Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 2
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ความหมายของภาวะวิกฤต
หมายถึง ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคาม ที่อาจทําให้เกิดความสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต
1) สถานการณ์วิกฤต (situational crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถ
คาดการณ์ล่วงหน้าได้แล้วส่งผลให้ภาวะทางอารมณ์ทางจิตใจเสียภาวะสมดุล
2) พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่าง
ๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต (life cycle change)
3) ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ(disaster crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อาจ
เกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่บุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage)
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสีย
มีอาการทางกาย เช่น
เจ็บหน้าอก ปากแห้ง
หัวใจเต้นเร็ว เหงื่ออก วิงเวียน
รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame)
ที่ไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้
รู้สึกโกรธ (anger) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ง่ายจากการมีอารมณ์ไม่คงที่
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน
รู้สึกขาดที่พึ่งและหนดหนทาง (helplessness)
รู้สึกลังเล (ambivalence)
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่บุคคลซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state)
ระยะที่4 เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety)
โดยธรรมชาติแล้วภาวะวิกฤตจะสงบลงและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลภายใน 4 – 6 สัปดาห์
หลังจากบุคคลประสบภาวะวิกฤต
สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
1) เหตุการณ์วิกฤต (NegativeEvents) เป็นเหตุการณ์หรือราวที่เป็นปัญหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะวิกฤตสําหรับบุคคล
2) การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต หากบุคคลเห็นว่าเหตุการณ์วิกฤตนั้นเป็น สิ่งคุกคาม (threat) ทําให้เกิดความสูญเสีย ความปวดร้าว หรือความสิ้นหวัง
3) การแก้ไขปัญหา หากบุคคลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อาจนํามาซึ่งอาการต่าง ๆทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า การมีลักษณะถดถอย
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามแก้ไขปัญหาให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์(emotion focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามจัดการอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยใช้กระบวนการทางความคิด
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
1) การประเมินภาวะสุขภาพ
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ระดับความรุนแรงของอาการทางกายที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล อาการและอาการแสดงที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤต หรือผลกระทบจากภาวะวิกฤติของบุคคล
3) การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ
เพื่อลดอาการและอาการแสดงทางกายที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆให้กลับสู่ภาวะปกติ
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
เพื่อส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสม
4) การปฏิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
5) การประเมินผลการพยาบาล
เพื่อประเมินผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล ตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และวัตถุประสงค์การพยาบาลที่ตั้งไว้
โดยประเมินได้จากการบอกกล่าวของบุคคลที่มีภาวะวิกฤตผู้เอง ครอบครัวของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต