและเซลล์สืบพันธุ์
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง
ฮอร์โมนเพศ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
ฮอร์โมนเพศหญิง
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)
โพรเจสเทอโรน (Progesterone)
ฮอร์โมนเพศชาย
เทสทอสเทอรอล(Testosterone)
ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen)
อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
Penis(องคชาต)
เป็นอวัยวะสำหรับร่วมเพศ
เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่นำพาตัวอสุจิผ่านเข้าปากมดลูกขณะร่วมเพศ
Scrotum (ถุงอัณฑะ)
เป็นส่วนของผิวหนังที่ไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง ยื่นลงมาจากหน้าท้องมีกล้ามเนื้อเรียบปรากฏอยู่ (Dartus muscle)
เป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยปรับอุณหภูมิของอัณฑะ ให้ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย ประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส
Testis (ลูกอัณฑะ)
เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดในระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ทำหน้าที่สร้างอสุจิ และฮอร์โมนเพศชาย
Epididymis(หลอดเก็บอสุจิ)
มีลักษณะเป็นหลอดหรือท่อเล็กๆที่ขดไปมาอยู่ในลูกอัณฑะมีอยู่ประมาณ 300 ท่อ
มีหน้าที่สำคัญคือเป็นที่พักชั่วคราวของเชื้ออสุจิที่เจริญเต็มที่ซึ่งผลิตจากอัณฑะ ก่อนจะส่งผ่านไปยังท่อนำอสุจิ (Vas deferens)
Vas deferens(ท่อนำอสุจิ)
มี 2 ท่อ เป็นหลอดอยู่ถัดจากหลอดอสุจิ
ท่อนำอสุจินี้จะผ่านเข้าสู่ช่องท้องแล้วออกมารวมกับถุงเก็บน้ำอสุจิ (Seminal vesicle) ผ่านต่อมลูกหมากออกไปต่อกับท่อปัสสาวะสำหรับนำตัวอสุจิออกไปสู่ภายนอก
Seminal vesicle
มี 2 ถุง อยู่ระหว่างกระเพราะปัสสาวะและทวารหนัก
เป็นส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บอสุจิและสร้างน้ำกาม(Semen) น้ำกามที่สร้างขึ้นนี้จะทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได้
Prostate glands
เป็นต่อมโตขนาดลูกหมาก
อยู่ใต้รูเปิดด้านใน(Internal orifice)ของท่อปัสสาวะ(Urethra)
หน้าที่สำคัญคือขับน้ำซึ่งมีฤทธิ์ด่างอ่อนๆ
Ejaculatory duct
เป็นท่อสั้นๆยาวประมาณ 2 ซม. รับสารที่สร้างมาจาก seminal vesicle และ ductusdeferens
แทงทะลุเข้าทางด้านหลังของต่อมลูกหมาก เข้าไปเชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะที่อยู่ในต่อมลูกหมาก
(Cowper 's glands) ต่อมขับเมือก
อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไปเป็นกระเปาะเล็กๆ
หน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะทีเกิดการกระตุ้นทางเพศ
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย
เซลล์ spermatogonium 1 เซลล์แบ่งตัวแบบ mitosis
primary spermatocyte แต่ละเซลล์ใช้เวลาหลายสัปดาห์แบ่งตัวแบบ meiosis
spermiogenesis เป็นช่วงที่ spermatid เจริญขึ้นมาก
ไซโทพลาซึมน้อยลง นิวเคลียสเล็กลง
Maturation ของเชื้ออสุจิ
ส่วนหัว (Head)
บรรจุสารพันธุกรรม มีนิวเคลียส
มีลักษณะเป็นถุงบรรจุเอนไซม์เพื่อสลายเยื่อหุ้มเซลล์ไข่
โครงสร้างนี้เปลี่ยนแปลงมาจาก Golgi Apparatus
ส่วนกลาง (Middle)
มีลักษณะเป็นแท่ง
มีไมโทคอนเดรียผลิตพลังงานไว้สำหรับการเคลื่อนที่ของอสุจิ
ส่วนหาง (Tail)
มีไมโครทูบูล ทำหน้าที่ โบกพัดได้เพื่อว่ายไปหาเซลล์ไข่
การปฎิสนธิ (fertilization)
เกิดขึ้นเมื่อมีการร่วมเพศในช่วงไข่ตก
ขณะหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งจะมีตัวอสุจิราว 300-500 ล้านตัวถูกฉีดเข้าไปในช่องคลอดของผู้หญิง และแหวกว่ายไปจนถึงส่วนต้นของปีกมดลูกซึ่งเป็นบริเวณที่พบกับไข่เพื่อเจาะผ่านชั้นต่างๆของเซลล์ไข่เข้าไปภายใน
มีอสุจิเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ได้
การเกิดการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์คือการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้วในมดลูกจนกระทั่งถึงคลอด
ระยะของการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะกินเวลาประมาณ 280 วัน หรือ 40 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายแต่อาจจะแตกต่างกันบ้างในหญิงแต่ละคน
การตั้งครรภ์แฝด
แฝดเทียม
เกิดจากไข่คนละใบผสมกับอสุจิคนละตัวทำให้เกิดแฝดเทียมหรือแฝดต่างไข่
ทารกแต่ละคนมีรกของตัวเอง อาจเป็นเพศเดียวกันหรือไม่ก็ได้
แฝดแท้
เกิดจากไข่ใบเดียวผสมกับอสุจิตัวเดียว แต่แบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อน 2 ตัวหรือมากกว่านั้น
ทำให้เกิดแฝดแท้ หรือแฝดร่วมไข่ มีรกอันเดียว จึงเป็นเพศเดียวกัน
รอบเดือน (menstrual cycle)
ในภาวะปกติ หญิงวัยเจริญพันธุ์ การตกไข่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แน่นอน
รอบเดือนครั้งแรกเกิดขึ้นในวัยรุ่น อายุประมาณ 13 ปี เลือดที่ออกมาครั้งแรกเรียก menache
รอบเดือนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
Menstrual phase เป็นระยะที่มีเลือดระดูออก (วันที่ 0 ถึง 5)
Follicular phase (วันที่ 6 ถึง 13) เป็นระยะพัฒนาถุงไข่
Ovulatory phase อย่างน้อย 24-48 ชม.
Luteal phase อย่างน้อย 14 วัน ระยะนี้มีการผลิตโพรเจสเทอโรน เยื่อบุมดลูกหลั่งโปรตีนจำนวนมาก เตรียมรับการฝังตัวของเอ็มบริโอ
การเปลี่ยนแปลงที่มดลูก
มี 3 ระยะ
proliferative phase
ระหว่างวันที่ 1-5 ของรอบเดือนนั้นเป็นช่วงที่มีการหลุดลอกของผนังชั้นตื้นๆ ของเยื่อบุมดลูกเป็นประจำเดือน
หลังจากนั้นระหว่างวันที่ 5-14 ของรอบเดือน เป็นช่วงที่เยื่อบุมดลูกจะเริ่มมีการเจริญเติบโต
stromal cell ที่อยู่ในผนังชั้นลึกของเยื่อบุมดลูกจะเริ่มแบ่งเซลล์สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทนเซลล์เก่าที่หลุดออกไป
การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกในระยะนี้ จะตรงกับระยะ follicular phase ของการเปลี่ยนแปลงในรังไข่
secretory phase
เป็นระยะที่มีการเตรียมเยื่อบุมดลูกสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมกับอสุจิแล้ว
หลังจากตกไข่ การเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนและฮอร์โมนเอส โทรเจนจากคอร์พัสลูเทียม จะทำให้เส้นเลือดแดงที่เยื่อบุมดลูกมีมากขึ้น
เซลล์ต่อมจะหลั่งเมือกซึ่งมีแป้งมากออกมารวม ทั้งการสะสมไขมันและไกลโคเจนภายในไซโทพลาสซึม และ stromal cell มากขึ้น
ทำให้เยื่อบุมดลูกมีความหนาประมาณ 5-6 มิลลิเมตรเป็นระยะที่เตรียมไว้เพื่อการฝังตัวของตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิ
menstrual phase
หลังการตกไข่ราว 7 วัน ถ้าไม่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ คอร์พัสลูเทียมจะสลายตัว
ทำให้ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนและเอสโทรเจน ลดลงอย่างรวดเร็ว
จะกระตุ้นการปล่อย PGF24 ซึ่งจะไปทำให้เกิดการตีบตัวของหลอดเลือดเล็กชนิดขด (uterine spiral arteriole)
ทำให้เซลล์ที่บุมดลูกขาดเลือดและอาหารไปเลี้ยงจึงตายและหลุดลอกปนกับเลือดออกมาเป็นประจำเดือน (menstruation, Mense)
วัยหมดประจำเดือน menopause
เมื่ออายุประมาณ 50 ปีความปกติของรอบเดือนจะมีน้อย ซึ่งอาจจะไม่มีการตกไข่เกิดขึ้นเลย
ระดับของฮอร์โมนเอสโทรเจนไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิด LH surge เรียกภาวะนี้ว่า วัยหมดประจำเดือน
ก่อนถึงวัยหมดประจำเดือนระยะแรกประจำเดือนจะไม่สม่ำเสมอ
วัยหมดประจำเดือน ถือเป็นจุดสำคัญของชีวิต (climacteric) ซึ่งจะไม่สามารถสืบพันธุ์ได้อีก
อาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน
เต้านมฝ่อและเหี่ยว
มีอาการเหี่ยวของรังไข่ ปีกมดลูก มดลูก ช่องคลอด อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
มีเกลือแร่ของกระดูกลดลง กระดูกผุได้ง่าย
ขนร่วง ปวดตามกล้ามเนื้อ ช่องคลอดแห้ง นอนไม่หลับ ซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่ม อารมณ์แกว่ง
ระยะของการคลอด (Stage of labour)
ระยะที่ 1 ของการคลอด (First stage of labour)
เป็นระยะที่กินเวลายาวนานที่สุด เมื่อเทียบกับระยะอื่นๆทั้งหมด
ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อทำการประเมินว่าสตรีตั้งครรภ์รายดังกล่าวจะสามารถคลอดทางช่องคลอดได้หรือไม่
การเจ็บครรภ์คลอดจริงนั้นจะต้องประกอบด้วยการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการเปิดขยายและมีการบางตัวของปากมดลูกอย่างต่อเนื่อง
ระยะที่ 2 ของการคลอด (Second stage of labour)
เป็นช่วงที่ปากมดลูกเปิดหมดแล้ว (Fully dilatation) และทารกพร้อมที่จะคลอด
ศีรษะทารกในช่วงนี้เป็นการปรับเปลี่ยนและหมุนเพื่อให้เข้ากับช่องทางคลอดและสามารถเคลื่อนผ่านช่องเชิงกรานของมารดาได้
กลไกต่างๆเหล่านี้เรียกว่า Cardinal movements of labour ซึ่งถือเป็นกลไกที่เป็นหัวใจสำคัญในการคลอดของทารกผ่านทางช่องคลอด
ระยะที่ 3 ของการคลอด (Third stage of labour)
เป็นช่วงเวลาของการเกิดรกลอกตัวและการคลอดรก
ผู้ทำคลอดต้องใช้เวลาในการดูแลทารกแรกเกิดเบื้องต้นไปพร้อมกับการดูแลมารดาด้วย
เพราะในบางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ในช่วงนี้
ระยะที่ 4 ของการคลอด (Fourth stage of labour)
ภายหลังจากการคลอดรกแล้ว ในทางปฏิบัติจะเป็นช่วงเวลาของการตรวจสอบรกว่าคลอดออกมาครบถ้วนสมบูรณ์ดี ไม่มีส่วนใดตกค้างในโพรงมดลูก
ตรวจสอบแผลฝีเย็บรวมถึงการฉีกขาดของช่องทางคลอด และทำการเย็บซ่อมแซม
ระยะนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นช่วงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะการตกเลือดหลังคลอด
ในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังการคลอด หรือในระยะที่ 4 ของการคลอดนี้ จึงต้องมีการตรวจวัดสัญญาณชีพของมารดา
การหลั่งน้ำนม (lactation)
เต้านมเป็นต่อมรวมกันอยู่เป็นกลุ่มจำนวน15-20 กลีบ
แต่ละกลีบจะมีเซลล์ที่หลั่งน้ำนม(alveolar) จัดเรียงตัวเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่น
ต่อมน้ำนมมีเลือดมาเลี้ยงเป็นแขนงของ subclavian และ intercostals arteries
มีเส้นประสาท thoracic nerve ของระบบประสาทอัตโนมัติ แขนงที่4,5 และ6
การคุมกำเนิด
ยาคุมชนิดเม็ด
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 21 เม็ด ทุกเม็ดจะมีตัวยา ไม่มีเม็ดแป้ง
รับประทานเวลาเดียวกันเป็นประจำทุกวัน วันละ 1เม็ดจนหมดแผง แล้วหยุด 7 วัน ก่อนเริ่มแผงใหม่ หลังหยุดยาประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีประจำเดือน
ยาคุมแบบฝัง
ชนิดหลอดไม่สลายตัว
ชนิดหลอดสลายตัว
ห่วงอนามัย
ห่วงอนามัยธรรมดา (inert IUDS)
ห่วงอนามัยที่มีสารทองแดง (copper IUDs)
ห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน (hormone releasing IUDS)
การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน
ถุงยางอนามัย